โรคไลม์ (Lyme Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไลม์ (Lyme Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

17.03
1724
0

โรคไลม์ (Lyme Disease) คือโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบอร์รีเลีย เบริ์กโดเฟอรี่เป็นโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเห็บขาดำแพร่เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ไปยังมนุษย์

โรคไลม์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเห็บชนิดนี้และพบมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา เห็บชนิดนี้เป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียบอร์รีเลีย เบริ์กโดเฟอรี่จากหนูและกวาง และเมื่อมนุษย์ถูกเห็บชนิดนี้กัดก็จะได้รับเชื้อแบคทีเรียบอร์รีเลีย เบริ์กโดเฟอรี่ไปด้วย

ช่วงแรกหลักโดนกัด ผู้ป่วยจะมีผื่นปรากฏขึ้นและอาจจางหายไปโดยไม่ต้องรักษา โดยภาวะแทรกซ้อนจากโรคไลม์จะส่งผลต่อข้อต่อ หัวใจและระบบประสาทได้

อาการของโรคไลม์

ผื่นจากโรคไลม์

อาการเริ่มแรกของโรคไลม์มักจะไม่รุนแรงมาก ในบางราย อาจไม่มีอาการหรืออาจมีการเข้าใจผิดว่าอาการต่าง ๆ ที่เกิดเป็นกลุ่มอาการไข้หวัดใหญ่

ระยะที่ 1 โรคไลม์ระยะเริ่มต้น

มีผื่นวงสีแดงบริเวณที่เห็บกัดซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของโรคนี้ (Erythema migrans) มักปรากฏในระยะเริ่มแรก 3-30 วันหลังจากการติดเชื้อแล้ว

ผู้ที่มีโรคไลม์ราว 70-80% จะเกิดผื่นและ:

  • โดยทั่วไป จะเริ่มมีผิวสีแดงเป็นจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วค่อยขยายตัวในช่วงหลายวันต่อมา

  • มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 นิ้วหรือประมาณ 30 เซนติเมตร

  • ตรงกลางของบริเวณที่เกิดผื่นจะไม่มีสีหรือมีลักษณะเป็นดวง ๆ

  • มักจะเกิดในบริเวณที่เห็บกัดซึ่งเป็นบริเวณที่มีแบคทีเรียแพร่กระจาย

  • ไม่เจ็บปวดหรือคัน แต่บริเวณที่เกิดโรคจะอุ่น ๆ เมื่อสัมผัส

  • อาจสังเกตเห็นผื่นได้ไม่ชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับโทนสีของผิวหนังของผู้ป่วยแต่ละคน

ระยะที่ 2: อาการต่อมา

อาการอื่น ๆ อาจใช้เวลาหลายเดือนในการเกิดโรคหลังจากถูกเห็บกัด เช่น:

  • ปวดศีรษะ

  • มีอาการคอแข็ง คอติด

  • มีผื่นเกิดขึ้นเพิ่ม

  • เกิดอัมพาตที่ใบหน้า – ภาวะการสูญเสียการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

  • โรคข้ออักเสบและบวมในข้อต่อ

  • ปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และกระดูก

  • ปวดเส้นประสาท

  • มีอาการปวดแปล๊บคล้ายเข็มแทง ชาหรือรู้สึกเสียวปลาบตามมือหรือเท้า

  • มีอาการใจสั่น

  • อาการเหล่านี้อาจหายไปโดยไม่มีการรักษาภายในไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยโรคไลม์เรื้อรังบางรายจะมีอาการของโรคเกิดขึ้นตลอดชีวิต

ผู้ป่วยราว 60% ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดโรคอื่นแทรกซ้อน เช่น โรคข้ออักเสบที่มีอาการบวมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อต่อขนาดใหญ่

กลุ่มอาการโรคไลม์หลังการรักษา

ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาแล้วยังพบว่ามีกลุ่มอาการของโรคไลม์หลังการรักษาซึ่งบางครั้งเรียกว่าโรคไลม์เรื้อรัง

โดยอาจไม่แสดงอาการจำเพาะใด ๆ เช่น รู้สึกเหนื่อยล้าและมีอาการปวดข้อและอาการจะอยู่นานหลายเดือนหลังการรักษา

ซึ่งยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยได้ในกรณีนี้ แต่การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคมากกว่า โดยการรักษาอาจรวมถึงการพักผ่อนและให้ยาต้านการอักเสบ

การแพร่กระจายและการติดเชื้อ

เห็บที่โตเต็มวัยชนิดนี้สามารถเจาะรูเล็ก ๆ ใต้ผิวหนังและสอดปากของมันเข้าไปในช่องที่กัดเป็นโพร่งไว้และเกาะติดกับเหยื่อที่มันจับอยู่

เห็บมักจะเกาะบริเวณพื้นผิวที่ยากต่อการมองเห็น เช่น หนังศีรษะ รักแร้และขาหนีบ

ปกติแล้ว เห็บจะต้องเกาะอยู่กับผิวหนังเป็นเวลาอย่างน้อย 36 – 48 ชั่วโมงเพื่อปล่อยเชื้อแบคทีเรีย เห็บที่โตเต็มวัยจะสังเกตเห็นได้ง่ายและคนส่วนใหญ่จะเอาออกได้เลย อย่างไรก็ตาม เห็บที่ยังไม่โตเต็มวัยตัวจะเล็กแทบจะไม่มองเห็นและอาจไม่มีใครสังเกตเห็นเลยก็ได้

Lyme Disease

การติดเชื้อจากคนสู่คนเกิดขึ้นได้หรือไม่

คำตอบคือ โรคไลม์ไม่สามารถแพร่กระจายได้:

  • จากคนสู่คน

  • จากสัตว์เลี้ยงสู่คน

  • ผ่านทางอากาศ อาหารหรือน้ํา

  • ผ่านเหา ยุง หมัดและแมลงวันก็ไม่ได้

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

มีการศึกษาวิจัยบางชิ้นที่เชื่อมโยงโรคไลม์ว่ามีผลระหว่างการตั้งครรภ์และมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ หรืออาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม การยืนยันข้อเท็จจริงนี้ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกมาก

ปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานเรื่องการแพร่เชื้อผ่านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่แพทย์อาจแนะนําคุณแม่ให้หยุดให้นมลูกในขณะที่เข้ารับการรักษาโรคไลม์

ในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดเพื่อรักษาโรคไลม์

การวินิจฉัยโรคไลม์

ผู้ที่เกิดผื่นจากการสัมผัสกับเห็บควรได้รับการรักษาพยาบาลทันที

พร้อมรับมือกับความเป็นไปได้ที่จะถูกเห็บกัด เช่น การเดินป่าที่มีเห็บอยู่ในพื้นที่

ทั้งนี้ หากถูกเห็บกัดก็ควรถ่ายภาพเอาไว้และหาข้อมูลของเห็บที่กัดทันที

โดยสิ่งที่ต้องควรระวังคือ ผู้ที่ถูกเห็บกัดแล้วไม่ได้รับการรักษาโรคไลม์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะต้นอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้นได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอีกหลายปีต่อมา

การรักษาโรคไลม์

หากถูกเห็บที่ทำให้เกิดโรคไลม์กัดโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เสี่ยงมีเห็บเหล่านี้ ให้รักษาโรคไลม์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอยืนยันว่าเป็นโรคไลม์หรือไม่

การรักษานี้เรียกว่าการรักษาป้องกันโรคที่สามารถป้องกันโรคไลม์จากการได้รับแบคทีเรียที่อยู่ในเห็บได้

ควรทำการรักษาเบื้องต้นโดยเร็วที่สุดโดยมักใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะฟื้นตัวเร็วและหายเร็วได้

การป้องกันโรคไลม์

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไลม์คือการหลีกเลี่ยงไม่ให้เห็บกัด

ต่อไปนี้เป็นวิธีป้องกัน:

  • รู้ว่าเห็บจะอยู่ที่ไหนบ้าง

  • ใช้น้ำยาหรือครีมไล่เห็บทาบนผิวหนัง ฉีดบนเสื้อผ้าและอุปกรณ์เดินป่าหรือตั้งแคมป์

  • รักษาสัตว์เลี้ยงที่มีเห็บกัด

  • ตรวจสอบอุปกรณ์ เสื้อผ้าและสัตว์เลี้ยงทั้งหมดว่ามีเห็บเกาะหรือไม่หลังจากออกไปข้างนอกแล้ว

  • อาบน้ำทันทีหลังเข้าบ้านและตรวจดูร่างกายว่ามีเห็บติดมาหรือไม่

  • ผึ่งเสื้อผ้าให้แห้งที่อุณหภูมิสูง ๆ เพื่อฆ่าเห็บ

  • ใช้บริการจำกัดเห็บและสอบถามวิธีการป้องกันเห็บไม่ให้มาอยู่ในสนามหญ้าจากผู้ให้บริการ

  • เอาเห็บออกทันทีและถูกวิธี

  • ต้องดูออกและเข้าใจอาการของโรคไลม์

ตรวจหาเห็บอย่างไร:

  • ตรวจดูใต้แขนและหลังหัวเข่า

  • ตรวจในและรอบหู

  • ในสะดือ

  • ในผมทุกซอกทุกมุม

  • ใต้หว่างขา

  • รอบเอว

วิธีการเอาเห็บออกอย่างถูกวิธี

หากเห็บติดอยู่กับผิวหนังน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เห็บจะยังไม่ปล่อยแบคทีเรียที่ทําให้เกิดโรคไลม์

สรุป

โรคไลม์อาจเกิดขึ้นได้หากเห็บขาดําแพร่เชื้อแบคทีเรียบอร์รีเลีย เบริ์กโดเฟอรี่จากการกัดเหยื่อ

ในช่วงแรกที่ถูกกัด ผู้ป่วยอาจมีผื่นเป็นดวง ๆ หรือวงกลม การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมักจะมีประสิทธิภาพ

ภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการปวดข้อสามารถเกิดขึ้นได้ในภายหลังและอาจต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไปอีก

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *