โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

09.05
933
0

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรค MS คือโรคเรื้อรังที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะบริเวณสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และยังไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบจากอาการล่วงหน้าได้ จึงต้องติดตามอาการผู้ป่วยแต่ละคนอย่างใกล้ชิด

บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ตาพร่ามัว อาการชาและเสียวซ่าบริเวณแขน ขา กรณีอาการรุนแรงอาจมีอาการอัมพาต สูญเสียการมองเห็น และเคลื่อนไหวลำบาก แต่เป็นลักษณะอาการที่พบได้ยาก

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าถึงสาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง แต่พบว่าโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) เพราะระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าโจมตีเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดี เสมือนเป็นไวรัส หรือแบคทีเรีย โดยระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าโจมตีปลอกไมอีลินที่ล้อมรอบ และปกป้องเส้นใยประสาทจนทำให้เกิดการอักเสบ ไมอีลินยังช่วยให้เส้นประสาทส่งสัญญาณไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคือ “การที่เนื้อเยื่อเกิดรอยแผลในหลาย ๆ บริเวณของร่างกาย” เมื่อปลอกไมอีลินถูกทำลายหรือเสียหาย ก้จะทำให้เกิดรอยแผล หรือเส้นโลหิตตีบได้ แพทย์ยังเรียกบริเวณที่เกิดปัญหาเหล่านี้ว่ารอยของโรค ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อ:

  • ก้านสมอง
  • สมองส่วนซีรีเบลลัมที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวและสมดุลของร่างกาย
  • ไขสันหลัง
  • เส้นประสาทตา
  • สารสีขาวในสมองบางส่วน

หากรอยโรคพัฒนามากขึ้น ใยประสาทอาจแตกหรือเสียหายได้ ทำให้แรงกระตุ้นไฟฟ้าจากสมองที่มีผลต่อเส้นประสาทไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายบางส่วนไม่สามารถทำงานได้

ประเภทของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมี 4 ประเภท:

  • Clinically isolated syndrome(CIS): เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันภายใน 24 ชั่วโมง
  • Relapse-remitting MS (RRMS): เป็นรูปแบบของโรคที่พบได้บ่อยที่สุด เกี่ยวข้องกับอาการที่เป็นซ้ำ หรือเกิดอาการเพิ่มเติมเป็นบางช่วง สลับกับช่วงที่อาการดีขึ้น
  • Primary Progressive MS (PPMS): อาการมักทรุดลงเรื่อย ๆ โดยไม่มีช่วงที่อาการดีขึ้นเลย บางคนอาจมีอาการคงที่ แต่มีช่วงที่อาการแย่ลงและดีขึ้นสลับกัน
  • Secondary progressive MS (SPMS): ช่วงแรกผู้ป่วยจะเกิดอาการ ก่อนจะทุเลาลง แต่หลังจากนั้นโรคจะมีอาการยาวนานและต่อเนื่องมากขึ้น

สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้ชัดเจน แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ :

อายุ: ส่วนมากพบอาการของโรคในผู้ป่วยอายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี

เพศ: โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งส่วนมากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2 เท่า

พันธุกรรม: ความอ่อนแอทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดผ่านยีน นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่ออีกว่าปัจจัยกระตุ้นด้านสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และอาการของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมักมีอาการของโรคในลักษณะเฉพาะ

การสูบบุหรี่: ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โดยผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มักมีรอยโรคและความผิดปกติของสมองมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

การติดเชื้อ: การติดเชื้อไวรัสอย่าง Epstein-Barr virus (EBV) หรือ mononucleosis อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้ แต่ยังไม่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจน ไวรัสอื่น ๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ herpes virus type 6 (HHV6) และเชื้อมัยโคพลาสมาที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม

การขาดวิตามินดี: โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งพบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับแสงแดดน้อย ซึ่งร่างกายใช้เพื่อสร้างวิตามินดี ผู้เชี่ยวชาญบางคนจึงคาดการณ์ว่าวิตามินดีที่น้อยเกินไปจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้

การขาดวิตามินบี 12: ร่างกายใช้วิตามินบีในการสร้างไมอีลิน การขาดวิตามินชนิดนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางระบบประสาทอย่างโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน

Multiple Sclerosis

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

เนื่องจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งควบคุมการทำานทั้งหมดของร่างกาย อาการจึงสามารถเกิดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่พบได้บ่อยที่สุด คือ:

กล้ามเนื้ออ่อนแรง: ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถใช้งานได้ หรือไม่ได้รับแรงกระตุ้น เมื่อเส้นประสาทถูกทำลาย

อาการชาและการรู้สึกเสียวซ่า: ความรู้สึกเจ็บแปลบ และเจ็บเหมือนถูกเข็มทิ่มเป็นอาการระยะแรกของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่ส่งผลต่อใบหน้า ลำตัว หรือแขน และขา

สัญลักษณ์ของ Lhermitte: บุคคลอาจรู้สึกเหมือนไฟฟ้าช็อตเมื่อขยับคอ หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ Lhermitte

ปัญหาที่กระเพาะปัสสาวะ: ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาในขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ หรือเกิดอาการปัสสาวะถี่ หรือกะทันหัน (เกิดภาวะที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้)  การสูญเสียความสามารถในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ปัญหาการทำงานของลำไส้: อาการท้องผูกอาจทำให้อุจจาระไม่ออก หรืออาจทำให้เกิดภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้

ความเหนื่อยล้า: เป็นอาการที่ทำลายความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่ทำงาน หรือที่บ้าน 

อาการวิงเวียน และเวียนหัว: เป็นอาการที่พบได้บ่อย และมักเกิดร่วมกับปัญหาด้านความสมดุลและการประสานงานของร่างกาย

ความผิดปกติทางเพศสัมพันธ์: ทั้งชายและหญิงอาจหมดความสนใจในเรื่องทางเพศได้

อาการเกร็งและกระตุกของกล้ามเนื้อ: เกิดจากเส้นใยประสาทในไขสันหลัง และสมองเสียหาย ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก และเจ็บปวดโดยเฉพาะที่ขา

อาการสั่น: ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจมีอาการสั่นที่ควบคุมไม่ได้

ปัญหาด้านการมองเห็น: ผู้ป่วยอาจมีอาการตาพร่ามัว สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือทั้งหมด หรือเกิดอาการตาบอดสี โดยเกิดอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง การอักเสบของเส้นประสาทตาอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวดวงตา ปัญหาด้านการมองเห็นเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

การเกิดปัญหาในการเดินและเคลื่อนไหว: โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจส่งผลต่อการเดินของผู้ป่วยได้ เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแอ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว อาการเวียนศีรษะและความเหนื่อยล้าของร่างกาย

อารมณ์เปลี่ยนแปลงและมีภาวะซึมเศร้า: การเสื่อมและความเสียหายของเส้นใยประสาทในสมองสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้

ปัญหาการเรียนรู้และความจำ: ผู้ป่วยมักทำสมาธิ วางแผนการเรียนรู้ จัดลำดับความสำคัญ และทำงานหลายอย่างพร้อม ๆ กันได้ยากขึ้น

อาการปวด: อาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปวดตามระบบประสาทเป็นผลกระทบจากโรคนี้โดยตรง อาการปวดบริเวณอื่น ๆ เกิดจากความอ่อนแอ หรือความตึงของกล้ามเนื้อ

อาการที่พบได้น้อย ได้แก่ :

  • ปวดหัว
  • สูญเสียการได้ยิน
  • อาการคัน
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือการหายใจ
  • อาการชัก
  • ความผิดปกติในการพูด
  • ปัญหาการกลืน

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะ:

  • เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ไม่สามารถทำกิจกรรม และสูญเสียความคล่องตัว

สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการทำงาน และใช้ชีวิตของผู้ป่วย

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีผลต่อผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนอาจเริ่มจากอาการเพียงเล็กน้อย และอาการอาจหายไปเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี บางรายอาจมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือน

มีเพียงบางคนที่มีอาการเพียงเล็กน้อย และบางคนอื่นอาจมีอาการรุนแรงจนเกิดความพิการได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีช่วงเวลาที่อาการแย่ลงสลับกับดีขึ้นได้

การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ไม่มีวิธีรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งโดยเฉพาะ แต่มีการรักษาที่สามารถ:

  • ชะลอการลุกลาม ลดปริมาณและความรุนแรงของโรค
  • บรรเทาอาการ

บางคนยังใช้วิธีการรักษาเสริม และทางเลือกอื่น ๆ ด้วย แต่ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันถึงประโยชน์ของวิธีการรักษาเหล่านี้

การใช้ยาเพื่อชะลออาการ

การบำบัดเพื่อบรรเทาอาการของโรคหลายอย่าง (DMTs) ใช้เพื่อบรรเทาอาการกำเริบของโรค โดยปรับวิธีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แพทย์อาจให้ยาทั้งทางปาก หรือโดยการฉีดเข้าร่างกาย หรือฉีดยาเข้าเส้นเลือด

แนวทางปัจจุบันแนะนำให้ใช้ยาเหล่าตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการ เนื่องจากมีโอกาสที่จะชะลอการลุกลามของโรคได้ดี โดยเฉพาะเมื่อเริ่มยาตั้งแต่ที่ยังไม่มีอาการรุนแรง

ยาบางชนิดมีประโยชน์ในระยะเฉพาะ ตัวอย่างเช่นยา mitoxantrone ใช้รักษาเมื่อโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอาการรุนแรงมากขึ้น แพทย์จะตรวจติดตามว่ายาทำงานได้ดีหรือไม่ เพราะอาจมีผลเสีย และยาบางชนิดอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางคน

ผลข้างเคียงของยา อย่างกรณีของยากดภูมิคุ้มกัน จะส่งผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ยาบางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อตับ หากผู้ป่วยสังเกตเห็นผลข้างเคียงของยา หรือพบว่าตนเองมีอาการแย่ลงควรรับแจ้งแพทย์ทันที

ยาบรรเทาอาการเฉพาะช่วงที่มีอาการกำเริบ

ยาบางชนิดใช้เพื่อบรรเทาอาการเมื่อผู้ป่วยมีอาการแย่ลงเป็นระยะ ๆ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ตลอดเวลา

คอร์ติโคสเตียรอยด์: ช่วยลดการอักเสบและยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน ใช้รักษาอาการแบบเฉียบพลันในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ตัวอย่างเช่น Solu-Medrol (methylprednisolone) และ Deltasone (prednisone) สเตียรอยด์อาจมีผลเสียหากใช้บ่อยเกินไป และไม่เกิดประโยชน์ในระยะยาว

การปรับพฤติกรรม: หากผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมอง แพทย์อาจแนะนำให้พักสายตาเป็นระยะ ๆ หรือควบคุมระยะเวลาที่อยู่หน้าจอ ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจต้องฝึกพักผ่อนเมื่อเกิดความเหนื่อยล้า และเร่งมือเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ลุล่วงได้

ปัญหาการเคลื่อนไหวและการทรงตัว: กายภาพบำบัดและอุปกรณ์ช่วยเดิน อย่างไม้เท้าสามารถช่วยได้ ยา dalfampridine (Ampyra) ก็ใช้เพื่อการรักษาได้

อาการสั่น: บุคคลอาจใช้อุปกรณ์ช่วยเพื่อลดการสั่น หรือยาลดอาการสั่น

ความเหนื่อยล้า: การพักผ่อนให้เพียงพอ และกิจกรรมบางอย่างสามารถช่วยได้ การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น

ความเจ็บปวด: แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อป้องกันการชัก แก้ไข้ หรือบรรเทาอาการปวด

ปัญหาการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้: ยาและการปรับอาหารช่วยแก้ไขได้

อาการซึมเศร้า: แพทย์อาจใช้ยาเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *