โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคลูคีเมีย (Leukemia) คือ มะเร็งเม็ดเลือดหรือไขกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก เกิดจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ การแบ่งตัวอย่างไม่หยุดของเซลล์เหล่านี้ ได้ไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่นของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ และเกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง มีเลือดออกผิดปกติ มีจ้ำเลือดตามร่างกาย ติดเชื้อง่าย นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ทำให้ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้ามโต
อาการมะเร็งเม็ดเลือดขาว
อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีดังต่อไปนี้:
การแข็งตัวของเลือดไม่ดี: อาจทำให้ช้ำหรือเลือดออกง่ายและหายช้า นอกจากนี้ยังอาจจะเป็นจ้ำ Petechiae ซึ่งเป็นจุดสีแดงและสีม่วงเล็ก ๆ บนร่างกาย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเลือดไม่แข็งตัวตามปกติ Petechiae เกิดเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ยังไม่สมบูรณ์จับกลุ่มเกล็ดเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด
การติดเชื้อบ่อย: เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญต่อการต่อภูมิต้านทานการติดเชื้อ หากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ถูกต้องคนที่มีอาการนั้นอาจติดเชื้อได้บ่อย ระบบภูมิคุ้มกันอาจโจมตีเซลล์ของร่างกายเสียเอง
โรคโลหิตจาง: คือการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงมีประสิทธิภาพน้อยลง นั่นหมายความว่า มีฮีโมโกลบินในเลือดไม่เพียงพอ ฮีโมโกลบินนั้นทำหน้าที่ลำเลียงธาตุเหล็กไปทั่วร่างกาย การขาดแคลนธาตุเหล็กจะส่งผลให้ตัวซีดและหายใจลำบาก
อาการอื่น ๆ อาจรวมถึง:
- คลื่นไส้
- มีไข้
- หนาวสั่น
- เหงื่ออกกลางคืน
- อาการเหมือนไข้หวัด
- น้ำหนักลด
- ปวดข้อและกระดูก
- เหนื่อยล้า
หากตับหรือม้ามบวม ผู้ป่วยจะอิ่มได้ง่าย และส่งผลให้น้ำหนักลดลง
การลดน้ำหนักอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่มีตับหรือม้ามโตก็ตาม และอาการปวดหัวในผู้ป่วยนั้นอาจเป็นสัญญาณว่าเซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
อย่างไรก็อาการเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นการปรึกษาแพทย์หรือการเข้ารับการวินิจฉัยถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าว
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้นในขณะที่ DNA ของเซลล์เม็ดเลือดที่กำลังพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวได้รับความเสียหาย ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเจริญและแบ่งตัวอย่างไม่สามารถควบคุมได้
เซลล์เม็ดเลือดที่แข็งแรงจะเสียหาย และมีเซลล์ใหม่มาแทนที่ ซึ่งเกิดปัญหาเหล่านี้ในไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติ จะไม่สลายตามธรรมชาติในวงจรชีวิต แต่กลับสร้างและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีก
เมื่อไขกระดูกสร้างเซลล์มะเร็งพวกนี้มากขึ้น เลือดก็จะไปเลี้ยงในส่วนนี้เป็นปริมาณมาก ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ดี ไม่สามารถเจริญเติบโต และทำงานได้ตามปกติในที่สุดเซลล์มะเร็งก็มีจำนวนมากกว่าเซลล์เลือดที่ดี
ประเภทของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมียมี 4 ประเภทหลัก :
- เฉียบพลัน
- เรื้อรัง
- ต่อมน้ำเหลือง
- Myelogenous
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังและเฉียบพลัน
ในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และสะสมในไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ในขณะที่มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง จะค่อยๆพัฒนา เลยทำให้เม็ดเลือดขาวยังมีโอกาสเจริญและพัฒนาอยู่บ้าง
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเรื้อรัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Myelogenous
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocytic หรือต่อมน้ำเหลือง ส่งผลต่อชนิดของไขกระดูกที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว โดยลิมโฟไซต์เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทอย่างมากในระบบภูมิคุ้มกัน
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Myelogenous มีผลต่อเซลล์ไขกระดูกโดยผลิตเซลล์มะเร็งแทนที่จะเป็นเซลล์เม็ดเลือด
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ แบบฉับพลัน Acute lymphocytic leukemia
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงสูงสุดในการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ แบบฉับพลัน (ALL) อย่างไรก็ตามอาจส่งผลต่อผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยปกติแล้วจะพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และจากการเสียชีวิตพบว่า 4 รายจาก 5 ราย นั้นเป็นผู้ใหญ่
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ แบบเรื้อรัง Chronic lymphocytic leukemia
เม็ดเลือดขาวชนิดนี้พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี แต่ผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ประมาณ 25% ของผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ (CLL) และพบมากในผู้ใหญ่เพศชาย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบฉับพลัน Acute myelogenous leukemia
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบฉับพลัน (AML) มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มะเร็งชนิดนี้พบได้ยากมาก เซลล์มะเร็งจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีอาการดังนี้ มีไข้ หายใจลำบากและปวดตามข้อ โดยอาการจะรุนแรงขึ้นตามสิ่งกระตุ้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบเรื้อรัง Chronic myeloid leukemia
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบเรื้อรัง (CML) ส่วนใหญ่เกิดในผู้ใหญ่ มีสัดส่วนประมาณ 15% ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และไม่ค่อยพบเด็กเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้
วิธีการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
ทีมแพทย์จะประเมินชนิดของโรค อายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่
- เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน โดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ เคมีบำบัดมีทั้งชนิดกิน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักต้องใช้เคมีบำบัดร่วมกันหลายชนิด โดยแพทย์จะพิจารณาตามชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงความแข็งแรงของผู้ป่วยด้วย เพราะเคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์ในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก ถ่ายเหลว โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำหรือเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องได้เลือดและเกล็ดเลือด รวมถึงยารักษาตามอาการเพื่อลดผลข้างเคียง เช่น ยาแก้อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
- การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)
- การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation) แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) ญาติพี่น้องหรือผู้บริจาค (Allogeneic transplantation) ที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.lls.org/leukemia
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/leukemia/symptoms-causes/syc-20374373
- https://www.healthline.com/health/leukemia
- https://www.cancer.gov/types/leukemia
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก