โรคไข้มาลาเรีย (Malaria) คือโรคที่ติดต่อผ่านเลือด โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะแพร่เชื้อสู่คน
ปรสิตในยุงที่แพร่เชื้อมาลาเรียอยู่ในสกุล Plasmodium คือปรสิตพลาสโมเดียมซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิดและสามารถแพร่เชื้อได้หลากหลายชนิด โดยมีความรวดเร็วและความรุนแรงของอาการแตกต่างกันในแต่ละชนิด
ปรสิตพลาสโมเดียมมี่อยู่ 5 ชนิด ที่สามารถแพร่สู่มนุษย์ได้ โดยบางชนิดก่อให้เกิดอาการของไข้มาลาเรียที่รุนแรง
เมื่อมียุงที่ติดเชื้อมาลาเรียกัดมนุษย์ ปรสิตจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนขึ้นที่ตับและติดเชื้อรวมถึงทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง
การตรวจวินิจฉัยและพบเชื้อมาเลเรียตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้รักษาและควบคุมโรคมาลาเรียได้ อย่างไรก็ตามบางปัจจุบันประเทศไทยยังขาดระบบการรักษาทางการแพทย์ที่สามารถคัดกรองโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการไข้มาลาเรีย
ทางการแพทย์แบ่งอาการไข้มาลาเรียตามความรุนแรงของโรคไข้มาลาเรียเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ไข้มาลาเรียที่ไม่รุนแรง
แพทย์จะทำการวินิจฉัยเมื่อมีอาการของไข้มาลาเรียเกิดขึ้น แต่อาการที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงและยังไม่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญในร่างกาย
ไข้มาเลเรียชนิดนี้สามารถกลายเป็นไข้มาลาเรียชนิดที่รุนแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษาหรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อาการของโรคมาลาเรียชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในเวลา 6 -10 ชั่วโมงและเกิดซ้ำทุกวันที่สอง
เนื่องจากอาการของไข้มาลาเรียคล้ายกับไข้หวัดจึงสามารถทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้
ไข้มาลาเรียชนิดที่ไม่รุนแรง อาจทำให้มีอาการดังต่อไปนี้:
- รู้สึกหนาวและตัวสั่น
- มีไข้ ปวดศีรษะและอาเจียน
- พบอาการชักในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย
- เหงื่อออกมากและเหนื่อยล้า
ในพื้นที่ที่พบโรคไข้มาลาเรียชุกชุม คนในท้องถิ่นจะรับรู้ว่าอาการนี้เป็นไข้มาลาเรียและสามารถรักษาตัวเองได้โดยไม่ไปพบแพทย์
ไข้มาลาเรียชนิดรุนแรง
ในกรณีผู้ป่วยไข้มาลาเรียชนิดรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้:
- ไข้จับสั่นและหนาวสั่น
- หมดสติ
- อาการชักหลายครั้ง
- หายใจเข้าช้า ๆ และหายใจลำบาก
- เลือดออกผิดปกติ
- มีอาการดีซ่าน
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุของไข้มาลาเรีย
ไข้มาลาเรียเกิดจากการถูกกัดด้วยยุงก้นปล่อง Anopheles เพศเมียที่เป็นสาเหตุทำให้พลาสโมเดียมเข้าสู่ร่างกาย
การที่ยุงเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมทำให้สามารถแพร่พันธุ์ได้ง่าย
เมื่อถูกยุงที่ติดเชื้อมาลาเรียกัด คนที่ได้รับเชื้อจะได้รับปรสิต และปรสิตจะไปอาศัยอยู่ในตับ
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของไข้มาลาเรียเป็นเวลาโดยเฉลี่ย 10.5 วัน แต่ในช่วงเวลานี้ปรสิตมาลาเรียกำลังเริ่มทวีจำนวนในตับจากนั้นตับจะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อและมีปรสิตเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงทำให้บางส่วนยังอยู่ที่ตับและมีเชื้อที่หมุนเวียนเข้าสู่กระแสโลหิต
จากนั้นเมื่อมียุงที่ไม่มีปรสิตไข้มาลาเรียมากัดคนที่เป็นไข้มาลาเรียก็จะได้รับเชื้อมาลาเรียและนำเชื้อโรคไปแพร่สู่คนอื่นๆต่อไปได้
การวินิจฉัยโรคไข้มาลาเรีย
การวินิจฉัยโรคโรค แต่เนิ่นๆมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาไข้มาลาเรียให้หายขาด
ผู้ที่มีอาการไข้มาลาเรียควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้วินิจฉัยด้วยการยืนยันปรสิตผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือโดยการทดสอบวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว (RDT) ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางการแพทย์
ยังไม่มีอาการใดร่วมกันที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของโรคมาลาเรียจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างมาก
การรักษาไข้มาลาเรีย
การรักษาทำโดยกำจัดพลาสโมเดียมออกจากกระแสเลือด
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการของไข้มาลาเรียจะได้รับการรักษาการติดเชื้อเช่นกับเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อมาลาเรียไปยังผู้อื่นๆ
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้การบำบัดแบบผสมผสานโดยใช้อาร์เทมิซินิน (ACT) เพื่อรักษาโรคมาลาเรียที่ไม่รุนแรง
Artemisinin สกัดจาก Artemisia annua หรือที่รู้จักกันดีว่าคือ บอระเพ็ดหวาน ช่วยลดความเข้มข้นของพลาสโมเดียมในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว
แพทย์มักจะใช้ ACT ร่วมกับยาอื่นๆ เพื่อลดปรสิตในกระแสเลือดภายในระยะเวลา 3 วันแรกของการติดเชื้อและใช้ยาตัวอื่นๆ เพื่อกำจัดปริสิตที่เหลือกระแสเลือดด้วย
แต่อย่างไรก็ตามในขณะที่ทั่วโลกใช้การรักษาแบบ ACT เพื่อรักษาไข้มาลาเรียแล้วได้ผลดี ส่งผลทำให้ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเชื้อพลาสโมเดียมเริ่มดื้อยา ACT ได้
กรณีที่เชื้อมาลาเรียดื้อต่อ ACT จำเป็นต้องใช้ยาอื่นๆร่วมด้วยเพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/malaria/symptoms-causes/syc-20351184
- https://www.cdc.gov/malaria/about/faqs.html
- https://www.nhs.uk/conditions/malaria/
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/malaria-symptoms
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก