

โรคเรื้อน (Leprosy) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีการเติบโตอย่างช้าๆและสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมาได้หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อแบคทีเรียนี้จะสามารถทำลายระบบประสาทเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียโฉมได้
เนื่องจากการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันสามารถทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคเรื้อนได้ ดังนั้นองค์การอนามัยโลกและองค์กรอื่นๆจึงมุ่งหวังให้โรคเรื้อนเป็นโรคที่ต้องถูกกำจัดให้หมดไปใน
ข้อเท็จจริงสั้นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคเรื้อน
- โรคเรื้อนมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- อาการแรกเริ่มของโรคเรื้อนคือมีรอยโรคบริเวณผิวหนังและไม่สามารถรับความรู้สึกได้
- เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุคือ เชื้อ Mycobacterium leprae และ เชื้อ Mycobacterium lepromatosis
- ในปัจจุบันนี้สามารถรักษาโรคเรื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้ยาร่วมกันหลายชนิด
โรคเรื้อนคืออะไร
โรคเรื้อนหรือที่รู้จักกันคือโรคแฮนเซน เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Mycobacterium leprae (M. leprae) และ เชื้อ Mycobacterium lepromatosis ผู้ที่เป็นโรคเรื้อนมักเกิดจากการติดต่อผ่านทางละอองฝอยของน้ำลายหรือน้ำมูกจากปากและจมูกแต่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
อย่างไรก็ตามโรคเรื้อนก็ไม่ได้เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรโลกมักจะมีภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แม้มีการสัมผัสกับเชื้อเป็นเวลานานก็ไม่ได้ทำให้เป็นโรคเรื้อนแต่อย่างใด
เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคเรื้อนจะไปต่อสู้กับเม็ดเลือดขาวชนิด macrophages ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญ นอกจากนี้ยังไปมีผลต่อเซลล์ Schwann ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนของระบบประสาท
เชื้อ M. leprae และ M. lepromatosis เริ่มลดลง โดยในหลายประเทศโรคเรื้อนก็ได้ถูกกำจัดออกไปซึ่งความชุกของโรคมีค่าน้อยกว่า 1 ต่อ 10,000 ราย อย่างไรก็ตามในบางประเทศโรคเรื้อนยังคงสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ก่อนที่จะถูกตรวจพบซึ่งทำให้ยากต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
อาการของโรคเรื้อน
อาการของโรคเรื้อนจะแตกต่างกันไปตามสภาวะของแต่ละบุคคล :
อาการหลักๆที่พบ มีดังนี้ :
- มีรอยโรคเกิดขึ้นบนผิวหนังมีลักษณะเป็นสีขาวกว่าผิวหนังปกติซึ่งรอยโรคนั้นจะคงอยู่เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
- ผิวหนังรับความรู้สึกได้ลดลง เช่น การสัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อนโดยจะรับรู้ได้ลดลง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีอาการชาบริเวณมือ เท้า ขา และแขน เรียกว่าอาการสูญเสียความรู้สึกแบบสวมถุงมือถุงเท้า (glove and stocking anesthesia)
- สายตามีปัญหา
- เส้นประสาททีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อศอกและหัวเข่า
- มีอาการคัดจมูกและเลือดกำเดาไหล
- นิ้วมืองอและมีอาการชาซึ่งเป็นผลมาจากการที่กล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นอัมพาต
- มีแผลที่ฝ่าเท้า
หากมีการบาดเจ็บและการแตกหัก รวมไปถึงอาการปวดแสบปวดร้อนจะอาจจะไม่สามารถสังเกตได้ชัด เนื่องจากความรู้สึกชาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากเส้นประสาทถูกทำลาย และในเวลาต่อมาเส้นประสาทจะถูกทำลายอย่างซ้ำๆจนกลายไปภาวะติดเชื้อหรืออาการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น
แผลจะเกิดการติดเชื้อเนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเรื้อนจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง กระบวนการการดูดซึมกลับของกระดูกอ่อนในร่างกายจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำและเกิดการสูญเสียเนื้อเยื่อในบริเวณดังกล่าวไปลักษณะที่เกิดนี้จะเกิดบริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้าภายในระยะเวลาอันสั้นซึ่งพบได้ในโรคเรื้อน
การทำลายเยื่อบุผิวที่ปกคลุมภายในจมูก ในบางครั้งจะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะภายในและเกิดเป็นแผลเป็นขึ้นจนเป็นสาเหตุทำให้จมูกยุบ
โรคเรื้อนมีผลทำลายเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ในการกระพริบตา โดยผลจากการทำลายเส้นประสาทนี้จะทำให้ตาแห้งและเกิดการติดเชื้อได้ ที่แย่ไปกว่านั้นคือเกิดแผลในตาและตาบอดได้
การถูกสังคมรังเกียจจากการเป็นโรคเรื้อน
โรคเรื้อนยังคงเป็นที่เข้าใจผิดว่าเกิดจากการเร่ร่อน ความยากจน และความโดดเดี่ยว
โรคเรื้อนไม่ได้เป็นติดต่อที่ร้ายแรงโดยการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ซึ่งไม่ได้แยกกักตัวผู้ป่วยออกไป แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเคยมีการแยกกักตัวผู้ป่วยโรคเรื้อนไปไว้ในพื้นที่บริเวณหนึ่ง (leper colonies) ซึ่งปัจจุบันยังคงพบได้ในประเทศอินเดีย ประเทศจีน และบางประเทศในทวีปแอฟริกา
ไม่ได้มีเหตุผลทางการแพทย์ใดเลยที่ทำให้ต้องกีดกันผู้ป่วยโรคเรื้อนออกไปจากสังคม
ในบางประเทศ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อนจะถูกสังคมรังเกียจอย่างเห็นได้ชัดโดยให้ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในสังคม
แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลกจะทำงานอย่างหนักเพื่อลดและกำจัดการแพร่ระบาดของโรคเรื้อน แต่ปัญหาที่ผู้ป่วยโรคเรื้อนถูกสังคมรังเกียจนั้นก็ยากที่จะกำจัดให้หมดไปได้
ผู้ที่มีแผลเป็นจากโรคเรื้อนจะสามารถทำงานหาเงินได้น้อยมาก โอกาสในการแต่งงานก็ลดลงจากคนปกติ แม่ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนต้องหยุดให้นมบุตรนอกจากนี้เด็กก็อาจจะถูกรังเกียจจากคนในบ้านหรือในหมู่บ้าน
ความเครียดและความกังวลของผู้ที่เป็นโรคเรื้อนอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตตามมา จนในที่สุดทำให้เกิดการปลีกตัวออกจากสังคม บางครั้งจะต้องหยุดทำการรักษา กลายเป็นคนว่างงานที่พบได้ทั่วไป บ่อยครั้งต้องไปเป็นคนขอทานซึ่งเป็นทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่ ความเครียดที่สะสมเพิ่มขึ้น และการถูกกีดกันทางสังคมจนในที่สุดทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้รู้สึกไม่มีคุณค่าต่อสังคม
เนื่องจากการกลัวสังคมรังเกียจทำให้ผู้ที่เป็นโรคเรื้อนมักซ่อนอาการที่เกิดขึ้นและไม่เข้ารับการรักษา สิ่งนี้ยิ่งทำให้อาการแย่ลงและมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มโอกาสในการติดต่อไปสู่ผู้อื่นในสังคมได้
การป้องกันเรื้อน
แนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเรื้อนคือการตรวจพบและทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ในผู้ที่สามารถทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคได้
แต่เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางสุขภาพที่ไม่ดีและการถูกสังคมรังเกียจ รวมไปถึงการให้ความรู้ ข้อกำหนดที่แตกต่างกันในแต่ละสังคมทั่วโลกทำให้การกำจัดโรคนี้ยังไม่หมดไปอย่างสมบูรณ์
ขั้นตอนในการส่งเสริมเพื่อป้องกันโรคเรื้อน มีดังต่อไปนี้
- ให้ความรู้และสนับสนุนให้คนหันมาดูแลสุขภาพตนเอง
- ควบคุมอาการของโรคอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงควรส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไป
- รักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นวันต่อวันเพื่อไม่ให้เกิดความพิการที่รุนแรงมากขึ้น
- ให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บรวมไปถึงการทำความสะอาดแผล
แม้ว่าการจัดการเพื่อกำจัดโรคเรื้อนจะยังคงอีกยาวไกล แต่อย่างไรก็ตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการมีมนุษยธรรมจะต้องทำงานควบคู่กันไปเพื่อลดและขจัดโรคเรื้อนให้หมดไปจากโลกนี้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/leprosy/index.html
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/leprosy-symptoms-treatments-history
- https://www.medicinenet.com/leprosy/article.htm
- https://www.msdmanuals.com/home/infections/tuberculosis-and-related-infections/leprosy
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก