โรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา: 

โรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา: 

11.05
2323
0

โรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) คือโรคที่เกิดจากโปรโตซัวลิชมาเนีย ที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง เยื่อเมือก และอวัยวะภายใน ลิชมาเนียที่ผิวหนังทำให้เกิดรอยโรคตั้งแต่รอยเล็ก ๆ ไปจนถึงรอยขนาดใหญ่เป็นเวลาหลายเดือนถึงหลายปีแต่ท้ายที่สุดแล้วก็จะสามารถรักษาได้ ลิชมาเนียที่เยื่อเมือกจะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อที่โพรงจมูก สามารถทำให้เกิดจมูกและเพดานปากถูกทำให้เสียหายได้ ลิชมาเนียที่เกิดขึ้นที่อวัยวะภายใน จะทำให้เกิดการมีไข้ผิดปกติ ภาวะตับและม้ามโต เกล็ดเลือดต่ำ และภาวะอิมมูโนโกลบูลินสูง ซึ่งเพิ่มโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา การวินิจฉัยทำได้โดยการป้ายเชื้อ หรือการเพาะเชื้อ และทำให้เพิ่มขึ้นโดยปฏิกริยาลูกโซ่โพลิเมเรส การทดสอบด้านเซรุ่มวิทยาอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยลิชมาเนียที่เกี่ยวกับอวัยวะภายในแต่ไม่ใช่กับลิชมาเนียที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง การรักษาลิชมาเนียที่เกิดขึ้นที่อวัยวะภายในนั้นทำได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ liposomal amphotericin B หรือ miltefosine ขึ้นอยู่กับชนิดและบริเวณที่เกิดลิชมาเนีย ตัวเลือกการรักษาอื่นหากโปรโตซัวลิชมาเนียนั้นเกิดในบริเวณที่พวกมันถูกทำให้อ่อนแอลง เช่น  ยาต้านเชื้อรา amphotericin B deoxycholate และ  pentavalent antimony compounds การรักษาเฉพาะที่และการรักษาทั่วร่างกายนั้นสามารถรักษาลิชมาเนียที่ผิวหนังได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและอาการที่แสดงออกมา 

ลิชมาเนียเยื่อเมือก เกิดจากเชื้อ  L. braziliensis และอวัยวะที่เกี่ยวข้องจะเกิดแผล แพร่ไปสู่ชั้นเยื่อเมือกจากน้ำเหลือง และกระแสเลือด เกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อ รอยโรคที่ผิวหนังจะหายไปเอง แต่รอยโรคที่ชั้นเยื่อเมือกจะยังไม่ปรากฏจากหลายเดือนถึงหลายปี ปกติแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก มีของเหลวไหลออกมา และเจ็บปวด เมื่อเวลาผ่านไป การติดเชื้ออาจมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อจมูก เพดานปาก คอหอยส่วนปาก หรือใบหน้า 

ลิชมาเนียที่อวัยวะภายใน ปกติแล้วจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อปรสิตหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นอย่างฉับพลันได้ มีไข้ผิดปกติ มีภาวะตับและม้ามโต เกล็ดเลือดต่ำ และอิมมูโนโกลบินสูง ค่าอัลบูมินต่อโกลบูลินเปลี่ยน ในผู้ป่วยบางราย อุณภูมิร่างกายจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ลิชมาเนียที่ผิวหนังจะไม่เกิดขึ้น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะซูบผอมและเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือน หรือไม่กี่ปี ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการ หากรักษาหายจะปลอดภัยและติดเชื้ออีกครั้งได้ยาก นอกจากว่าระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง เช่น จากการติดเชื้อเอชไอวี การกลับมาของโรคนั้นเกิดขึ้นได้หลังจากผ่านการติดเชื้อครั้งแรกไปหลายปีแล้ว 

อาการทางผิวหนังหลังรักษาหายแล้ว (Post kala-azar dermal leishmaniasis (PKDL)) อาจเกิดขึ้นหลังการรักาาลิชมาเนียที่เกิดกับอวัยวะภายในในผู้ป่วยในซูดานและอินเดีย มันเกิดขึ้นจากลักษณะของรอยโรคที่ผิวหนังที่เป็นตุ่มหรือแบนและมีปรสิตอยู่มาก ในผู้ป่วยในซูดาน รอยโรคเหล่านี้จะปรากฏขึ้นในตอนที่จบการรักษาหรือใน 6 เดือน และหายไปเองภายในไม่กี่เดือนหรือใน  1 ปี ในผู้ป่วยในอินเดียและประเทศใกล้เคียง รอยโรคบนผิวหนังจะปรากฏขึ้นหลังการรักษา 1 ถึง 2 ปี และจะคงอยู่หลายปี รอยโรคหลังการรักษาเป็นแหล่งรวมของการติดเชื้อในพื้นที่เหล่านี้ 

การรักษาโรคลิชมาเนีย 

  • การรักาาดดยใช้ยาขึ้นอยู่กับกลุ่มอาการของโรคและปัจจัยอื่น ๆ 
  • สำหรับลิชมาเนียที่ผิวหนัง การรักษาเฉพาะที่ การฉีด  sodium stibogluconate หรือ ยาปฏิชวนะเฉพาะที่ paromomycin นอกสหรัฐอเมริกา หรือ การรักษาด้วยการประคบร้อน หรือ การบำบัดด้วยความเย็นจัด 
  • สำหรับการรักษาทั่วร่างกายของลิชมาเนียที่ผิวหนัง เยื่อเมือก หรืออวัยวะภายในจะใช้ liposomal amphotericin IV หรือ miltefosine ชนิดทาน 
  • ทางเลือกอื่น ๆ เช่น  amphotericin B deoxycholate IV หรือ pentavalent antimonials IV หรือ IM หากการติดเชื้อมีท่าทีว่าจะอ่อนลง 

การรักษาลิชมาเนียนั้นซับซ้อน การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้: 

  • กลุ่มอาการต่าง ๆ 
  • ชนิดของโปรโตวัวลิชมาเนีย 
  • พื้นที่ที่ได้รับเชื้อมา 
  • ความเป็นไปได้ของอวัยวะที่จะง่ายต่อการใช้ยาต้านลิชมาเนีย 
  • สถานะของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย 

ลิชมาเนียที่ผิวหนัง 

การรักษาลิชมาเนียที่ผิวหนังอาจทำได้โดยการรักษาเฉพาะที่หรือการรักษาทั่วร่างกาย ขึ้นอยู่กับรอยโรคและอวัยวะ 

หากรอยโรคมีขนาดเล็ก สามารถหายได้เอง และไม่ทำให้เกิดลิชมาเนียที่เชื่อมโยงไปถึงลิชมาเนียเยื่อเมือก ก็จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิดแทนที่จะทำการรักษา 

การรักษาเฉพาะที่ เป็นทางเลือกสำหรับลิชมาเนียที่เล็กน้อย และไม่ซับซ้อน การฉีด sodium stibogluconate ได้ถูกใช้มาหลายปีในการรักษาลิชมาเนียที่ไม่ซับซ้อนในยุโรปและเอเชีย แต่ไม่ถูกใช้ในสหรัฐอเมริกา การรักษาเฉพาะที่อีกอย่างนึงคือ การประคบด้วยความร้อน และการรักษาด้วยความเย็นจัด ทั้งสองวิธีนี้สร้างความเจ็บปวดและสามารถใช้รักษาได้กับลิชมาเนียที่เล็กน้อย นอกจากนี้ การใช้ขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของ paromomycin  15% และ methylbenzethonium chloride 12% ในน้ำมันพาราฟินถูกใช้นอกสหรัฐอเมริกา 

Leishmaniasis

การรักษาทั่วร่างกายจะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังนี้: 

  • ติดเชื้อ  L. braziliensis หรืออวัยวะที่ติดเชื้อเชื่อมโยงกับลิชมาเนียเยื่อเมือก 
  • ลิชมาเนียผิวหนังที่มีความซับซ้อน มีรอยโรคหลายรอย รอยใหญ่ แพร่กระจายไปทั่ว หรือ ทำให้ผิวเสียหาย 
  • ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำให้อ่อนแอลง 

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ทางเลือกของการรักษาจะมีการใช้ liposomal amphotericin B และ miltefosine และ amphotericin B deoxycholate นอกจากนี้  Sodium stibogluconate หรือ  meglumine antimoniate อาจถูกใช้ได้เช่นกันหากเกิดขึ้นในบริเวณที่ไม่พบได้บ่อย Liposomal amphotericin B  และ amphotericin B deoxycholate ปกติแล้วจะถูกใช้กับลิชมาเนียที่อวัยวะ 

Miltefosine มีข้อดีตรงที่เป็นยาแบบรับประทาน ใช้ได้ผลดีกับลิชมาเนียที่ผิวหนัง โดยเฉพาะที่เกิดจาก  Leishmania braziliensis  Leishmania guyanensis และ Leishmania panamensis  ปริมาณของ Miltefosine ที่ได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัว 30-44 กิโลกรัม รับประทาน 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 28 วัน ผู้ป่วยที่น้ำหนัก 45 กิโลกรัมหรือมากกว่ารับประทาน 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 28 วัน ผลข้างเคียงของยาจะมี คลื่นไส้ อาเจียน aminotransferases สูงขึ้นชั่วคราว และเวียนศีรษะ ยานี้ถูกห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ 

เพนทาวาเลนซ์ แอนติโมเนียล (sodium stibogluconate หรือ meglumine antimoniate) ควรใช้เมื่อโปรโตซัวลิชมาเนียนั้นอ่อนตัวลง Sodium stibogluconate นั้นมาจาก องค์กรป้องกันและควบคุมโรค ส่วน Meglumine antimoniate ถูกใช้ในประเทศละติน อเมริกา ปริมาณของยาทั้งสองชนิดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของ  pentavalent antimony – 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของ IV หรือ IM หนึ่งครั้งต่อวัน เป็นเวลา 20 วัน ผลข้างเคียงได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อะไมเลซ และ/หรือเอนไซม์ในตับเพิ่มสูงขึ้น และเป็นพิษต่อหัวใจ ( หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง หัวใจล้มเหลว คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยน หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน )

ทางเลือกอื่น ๆ เช่น azoles (fluconazole) ใช้ fluconazole 200 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ มักไม่ได้ผล แต่ปริมาณยาที่มากขึ้นถูกรายงานว่าใช้ได้ผลในบางพื้นที่ 

ลิชมาเนียที่แพร่กระจายนั้นค่อนข้างขะไม่ตอบสนองต่อการรักษา 

ลิชมาเนียเยื่อเมือก 

การรักษาที่เหมาะสมที่สุดนั้นยังไม่เป็นที่แน่นอน 

การศึกษาล่าสุดชี้ว่า liposomal amphotericin B ที่เพิ่มขึ้นเป็น 20-60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ miltefosine ตามน้ำหนักตัวนั้นใช้ได้ผล: ผู้ป่วยน้ำหนัก 30-44 ถึง กิโลกรัม ให้ยาแบบทาน 50 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 28 วัน ผู้ป่วยน้ำหนัก 45 กิโลกรัมหรือมากกว่า ให้ยาแบบทาน 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัย เป็นเวลา 28 วัน แต่ข้อมูลยังมีน้อยอยู่ ผลข้างเคียงของยา   miltefosine ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เอนไซม์ aminotransferases เพิ่มขึ้นชั่วคราว และเวียนหัว ยานี้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ในอดีต pentavalent antimonials ถูกใช้ในประเทศละตินอเมริกา ยาอีกชนิดที่ใช้ได้ผล คือ amphotericin B deoxycholate 0.5-1.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 1 ครั้งต่อวัน หรือ วันเว้นวันในปริมาณ 20-45 มิลลิกรัมต่อวัน 

ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดจมูกหรือเพดานปากที่ผิดรูป แต่การผ่าตัดจะทำหลังจากการรักษาแล้ว 12 เดือนเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดอย่างเสียเปล่าหากโรคกลับมาเกิดซ้ำอีก 

ลิชมาเนียอวัยวะภายใน 

Liposomal amphotericin B และ  miltefosine ได้ถูกรับรองจากองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาว่าใช้เพื่อรักษาลิชมาเนียที่เกิดกับอวัยวะภายในได้ amphotericin ชนิดอื่นอาจใช้ได้ผลแต่ยังไม่ได้รับการวิจัยที่ดีนัก 

ปริมาณของ liposomal amphotericin B คือ 

  • สำหรับผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง: 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 1 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน และ 1 ครั้งต่อวันในวันที่ 14 และ 21 หลังจาก 5 วัน(ปริมาณยาทั้งหมด 21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
  • สำหรับผู้ป่วยเอดส์หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ: 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 1 ครั้งต่อวัน ในวันที่ 1 ถึง 5 วันที่ 10 17 24 31 และ 38 (ปริมาณยาทั้งหมด 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)

Miltefosine แบบรับประทาน ปริมาณยาต่อย้ำหนักตัว: ผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก 30-40 กิโลกรัม ทาน 50 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 28 วัน หรือ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัว 45 กิโลกรัม หรือมากกว่า ทาน 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 28 วัน สามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ได้รับเชื้อ L. donovani ในอินเดีย หรือประเทศใกล้เคียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 12 ปี ที่มีน้ำหนักมากกว่า 30 กิโลกรัม และผู้ที่ไม่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร 

Pentavalent antimonials สามารถใช้รักษาลิชมาเนียที่ได้รับเชื้อในประเทศละตินอเมริกา หรือ พื้นที่อื่น ๆ ในโลกที่เชื้อไม่ดื้อยาเหล่านี้  sodium stibogluconate สามารถรับได้จาก องค์กรป้องกันและควบคุมโรค ปริมาณยาคือ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 1 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 28 วัน 

อีกทางเลือกหนึ่งคือ amphotericin B deoxycholate 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 1 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 15-20 วัน หรือวันเว้นวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ 

การกลับมาเกิดซ้ำของโรคพบได้มากในผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยาตา้นเชื้อเอชไอวีสามารถช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ ทำให้การเกิดซ้ำลดลง การป้องกันโรคระดับทุติยภูมิด้วยการใช้ยา antileishmanial  อาจช่วยป้อกันการกลับมาของโรคในผู้ป่วยโรคเอดส์ได้เช่นกัน ปริมาณยา CD4 counts < 200/mcL

มาตราการสนับสนุน ( เช่น โภชนาการที่เพียงพอ การถ่ายเลือด ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อทุติยภูมิ มีความจำเป็นต่อคนไข้ที่เป็รลิชมาเนียอวัยวะภายใน 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *