โรคเมอร์ส (MERS Disease) คือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจที่พบครั้งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลาง เกิดจากไวรัสโคโรนา ระบาดครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบียในปีพ.ศ. 2555 ไวรัสชนิดนี้ยังแพร่ระบาดในระดับท้องถิ่นจนภึงปัจจุบัน
โรคเมอร์สเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา (MERS-CoV) เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง เชื้อไวรัสโรคเมอร์สต่างจากไวรัสของโรคโคโรนา 19 (COVID-19)
MERS-CoV มีที่มาจากสัตว์ ไวรัสนี้จึงติดจากสัตว์และแพร่กระจายมายังมนุษย์ เป็นหนึ่งในไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 3 ชนิดที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงในมนุษย์ อีก 2 ชนิด ได้แก่ :
ไวรัสโคโรนาทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV): ไวรัสนี้ทำให้เกิดอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และหายไปในปี พ.ศ. 2547
ไวรัสโคโรนาทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2): ไวรัสนี้ทำให้เกิด COVID-19 เกิดขึ้นในประเทศจีนในเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2562 และหน่วยงานด้านสุขภาพประกาศว่าการระบาดไปทั่วโลกในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563
การระบาดของโรคเมอร์สครั้งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบันเกิดขึ้นใน:
-
ซาอุดิอาราเบีย
-
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
-
เกาหลีใต้
ในปีพ.ศ. 2558 เกิดการระบาดของโรคเมอร์สนอกพื้นที่ตะวันออกกลางครั้งใหญ่ที่สุด มีผู้ป่วย 185 คนในเกาหลีใต้ และผู้ป่วย 1 คนในจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 38 คน
สาเหตุของโรคเมอร์ส
การวิจัยพบว่า MERS-CoV มีต้นกำเนิดจากค้างคาว แล้วแพร่ระบาดไปยังอูฐก่อนนำเชื้อไปยังมนุษย์
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าส่วนมากโรคเมอร์สในมนุษย์จะเกิดการสัมผัสอย่างใกล้ชิดในสถานที่กันอย่างสถานพยาบาล แต่นักวิจัยยังไม่พบว่าอูฐเกี่ยวข้องกับการแพร่ของเชื้อไวรัสนี้อย่างไร แต่พบเชื้อ MERS-CoV ในอูฐของหลายประเทศในภาคตะวันออกกลางทวีปแอฟริกา และเอเชียใต้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเมอร์ส
กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ MERS-CoV และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย คือ:
-
ผู้สูงอายุ
-
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคไต หรือมะเร็ง
-
ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่นผู้ที่กำลังรับเคมีบำบัดหรือยากดภูมิคุ้มกัน
ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเมอร์สส่วนมากมักมีอาการป่วยเรื้อรังมาก่อน
อาการของโรคเมอร์ส
โรคเมอร์สอาการที่พบบ่อยคือมีไข้ ไอ และหายใจได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน
โรคปอดบวมเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย และมีรายงานว่าอวัยวะบางอย่างจะวายเนื่องจากโรคเมอร์ส โดยเฉพาะไตวาย
โดยทั่วไปอาการของโรคเมอร์สจะปรากฏใน 5–6 วันหลังได้รับเชื้อ แต่บางรายก็ใช้เวลา 2–14 วันในการปรากฎอาการ ผู้ป่วยบางคนอาจแพร่เชื้อโดยมีอาการป่วยใด ๆ แต่บางคนก็อาจพบโรคเมอร์สเพียงเล็กน้อย
ผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
การรักษาโรคเมอร์ส
แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับอาการและกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วยรวมถึงการเดินทาง
การตรวจหาการเชื้อ MERS-CoV แพทย์จะเก็บตัวอย่างจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยแล้วนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติ เพื่อทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสที่ยืนยันการมีอยู่ของไวรัสได้
นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นเคยติดเชื้อ MERS-CoV มาก่อนหรือไม่ ด้วยการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัส
องค์การอนามัยโลกระบุว่ายังไม่มียารักษาหรือวัคซีนสำหรับโรคเมอร์สโดยเฉพาะ ทั้งวัคซีนและยารักษาอยู่ระหว่างการพัฒนา
แพทย์จะรักษาด้วยการบรรเทาอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน ผู้ที่มีอาการรุนแรงต้องได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน เข้ารับการรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนักและใช้เครื่องช่วยหายใจพยุงอาการ
การป้องกันโรคเมอร์ส
ขอแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ MERS-CoV :
-
หมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำ นานครั้งละไม่น้อยกว่า 20 วินาที
-
หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกและอาหารที่ปรุงในสภาพที่ไม่ถูกสุขอนามัย
-
ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด
-
รายงานกรณีต้องสงสัยต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
-
ลดการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ผู้ที่เป็นไข้
-
สวมหน้ากากอนามัย
-
จามใส่แขนเสื้อด้วยการงอข้อศอกปิด หรือใช้ทิชชู่ปิดปากแล้วทิ้งทันที
รีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเจ็บป่วยทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้ภายใน 14 วันหลังกลับจากการเดินทาง MERS-CoV เป็นโรคติดต่อ แต่ไวรัสจะไม่แพร่ระบาดหากมนุษย์ไม่ได้สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด
องค์การอนามัยโลกระบุว่าการบริโภคเนื้อและนมอูฐที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ การปรุงสุก หรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ยังดิ เมื่อไปยังฟาร์มเลี้ยงหรือตลาดที่อูฐจำหน่ายให้ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสเนื้อสัตว์ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่มีอากาศป่วย
กรณีผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไต หรือโรคปอดเรื้อรังต้องออกเกินทางไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ ให้เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
สรุปภาพรวมโรคเมอร์ส
โรคเมอร์สและโควิด-19 เป็นโรคทางเดินหายใจที่แตกต่างกัน เกิดจากไวรัสในตระกูล coronavirus แต่คนละสายพันธุ์กัน โควิด-19 เกิดไวรัส SARS-CoV-2
นักวิจัยเชื่อว่าทั้ง MERS-CoV และ SARS-CoV-2 มีต้นกำเนิดจากค้างคาว นักวิทยาศาสตร์ยังหาหลักฐานว่าเชื้อถ่ายทอดไปสู่มนุษย์ได้อย่างไร
โควิด-19 มีอาการของโรคคล้ายโรคเมอร์ส แต่อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โดยโควิด-19 มีอัตราการเสียชีวิต 2.3% ส่วนโรคเมอร์สมีอัตราการเสียชีวิต 35%
แม้ว่าโควิด -19 มีความรุนแรงของอาการน้อยกว่าโรคเมอร์สและโรคซาร์ส แต่กลับสามารถแพร่กระจายในชุมชนได้ง่ายกว่า ทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว
ช่วงอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคโควิด-19 ใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคเมอร์สและโรคซาร์สคืออายุ 49–57 ปี
ภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 เกิดขึ้นใกล้เคียงกับโรคซาร์ส แต่พบได้น้อยกว่าภาวะแทรกซ้อนของโรคเมอร์ส
สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติกำลังวิจัยเกี่ยวกับโรคซาร์สและโรคเมอร์สเพื่อหาแนวทางรักษาโควิด -19
โรคเมอร์สคือโรคทางเดินหายใจรุนแรงที่เกิดจาก MERS-CoV ซึ่งเป็น coronavirus ทำให้เป็นไข้ ไอและหายใจถี่ ทาง WHO ยังไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการทำธุรกรรมใด ๆ เพื่อเฝ้าระวังโรคเมอร์ส เป็นโรคที่องค์กรยังคงติดตาม และวัคซีนอยู่
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก