มะเร็งโพรงจมูก (Nasopharyngeal Cancer) คือ เนื้องอกมะเร็งที่พัฒนาในช่องจมูก บริเวณที่ส่วนหลังของจมูกเปิดเข้าไปในลำคอช่วงบน และเป็นจุดที่ท่อจากหูของเปิดเข้าไปในลำคอเช่นกัน
อาการมะเร็งโพรงจมูก
ผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกมักเข้าใจผิดว่าเกิดจากอาการอื่น ๆ ได้ง่าย อาจสังเกตเห็นก้อนที่คอ เริ่มมีปัญหาในการได้ยินในหูข้างเดียว และมีเลือดกำเดาไหล รวมทั้งปวดศีรษะ ตาพร่ามัว สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกด้านหนึ่งของใบหน้า และอาจทำให้มีปัญหาของการพูดและหายใจ
สาเหตุของมะเร็งโพรงจมูก
สาเหตุที่แน่ชัดนั้นยังไม่มีการค้นพบ แต่โดยส่วนใหญ่จะพบในคนที่อายุ 30- 50 ปี และผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งโพรงจมูกมากกว่าผู้หญิง
การวินิจฉัยมะเร็งโพรงจมูก
การวินิจฉัยของแพทย์จะทำโดยใช้การส่องกล้องเพื่อตรวจดูมะเร็ง ด้วยการสอดใส่ท่อบาง ๆ ที่มีกล้องขนาดเล็กมากเข้าไปที่ปลายจมูกของ ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจดูเนื้องอกมะเร็งได้อย่างใกล้ชิด
ในระหว่างการส่องกล้องแพทย์ จะนำชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ออกจากเนื้องอก เพื่อนำชิ้นเนื้อนั้นไปตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์
จากนั้นจะมีการส่งผู้ป่วยไปตรวจ MRI (การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก) MRI นี้จะทำให้แพทย์เห็นขนาดของเนื้องอก
การหลีกเลี่ยงและป้องกันมะเร็งโพรงจมูก
การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง (เช่น ปลา ไข่ ผักใบและรากพืช) รวมถึงไวรัส Epstein-Barr อาจทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งโพรงจมูก นี่คือไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิด mononucleosis ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ (เรียกอีกอย่างว่า “mono”) และความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งโพรงจมูกจะเพิ่มสูงขึ้น หากมีคนอื่นๆ ในครอบครัวของผู้ป่วยเป็นโรคนี้
และโอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นมากอีกเมื่อต้นตระกูลของครอบครัวมาจากทางตอนใต้ของจีนโดยเฉพาะกวางโจว หรือฮ่องกง หรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นลาว เวียดนาม กัมพูชา หรือไทย
การรักษามะเร็งโพรงจมูก
โรคมะเร็งโพรงจมูกสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่ตรวจพบรอยโรคในระยะเริ่มแรก นั่นหมายความว่า ยิ่งรู้ตัวว่าป่วยเร็วเท่าไร โอกาสในการรักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกให้หายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแนวทางการรักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกมีดังนี้
- การฉายรังสี เนื่องจากบริเวณหลังโพรงจมูกเป็นตำแหน่งที่ยากต่อการผ่าตัด ดังนั้น การรักษาหลักๆ จึงเป็นการฉายรังสี โดยการฉายรังสีเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงจมูก ระยะที่ 1 พบผลการรักษาที่น่าพอใจ เพราะช่วยควบคุมโรคเฉพาะที่ได้กว่า 90% นั่นหมายความว่ามีโอกาสตัดเซลล์มะเร็งทิ้งไปได้เกือบทั้งหมด
- การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงจมูกในระยะที่ 2 ขึ้นไป แพทย์อาจต้องใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีควบคู่กันเพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น
- การผ่าตัด ในกรณีที่สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งโพรงจมูกได้แล้ว แต่ยังคงมีก้อนที่คออยู่ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีมะเร็งเกิดซ้ำหรือหลงเหลือเซลล์มะเร็งในบริเวณที่จำกัด กรณีแบบนี้จะสามารถทำการผ่าตัดรักษาได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปถึงการวินิจฉัยและการพิจารณาแนวทางการรักษาจากแพทย์ด้วย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nasopharyngeal-carcinoma/symptoms-causes/syc-20375529
- https://www.nhs.uk/conditions/nasopharyngeal-cancer/
- https://www.webmd.com/cancer/nasopharyngeal-cancer
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก