กระจกตาอักเสบ (Keratitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กระจกตาอักเสบ (Keratitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.04
22482
0

กระจกตาอักเสบ (Keratitis) คือการเจ็บปวดที่เป็นผลจากการอักเสบของดวงตา เนื่องจากการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ แบ่งออกได้หลายประเภท และแต่ละประเภทต้องได้รับการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความอ่อนไหวสูงและมีวิธีป้องกันตัวเองจากความเสียหายได้หลายวิธี เช่น การมีเปลือกตาปิดดวงตาไว้ มีน้ำตาและของเหลวช่วยป้องกันการติดเชื้อ กระจกตาเป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของดวงตาทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสิ่งสกปรก เชื้อโรค และโรคต่างๆ เกี่ยวกับตา

เนื่องจากกระจกตาเป็นด่านแรกของการป้องกันดวงตา จึงอาจเกิดการระคายเคืองและอักเสบที่เรียกว่า  keratitis ขึ้นได้

ดวงตาและกระจกตาอักเสบ

 Keratitis เป็นภาวะที่มีผลต่อกระจกตาชั้นนอกซึ่งมีลักษณะโปร่งใสที่บริเวณด้านหน้าของดวงตา กระจกตาช่วยให้ตาสามารถโฟกัสเห็นวัตถุไต่างๆ ได้ชัดเจน

Keratitis เกิดจากกระจกตาอักเสบ ซึ่งสร้างความเจ็บปวดมาก ทำให้เกิดปัญหาการมองเห็น และทำให้ตาไวต่อแสงมากขึ้น

Keratitis เกิดได้จากหลายสาเหตุ  แบ่งออกเป็นหลายประเภทและต้องการการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

กระจกตาอักเสบ มักเกิดขึ้นเนื่องจากดวงตาได้รับการระคายเคืองจากบางอย่าง เช่น การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บ ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างก็ทำให้มีโอกาสเกิดกระจกตาอักเสบได้มากขึ้น

การใส่คอนแทคเลนส์ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดกระจกตาอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนนั้นใส่คอนแทคเลนส์ข้ามคืน การไม่รักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ หรือกล่องใส่คอนแทคเลนส์ไม่สะอาดจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคกระจกตาอักเสบ

คนที่เริ่มเป็นโรคเกี่ยวกับตา หรือได้รับบาดเจ็บที่ตาอาจหมายความว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะกระจกตาอักเสบนี้ขึ้น ในผู้ที่มีเชื้อไวรัสเริมมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสได้

Keratitis อาจเกิดจากตาที่แห้ง มีปัญหาเกี่ยวกับเปลือกตา หรือมีปัญหาท่อน้ำตาซึ่งอาจหมายความว่าดวงตาของคนเราไม่ชุ่มชื้นเท่าที่ควร

ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราจะเกิดขึ้นเมื่อดวงตาได้รับบาดเจ็บจากส่วนหนึ่งของต้นไม้หรือพืช เช่น กิ่งไม้ ดังนั้นคนที่ทำงานกับพืชจึงมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

ความเสี่ยงของการเกิดกระจกตาอักเสบจะมีสูงขึ้นเมื่อดวงตาสัมผัสกับน้ำ เช่น เมื่อว่ายน้ำหรือเมื่ออยู่ในอ่างน้ำร้อน

ผู้ที่สวมใส่คอนแท็คเลนส์ไม่ควรทำความสะอาดคอนแท็คเลนส์ด้วยน้ำ แต่ให้ใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์เสมอ

ประเภทของกระจกตาอักเสบ

กระจกตาอักเสบ มี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ กระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อ และกระจกตาอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ โดยกระจกตาอักเสบทั้ง 2 ประเภทนี้ เกี่ยวข้องกับภาวะอื่นแบบอื่น ๆ อีก

กระจกตาอักเสบแบบไม่ติดเชื้อมีสาเหตุมาจาก

  • ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานเกินไป
  • ตาแห้ง หากดวงตาผลิตน้ำตาเพียงพอในบางครั้ง
  • อาการแพ้ เช่น เครื่องสำอาง หรือมลภาวะ
  • มีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ควรมีอยู่ในดวงตา
  • การได้รับบาดเจ็บที่กระจกตา
  • การสัมผัสกับแสงแดดที่รุนแรง เช่น จากแสงสะท้อนจากน้ำหรือแสงสะท้อนจากหิมะ
  • การขาดวิตามินเอ

กระจกตาอักเสบชนิดที่ติดเชื้อ มีสาเหตุจาก

  • เชื้อแบคทีเรีย ที่มักปนเปื้อนมาจากคอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด
  • เชื้อรา ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ดวงตาได้รับบาดเจ็บจากกิ่งไม้หรือต้นไม้
  • เชื้อ virus จากการติดเชื้อโรคเริม หรือ โรคงูสวัด
  • เชื้อปรสิต ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มักพบในทะเลสาบและแม่น้ำ

การรักษากระจกตาอักเสบที่ดีที่สุดจะขึ้นอยู่กับว่า ผู้ป่วยมีอาการแบบใด

อาการของโรค

อาการหลักของกระจกตาอักเสบคือ ปวดตา เนื่องจากกระจกตาเป็นส่วนของดวงตาที่ช่วยทำให้มองเห็นได้ชัดเจน  ผู้มีอาการอาจมีปัญหาสายตาพร่ามัว

บางคนอาจมีความรู้สึกระคายเคืองเหมือนว่ามีอะไรเข้าตา อาจมีน้ำในตามากกว่าปกติ หรือตาแดงและอาจมีการน้ำตาไหล

ผู้ที่เป็นโรคกระจกตาอักเสบอาจไวต่อแสง ซึ่งเรียกว่า อาการตาแพ้แสง(photo phobia)จึงไม่ชอบมองไปที่แสงไฟ ไม่ชอบเปิดไฟสว่างในบ้าน หรือไม่ชอบบริเวณที่มีแสงแดดจ้าอยู่ข้างนอก

ภาวะแทรกซ้อน

กระจกตาอักเสบอาจมีอาการรุนแรง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้  โดยปกติหากได้รับการวินิจฉัยเร็วพอ อาการนี้จะสามารถรักษาให้หายได้

ภาวะแทรกซ้อนนี้ อาจรวมถึงการเกิดรอยแผลเป็นถาวร แผลที่กระจกตา หรือต้อหิน คืออาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นเนื่องจากภาวะความดันภายในดวงตา ซึ่งโดยทั่วไปเกิดมักขึ้นได้น้อย

ผู้ที่มีอาการกระจกตาอักเสบ ควรไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์

การวินิจฉัยโรค

จักษุแพทย์จะตรวจตา และซักประวัติเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุของกระจกตาอักเสบ

แพทย์อาจวินิจฉัยสาเหตุของโรคว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราโดยการขูดกระจกตาเล็กน้อยเพื่อส่งไปทำการตาวจหาเชื้อที่ห้องปฏิบัติการ

โรคกระจกตาอักเสบเนื่องจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่แพทย์จะขอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของผู้ป่วย

โรคกระจกตาอักเสบเนื่องจากปรสิต อาจต้องได้รับการตรวจตาอย่างละเอียดมากขึ้นเพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นปรสิตที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ได้

Keratitis

การรักษากระจกตาอักเสบ 

หากผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์เป็นโรคกระจกตาอักเสบ ควรถอดคอนแทคเลนส์ออกทันทีที่มีอาการระคายเคืองหรือมีอาการติดเชื้อ ควรงดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการนี้จะหายดี

ในผู้ที่เป็นโรคกระจกตาอักเสบเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่มีอาการเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาเพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรีย

ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หากมีอาการกระจกตาอักเสบที่รุนแรงการใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์จะสามารถลดการอักเสบได้

ผู้ป่วยสามารถรักษาอาการได้เองที่บ้านโดยใช้ยาหยอดตาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้ยาน้อยลงได้เมื่ออาการดีขึ้น

ผู้ที่เป็นโรคกระจกตาอักเสบจากเชื้อรา จะต้องใช้ยาต้านเชื้อราเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งหากมีอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผล อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด

ยาหยอดตาหรือยาต้านไวรัสใช้ในการรักษาอาการกระจกตาอักเสบ ที่มีสาเหตุจากไวรัส เนื่องจากไม่มีการรักษาโรคเริมที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรค  จึงอาจเกิดกระจกตาอักเสบขึ้นได้อีก

กระจกตาอักเสบชินดที่เกิดจากเชื้อปรสิต เป็นชนิดที่รักษาได้ยากที่สุด และจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัด อย่างเร่งด่วน

ในระหว่างการรักษา หากผู้ป่วยบางคนมีอาการดังนี้ ควรไปพบจักษุแพทย์

  • เมื่อใช้ยาหยอดตาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • สายตาพร่ามัว
  • มีอาการเจ็บปวดที่มตามากขึ้น หรือตาแดงมากขึ้น
  • จุดสีขาวบนกระจกตามีขนาดใหญ่ขึ้น

การป้องกันกระจกตาอักเสบ

นอกจาก กระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัสแล้วคนส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงอาการในรูปแบบอื่น ๆ ได้โดย รักษาความสะอาดและสุขอนามัยของคอนแทคเลนส์

โดยทั่วไปสามารถช่วยป้องกันกระจกตาอักเสบ ได้โดย

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ตาเกี่ยวกับวิธีการใส่ การเปลี่ยน การจัดเก็บ และการทำความสะอาดคอนแทคเลนส์
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งก่อนสัมผัสกับดวงตาหรือคอนแทคเลนส์
  • หลีกเลี่ยงการนอนโดยไม่ถอดคอนแทคเลนส์
  • เก็บคอนแทคเลนส์ให้ห่างจากน้ำ เช่น เมื่ออาบน้ำ หรือว่ายน้ำ
  • ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์
  • ไปพบจักษุแพทย์เป็นประจำ และติดต่อแพทย์เมื่อมีอาการที่น่ากังวล

กระจกตาอักเสบอาจส่งผลต่อผู้ที่ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ การปกป้องดวงตาจากภาวะที่อาจทำให้ดวงตาได้รับความเสียหายถือเป็นสิ่งที่สำคัญ

ขั้นตอนในการปกป้องดวงตา ได้แก่

  • สวมแว่นตาป้องกันดวงตาหากต้องทำงานกับพืชหรือต้นไม้
  • สวมแว่นตากันแดดเมื่อโดนแสงแดดจ้า
  • ตระหนักถึงสิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ และถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้
  • ประทานอาหารที่มีวิตามินเอซึ่งพบใน นม และไข่

นอกจากนี้ยัง อาจมีความเป็นไปได้ที่จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระจกตาอักเสบเนื่องจากเชื้อไวรัส ประชาชนทั่วไปควรระมัดระวังไม่สัมผัสดวงตาหรือบริเวณรอบ ๆ ดวงตา และควรใช้ยาหยอดตาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *