สิวมีทั้งชนิดที่อักเสบและไม่อักเสบ แต่สิวอักเสบนั้น (Inflamed acne) คือ สิวที่สร้างผลกระทบร้ายแรงกว่าสิวไม่อักเสบ ทำให้เกิดอาการบวม แดง และรู้สึกไม่สบาย ในขณะที่สิวไม่อักเสบน้นคือสาเหตุของสิวหัวดำและสิวหัวขาว
สิวอักเสบเกิดจากภายในผิวหนังชั้นลึกกว่าสิวที่ไม่อักเสบและทำให้เกิดความเจ็บปวด เป็นแผล และเป็นแผลเป็นถาวรในที่สุด
คนที่เป็นสิวอักเสบจะมีตุ่มสิวสีแดงขนาดเล็ก หรือซีสต์ขนาดใหญ่ที่ลึกลงไปใต้ผิวหนัง โดยบางครั้งอาจจะเป็นสิวหัวหนอง สิวประเภทนี้จะเกิดในบริเวณใต้ผิวหนังที่มีต่อมน้ำมัน ส่วนใหญ่มักพบบนใบหน้าลำคอ หน้าอก และหลัง
สิวอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่
แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาที่ดีสำหรับทุกคน แต่ก็มีเทคนิคการดูแลที่ด้วยตนเองที่มีประสิทธิภาพมากมาย สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นและความทุกข์ใจจากการเป็นสิวได้
สาเหตุของสิวอักเสบ
สิวอักเสบเป็นสาเหตุของการเกิดการแดงอักเสบ และแผลเป็นที่ถาวร
ผิวสุขภาพดีจะมีการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วทุกวันๆ เซลล์ผิวเก่าและผิวชั้นนอกจะหลุดออกไป
เรามีแนวโน้มที่จะเป็นสิวเนื่องจากกระบวนการนี้จะเร่งขึ้นทำให้เซลล์เก่าสะสมภายในรูขุมขน และปิดกั้นช่องเปิด เซลล์ จากนั้นจะผสมกับน้ำมันตามธรรมชาติของผิวหนังและกลายเป็นก้อนเหนียวภายในรูขุมขน
ในคนที่เป็นสิวที่ไม่อักเสบ สิวอุดตัน หรือที่เรียกว่า Comedone จะพบในลักษณะสิวหัวดำหรือสิวหัวขาว
ในคนที่เป็นสิวอักเสบ น้ำมันและเซลล์ผิวจะสร้างขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รูขุมขนขาดออกซิเจน สิ่งนี้จะกลายเป็นที่อยู่สำหรับแบคทีเรียที่เรียกว่า Propionibacterium acnes
แบคทีเรีย น้ำมัน และเซลล์ผิวหนังจะทำลายผนังของรูขุมขนใต้ชั้นผิว จากนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสู้กับแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ
การอักเสบอาจทำให้เกิดรอยแดง บวม ระคายเคือง ปวดและคัน รวมถึงกลายเป็นฝ้าได้ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิวแดงบวมเป็นก้อนได้
อาการของสิวอักเสบ
สิวอักเสบนั้นแสดงอาการอย่างหลากหลาย โดยอาจรวมถึงอาการดังต่อไปนี้:
- จุดแดง: จุดสีแดงเหล่านี้อาจไม่มีหัวสีขาว
- ตุ่มหนอง: คล้ายกับเลือดคั่ง แต่มีหนองสีขาวหรือสีเหลือง และผิวหนังโดยรอบอาจเป็นสีแดง
- ก้อน: ก้อนบวม และเจ็บปวดเหล่านี้ลึกเข้าไปในผิวหนัง ไม่มีหนองที่มองเห็นได้
- ซีสต์: ก้อนซีสต์จะเกิดลึกลงไปใต้ผิวหนัง และไม่มีหัวสีขาว แต่มีสีแดงมากกว่าแบบก้อน
นอกจากนี้ซีสต์ยังนิ่ม และมักจะเจ็บปวด เมื่อสัมผัสไปโดน อาจมีลักษณะเหมือนฝี หรือแผล
สิวอักเสบบางครั้งก็แยกออกจากสิวที่ไม่อักเสบได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่รุนแรง
ผู้ที่มีสิวอักเสบจะมีอาการดังต่อไปนี้:
- สิวสีแดงบวมหรือเจ็บปวด
- สิวที่มีหนองสีขาวหรือสีเหลืองล้อม รอบๆเป็นสีแดง
- สิวที่แข็งและเจ็บปวดใต้ผิวหนัง
- รอยแผลเป็น“ หลุม” บนผิวหนังจากสิวอักเสบก่อนหน้านี้
วิธีรักษาสิวอักเสบ
ผู้ที่เป็นสิวอักเสบเล็กน้อย สามารถใช้ยารักษาสิวโดยไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ หมายถึงสามารถหาซื้อยาได้จากร้านจำหน่ายยาทั่วไป ได้แก่ ยาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ หรือกรดซาลิไซลิก นับว่าเป็นวิธีแก้สิวอักเสบได้ดีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยยาทั่วไป มักไม่มีฤทธิ์มากพอที่จะรักษาสิวอักเสบในระดับปานกลางถึงรุนแรงได้
แพทย์จะใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้ :
- ยาปฏิชีวนะ ครีม เจล หรือโลชั่น ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว และทำให้อาการอักเสบบรรเทาลงได้
- ยาคุมกำเนิด เพื่อช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิว
- Isotretinoin (Accutane) ใช้ในสิวอักเสบรุนแรง
- การรักษาด้วยเลเซอร์ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง
- การเจาะซีสต์สิวขนาดใหญ่ หรือการฉีดคอร์ติโซนเพื่อช่วยลดซีสต์สิวที่เจ็บปวด
การป้องกันสิวอักเสบ
การทำตามขั้นตอนที่แนะนำตามวิธีการให้รูขุมขนกระจ่างใส สามารถช่วยป้องกันสิวอักเสบได้
นอกจากนี้หากยารักษาสิวที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป หรือยาตามใบสั่งแพทย์ ก็สามารถช่วยลดการเกิดสิวได้ แต่ทั้งนี้ต้องใช้ตามคำแนะนำ
วิธีการป้องกันสิวอักเสบ:
- สระผมเป็นประจำ เพื่อลดปริมาณน้ำมันบนผิวหนัง
- ล้างหน้าวันละสองครั้งด้วยคลีนเซอร์สูตรอ่อนโยน ที่ช่วยขจัดความมันและเครื่องสำอาง
- ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ระบุว่า non-comedogenic หรือ non-acnegenic
- ทาครีมกันแดดที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เนื่องจากการรักษาสิวบางอย่าง ทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น
- อย่าบีบสิว เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียแพร่กระจาย
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือสาสครับรุนแรง เนื่องจากอาจทำให้ผิวระคายเคือง และเกิดการอักเสบมากขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/inflamed-acne
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3780801/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/symptoms-causes/syc-20368047
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก