

สิวข้าวสาร (Milia) มีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร บางครั้งอาจปรากฏที่ลำตัวส่วนบน ลำตัว อวัยวะเพศ และเยื่อเมือก ในบางครั้งอาจมีอยู่ในปากของเด็กทารกเรียกว่า Epstein pearls
แม้ว่าสิวข้าวสารอาจเป็นสิ่งที่น่าตกใจสำหรับพ่อแม่มือใหม่ แต่ก็เป็นเรื่องปกติและโดยทั่วไปแล้วไม่มีอะไรต้องกังวล
สิวข้าวสารคืออะไร
สิวข้าวสาร (Milia) เกิดจากผลของโปรตีนในผิวหนัง เรียกว่า เคอราติน ที่ถูกกักเก็บไว้ในผิวหนัง มันจะปรากฏเป็นตุ่มเล็กๆสีขาวหรือสีเหลืองบนผิวหนัง
เด็กแรกเกิดอาจเกิดการพัฒนาสภาวะดังกล่าวขึ้นอยู่กับการพัฒนาของต่อมไขมันและการขาดการผลัดเซลล์ผิวตามปกติ สภาวะดังกล่าวมักจะหายไปเองภายในหนึ่งเดือน ในบางรายอาจจะคงอยู่ไปจนกว่าเด็กอายุ 3 เดือน
สิวข้าวสารมี 2 ชนิด:
- สิวข้าวสารปฐมภูมิ (Primary milia) – เป็นภาวะที่เกิดในผู้ที่มีผิวดูสุขภาพดีและปกติ
- สิวข้าวสารทุติยภูมิ (Secondary milia) – เป็นภาวะที่เกิดในผู้ที่มีสภาพผิวอื่นๆ
สิวข้าวสารไม่ได้ส่งผลกับเด็กแรกเกิดและทารกเพียงอย่างเดียว สิวข้าวสารในรูปแบบอื่นสามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้
ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
สิวข้าวสารปฐมภูมิมักเกิดในเด็กแรกเกิดกว่าครึ่ง ภาวะนี้โดยส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นปัญหาทางการแพทย์
พ่อแม่ควรพูดคุยกับกุมารแพทย์หากอาการสร้างความกังวล หรือเพื่อยืนยันว่าภาวะนี้เป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้
อาการของสิวข้าวสาร
สิวข้าวสารปฐมภูมิในเด็กทารกส่วนใหญ่ตุ่มมีขนาด 1-2 มิลลิเมตรรอบจมูก, ดวงตา, แก้ม, คาง และหน้าผาก นอกจากนี้ยังปรากฏบนลำตัว แขน ขา อวัยวะเพศ และเยื่อเมือก สิวข้าวสารสามารถสองเห็นได้ในช่องปากของทารกเป็นครั้งคราว เรียกว่า Epstein pearls บางครั้งสิวข้าวสารสามารถปรากฏร่วมกับภาวะอื่นของผิวหนัง เช่น สิวในเด็ก
ในกลุ่มอายุอื่น สิวข้าวสารเกิดในลักษณะที่คล้ายกับสภาพผิวอื่นๆซึ่งรวมไปถึงไฝและมะเร็ง เช่นเดียวกับสิ่งต่อไปนี้:
- ซีสต์ – ก้อนที่เต็มไปด้วยของเหลว
- สิวอุดตัน – ผดสีผิวที่เห็นในสิว
- ปื้นสีเหลืองบริเวณดวงตา (Xanthelasma) – เป็นรอยโรคที่มีการสะสมของไขมันภายในเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งบางครั้งเกี่ยวข้องกับระดับคอเลสเตอรอลที่สูง
- สิวหิน (Syringomas) – เนื้องอกในต่อมเหงื่อ.
- กระเนื้อ (Seborrheic keratosis) – จุดหูดที่มักเกี่ยวข้องกับอายุ
การวินิจฉัยและการรักษาสิวข้าวสาร
กุมารแพทย์สามารถวินิจฉัยสิวข้าวสารโดยการตรวจร่างกาย และไม่มีการส่งตรวจสำหรับภาวะนี้
ส่วนใหญ่ สิวข้าวสารจะหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป ในบางรายแพทย์จะแนะนำให้รักษา ในบางกรณีอาจแนะนำให้ทำการตรวจชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อบอกความแตกต่างระหว่างสิวข้าวสารและสภาพผิวที่อันตราย
การดูแลผิวตามปกติสำหรับเด็กทารกได้แก่ การล้างหน้าทุกวันด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อนโยนสำหรับเด็กทารก ซับผิวให้แห้ง และเลี่ยงการใช้โลชันหรือน้ำมัน
คำแนะนำโดยทั่วไปคือการปล่อยให้ตุ่มสิวข้าวสารไว้อย่างนั้น ไม่ต้องไปบีบหรือทำอะไร เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
ผู้ปกครองควรปรึกษากุมารแพทย์หากมีข้อกังวลใดๆเกี่ยวกับผิวของบุตร การเกิดผื่น หรือคำถามอื่นๆ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับสิวข้าวสาร
- สิวข้าวสารมักพบในเด็กแรกเกิด ซึ่งส่งผลกระทบมากถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย
- สิวข้าวสารจะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ในเด็กแรกเกิด
- สิวข้าวสารสามารถเกิดในผู้ใหญ่บางราย หลังได้รับการบาดเจ็บ หรือรับประทานยาบางอย่าง
- ในกลุ่มอายุที่มากขึ้น สิวข้าวสารอาจมีลักษณะคล้ายกับสภาพผิวอื่นๆ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/milia
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/milia/symptoms-causes/syc-20375073
- https://health.clevelandclinic.org/does-babys-skin-have-tiny-white-bumps-leave-them-alone/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK560481/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก