คีลอยด์ (Keloid) : อาการ สาเหตุ การรักษา

คีลอยด์ (Keloid) : อาการ สาเหตุ การรักษา

18.12
2624
0

คีลอยด์ (Keloid) หรือเรียกว่าแผลคีลอยด์เป็นแผลนูนทั่วไปที่เกิดจากบาดแผลบนผิวหนัง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ การผ่าตัด แผลพุพองและสิว รวมถึงการเจาะผิวหนังตามบริเวณต่างๆของร่างกาย    

Keloid

แผลคีลอยด์คืออะไร

แผลคีลอยด์เป็นแผลที่มีลักษณะนูน ซึ่งเกิดขึ้นกลายเป็นแผลเป็นนูน  

แผลคีลอยด์มีหลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดแผล ตัวอย่างเช่นแผลคีลอยด์บนหูมีลักษณะนูนแข็ง ส่วนแผลคีลอยด์ที่หน้าอกมีสามารถแพร่กระจายได้มากกว่า

แผลคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นบริเวณดังต่อไปนี้ 

  • คอ
  • หู
  • หน้าอก
  • หลัง
  • ไหล่ 

แผลเป็นคีลอยด์มีสีชมพู สีม่วงหรือสีน้ำตาลและมักทำให้รู้สึกตึงที่ผิวหรือมีลักษณะเป็นก้อนนูน ซึ่งมีขนาดแตกต่างหลากหลายและเป็นทำให้สีผิวบริเวณที่เกิดแผลเข้มขึ้นกว่าสีผิวบริเวณอื่นๆของร่างกาย

สถาบันแพทย์ผิวหนังในประเทศอังกฤษระบุว่า โดยปกติแผลคีลอยด์มักเกิดจากการบาดเจ็บหรือการอักเสบติดเชื้อ แต่โดยปกติแผลคีลอยด์มีขนาดใหญ่กว่าแผลชนิดอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น

อาการคีลอยด์

แผลคีลอยด์เป็นแผลที่ใช้เวลาหลายเดือนในการก่อตัว หลังจากได้รับบาดเจ็บ สถาบันโรคผิวหนังสังเกตุพบว่าแผลชนิดนี้ใช้เวลาก่อตัว 3-12 เดือนก่อนที่จะสามารถสังเกตุพบได้

แผลชนิดนี้สามารถทำให้เกิดอาการคันหรือเจ็บปวดเมื่อมีแผลนูนเกิดขึ้น แต่อาการเจ็บปวดจะหายไปเมื่อแผลเป็นคีลอยด์หยุดเจริญเติบโต 

สาเหตุการเกิดแผลคีลอยด์

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุที่เเท้จริงของการเกิดแผลคีลอยด์ สถาบันเเพทย์ผิวหนังในประเทศอังกฤษระบุว่าแผลคีลอยด์เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีการผลิตคอลลาเจนมากเกินไปเมื่อเกิดแผลหลังจากได้รับบาดเจ็บ

คอลลาเจนคือโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของผิวหนัง นอกจากนี้ยังสารสำคัญที่ช่วยพยุงโครงสร้างของกล้ามเนื้อ กระดูกและเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

เทคการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน

ผู้ที่มีแผลเป็นคีลอยด์สามารถใช้วิธีรักษาดังต่อไปนี้

ยาแอสไพริน

งานวิจัยในปี 2015 พบว่ายาแอสไพรินสามารถลดการเกิดแผลเป็นที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่ก่อตัวขึ้นหลังจากเกิดบาดแผล

ผู้ที่มีแผลคีลอยด์สามารถบดยาแอสไพรินให้ละเอียดผสมกับน้ำเเล้วทาลงบนบริเวณที่เกิดแผลได้ อย่างไรก็ตามควรหยุดใช้ผงยาแอสไพรินทาผิวถ้าหากมีอาการแพ้เกิดขึ้นบนผิวหนัง

กระเทียม

กระเทียมมีสรรพคุณคล้ายกับยาแอสไพริน ข้อมูลจากงานวิจัยปี 2011 รายงานว่ากระเทียมสามารถยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเนื้อเยื่อและสีผิวเพื่อป้องกันไม่ให้คีลอยด์เข้าสู่ผิวหนัง 

อย่างไรก็ตามถ้าหากใช้กระเทียมบดวางบนแผลแล้วเกิดอาการระคายเคืองผิวหนังความหยุดทันที

น้ำผึ้ง

น้ำผึ้งสามารถลดขนาดของคีลอยด์ได้เนื่องจากมีสรรพคุณยับยั้งอาการอักเสบ 

โดยผู้ที่มีแผลคีลอยด์สามารถใช้น้ำผึ้งทาลงบนบริเวณที่เกิดแผลได้

หัวหอม

หัวหอมช่วยยับยั้งการสร้างเซลล์ที่ชื่อว่าไฟโบรบลาสต์เป็นเซลล์สร้างแผลเป็นให้กับบาดแผล

มีงานวิจัยบางงานพบว่าเจลหัวหอมสามารถช่วยลดขนาดของแผลคีลอยด์ได้

นอกจากนี้การคั่นน้ำหัวหอมยังทำให้แผลนูนคีลอยด์แห้งลงได้

วิธีการรักษาทางการแพทย์

มีวิธีการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายวิธีสำหรับแผลคีลอยด์ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังอาจเเนะนำให้ใช้วิธีรักษาเพียงวิธีเดียวหรือหลายวิธีผสมผสานกัน

การฉีดยาสเตียรอยด์

หรือเรียกว่าการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ฉีดเข้าไปที่สิวอักเสบ เป็นการฉีดยาโดยผู้เชี่ยวชาญเข้าที่แผลคีลอยด์จากสิวโดยตรง เพื่อทำให้ขนาดของสิงคีลอยด์มีขนาดลดลง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการทำนำมาใช้รักษาสิวคีลอยด์โดยเฉพาะ

สถาบันแพทย์ผิวหนังแห่งอเมริการระบุว่าการฉีดยาเข้าที่แผลโดยตรงสามารถฉีดซ้ำทุกเดือนได้ โดยผู้ที่เป็นแผลคีลอยด์จำเป็นต้องฉีดยาซ้ำประมาณ 4 ครั้งจนกว่าแผลคีลอยด์จะหายไป

แต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีนี้อาจได้ผลในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น เนื่องจากแผลคีลอยด์ 50-80% สามารถกลับมาเกิดขึ้นซ้ำได้หลังจากการรักษา

ครีมสเตียรอยด์

แพทย์ผิวหนังแนะนำให้ใช้ครีมสเตียรอยด์หรือแผ่นปะแผลที่มีตัวยาสเตียรอยด์ติดบนแผลคีลอยด์เพื่อทำให้แผลยุบลง 

ข้อมูลจากสถาบันโรคทางผิวหนังระบุว่า 9-50% ของแผลคีลอยด์สามารถกลับมาเกิดขึ้นได้อีกครั้งหลังจากการรักษา

การบำบัดด้วยความเย็น

การบำบัดด้วยความเย็นได้แก่การใช้ความเย็นจี้แผลคีลอยด์เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลคีลอยด์มีขนาดเล็กลงหรือหลุดออกได้

การทำเลเซอร์และการใช้แสงบำบัด

โดยปกติการรักษาประเภทนี้จะใช้ได้ผลเมื่อทำการรักษาร่วมกับการฉีดยาสเตียรอยด์ แม้ว่าการรักษาด้วยวการใช้เเสงเลเซอร์ยังขาดงานวิจัยสนับสนุนถึงประสิทธิภาพของวิธีการรักษาดังกล่าว

การผ่าตัด

โดยปกติการผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้ายที่นำมาใช้ ซึ่งมักนำมาใช้กับการผ่าตัดแผลคีลอยด์ที่มีขนาดใหญ่ 

นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังอาจใช้วิธีอื่นๆในการรักษาร่วมด้วย

การฉายแสงบำบัด

การฉายเเสงสามารถช่วยลดขนาดของแผลคีลอยด์และกระตุ้นทำให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ดีกว่าการผ่าตัด

การใช้แรงบีบอัด

การใช้แรงกดดันบนแผลคีลอยด์สามารถขัดขวางเลือดไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงบริเวณที่เป็นแผลนูนได้ ซึ่งทำให้แผลฝ่อไปและไม่กลับมาเกิดแผลคีลอยด์ขึ้นอีก

โดยผู้ที่มีแผลคีลอยด์จะสวมใส่อุปกรณ์รัดแผลเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 6-12 เดือน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *