เกล็ดเลือดต่ำ (Low Platelet Count) : อาการ สาเหตุและการรักษา

เกล็ดเลือดต่ำ (Low Platelet Count) : อาการ สาเหตุและการรักษา

13.01
7717
0

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Low Platelet Count) หรือ Thrombocytopenia หมายถึงความผิดปกติของเลือดที่เกิดจากสาเหตุหลายประการ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือเมื่อวัดค่าเกล็ดเลือดได้ต่ำ นั่นไม่ได้หมายความว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับร่างกายเสมอไป อย่างไรก็ตามภาวะเกล็ดต่ำทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันและมีบาดแผลที่เกิดเลือดไหลออกไม่หยุดอย่างรุนแรงได้ ซึ่งภาวะผิดปกตินี้ในบางกรณีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ในบทความนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อาการและสารเคมีที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ รวมถึงวิธีการรักษาความผิดปกติของเลือดดังกล่าว

Low Platelet Count

สาเหตุของการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำมี 2 ประการได้แก่

การทานยาที่ทำให้เกล็ดเลือดลดลงหรือการทานยาที่มีคุณสมบัติทำให้ร่างกายผลิตเกล็ดเลือดได้น้อยลง

การทานยาบางประเภท

เกล็ดเลือดเป็นส่วนประกอบหนึ่งของน้ำเลือดที่ทำให้เลือดสามารถแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้

ยาหรือสารพิษ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักหรือแม้แต่ควินินที่เป็นสารแอลคาลอยด์เช่นน้ำโทนิค สิ่งเหล่านี้เป็นสารเหตุทำให้เกล็ดเลือดต่ำได้ นอกจากนี้ควินินยังเป็นยาที่อยู่ในรูปแบบแคปซูลสำหรับทานเพื่อรักษาอาการขาเป็นตะคริวด้วยเช่นกัน

ถ้าหากพบว่าการทานยาหรือสารเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ แพทย์จะบอกให้หยุดทานจนกระทั่งระดับเกล็ดเลือดกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนยาหรือสั่งยาชนิดอื่นให้

สำหรับสารพิษที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้แก่ยาฆ่าหญ้า สารหนู และน้ำมันเบนซิน

ยาดังต่อไปนี้เป็นยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำลง

  • ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์โดยปิดกั้นตัวรับ glycoprotein IIb/IIIa ได้แก่ยา  abciximab ยา eptifibatide และยา tirofiban

  • ยาเฮพาริน

ยาจำหน่ายทั่วไปที่สามารถทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้แก่

  • ยาอะเซตามีโนเฟน

  • ยาไอบลูโพเฟน

  • ยานาพรอกเซน

นอกจากนี้ยังมียาจำหน่ายตามใบสั่งยาที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้แก่

  • ยาอะมิโอดาโรน

  • ยาแอมพิซิลลินและยาปฏชีวนะอื่นๆ

  • ยาไซเมทิดีน

  • ยากันชักเช่น ยาคาร์บามาเซพีน

  • ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนาไมด์ เช่นยา trimethoprim-sulfamethoxazole

  • ยาแวนโคมัยซิน

อาการเกล็ดเลือดต่ำ

ผู้ที่มีปัญหาภาวะเกล็ดเลือดต่ำจะมีรอยฟกช้ำได้ง่ายกว่าคนทัวไป

อาการของภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกิดขึ้นเมื่อมีระดับเลือดลดลงอย่างรุนเเรงเท่านั้น สำหรับภาวะเกล็ดต่ำที่ไม่รุนเเรงจะไม่มีอาการใดๆแสดงออก

ถ้าหากเกล็ดเลือดลดลงมากพอสามารถทำให้เกิดเลือดออกอย่างไม่ทราบสาเหตุได้ โดยอาการสังเกตพบเลือดออกจากบาดแผลขนาดเล็กบนผิวหนังหรือเกิดผื่นจ้ำเลือดสีแดงและดำขึ้น ซึ่งเรียกว่าจ้ำเลือดที่เกิดขึ้นเอง (petechiae)

สำหรับจ้ำเลือดที่มีอาการรุนเเรงทำให้เกิดรอยฟกช้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเส้นเลือดฝอยแตก (purpura)

นอกจากนี้โรคเกล็ดต่ำที่เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านเกล็ดเลือดอาการของโรคนี้ได้แก่ เลือดกำเดาไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเลือดปนในปัสสาวะและอุจจาระ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 ไมโครลิตร

เกล็ดเลือดคืออะไร

เกล็ดเลือดเป็นองค์ประกอบสำคัญของเลือด โดยเกล็ดเลือดทำหน้าที่ซ่อมแซมความเสียหายเเละมีบทบาทสำคัญในการทำให้แข็งเลือดแข็งตัว ซึ่งช่วยให้เลือดหยุดไหลและรักษาบาดแผล การแข็งตัวของเลือดเรียกอีกชื่อว่าการห้ามเลือด (hemostasis)

เราไม่สามารถมองเห็นเกล็ดเลือดด้วยตาเปล่าได้ ไขกระดูกสันหลังทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด ซึ่งเกล็ดเลือดสามารถอยู่ในร่างกายและมีอายุประมาณ 10 วันก่อนถูกทำลาย

เกล็ดเลือดทำให้เลือดหยุดไหลได้อย่างไร

เกล็ดเลือดทำหน้าที่อุดผนังหลอดเลือด เมื่อผนังเส้นเลือดเกิดความเสียหายหรือได้รับบาดเจ็บ

เมื่อหลอดเลือดเกิดความเสียหายทำให้เกล็ดเลือดเริ่มทำงาน โดยการรวมตัวกันมากขึ้นที่บริเวณบาดแผลเพื่อทำให้เลือดแข็งตัวและห้ามไม่ให้เลือดไหลออกจากบาดแผล

เกล็ดเลือดจะปล่อยสารโปรตีนที่มีลักษณะเหนียวข้นเพื่อทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งสารโปรตีนชนิดนี้มีชื่อเรียกว่าลิ่มไฟบรินทำหน้าที่อุดบาดแผลเพื่อห้ามเลือดไหลออก

ระดับเกล็ดเลือดที่ปกติ

การวัดค่าเกล็ดเลือดทำได้ด้วยวิธีการวัดความเข้มข้นของเกล็ดเลือดในน้ำเลือดในห้องทดลองโดยนักเทคนิคการแพทย์ สำหรับเกล็ดเลือดระดับปกติอยู่ที่ประมาณ 140,000 ถึง 450,000 เกล็ดต่อน้ำเลือดไมโครลิตร เมื่อจำนวนเกล็ดเลือดลดลง ความเข้มข้นของเลือดจะลดลงด้วยเช่นกัน

โดยปกติผู้หญิงจะมีจำนวนเกล็ดเลือดลดลงในช่วงระหว่างการมีรอบเดือนและช่วงใกล้ตั้งครรภ์หรือสิ้นสุดการตั้งครรภ์

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเลือดออกง่าย เนื่องจากมีจำนวนเกล็ดเลือดลดลงและมีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดได้ ถ้าหากวัดค่าเกล็ดเลือดได้ต่ำกว่า 80,000-100,000 เกล็ดต่อน้ำเลือดไมโครลิตร

ผู้ที่มีค่าเกล็ดเลือดดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงได้:

  • ค่าเกล็ดเลือดระหว่าง 20,000 และ 50,000 เกล็ดต่อน้ำเลือดไมโครลิตร เป็นผู้ที่มีความเสียเลือดออกไม่หยุดเมื่อได้รับบาดเจ็บ

  • ค่าเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 เกล็ดต่อน้ำเลือดไมโครลิตร เป็นผู้ที่มีเลือดออกเองโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ

  • ค่าเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000 เกล็ดต่อน้ำเลือดไมโครลิตร เป็นผู้ที่มีเลือดไหลออกเองอย่างรุนเเรงเเละเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการสอบถามและตรวจร่างกาย โดยคำถามครอบคลุมถึงอาการ ประวัติของคนในครอบครัวและการใช้ยา รวมถึงการตรวจร่างกายเพื่อหารอยผื่นหรือรอยฟกช้ำ

วิธีการตรวจร่างกายโดยแพทย์ได้แก่ :

  • การตรวจไขกระดูกสันหลัง

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)

  • การตรวจฟิล์มเลือดหรือสเมียร์เลือดหมายถึงการตรวจแผ่นสไลด์ตัวอย่างเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์

  • การตรวจเลือดเพื่อวัดความสามารถในการแข็งตัวของเลือด

ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องนำไขกระดูกสันหลังไปตรวจ ด้วยการเจาะน้ำในกระดูกสันหลัง ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่าการตรวจเนื้อเยื่อไขกระดูกสันหลัง

การรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่ไม่รุนเเรงและไม่มีอาการแสดงออกไม่จำเป็นต้องทำการรักษา

สำหรับภาวะเกล็ดเลือดต่ำระดับที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ แพทย์จะการค้นหาสาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งประกอบไปด้วยหลายปัจจัย โดยแพทย์จะพยายามเปลี่ยนยาหรือรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

สำหรับโรคเกล็ดเลือดต่ำเนื่องจากภูมิคุ้มกัน แพทย์จะให้ยาที่ออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเช่นยากลุ่มคอร์ติโสเตียรอยด์ที่มีชื่อเรียกว่ายาเพรดนิโซโลน (prednisolone)

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำรุนเเรงอาจจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยวิธีการถ่ายเลือด

ถ้าหากจำนวนเกล็ดเลือดไม่เพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปี อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดนำม้ามออก สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกรุนแรงและเกล็ดเลือดต่ำมากจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการเติมเกล็ดเลือด

การใช้ชีวิตกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยพบภาวะเกล็ดเลือดต่ำสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ดูแลตัวเองและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทกที่อาจทำให้เกิดรอยฟกช้ำและบาดแผลได้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาแอสไพริน

  • หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโรคที่ทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อสำหรับผู้ที่ถูกตัดม้ามออกเเล้ว

หากพบภาวะเลือดออกผิดปกติหรือไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบแพทย์ทันที

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *