โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือ OA เกิดจากการอักเสบภายในข้อต่อ ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียกระดูกข้อต่อหรือการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนข้อต่อ มีผลทำให้เรารู้สึกปวดตามข้อเข่าและเดินลำบาก
OA เป็นโรคที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป
โรคนี้ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด จะทำได้เพียงการบำบัดความเจ็บปวด หรือบรรเทาอาการบวมที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและเคลื่อนไหวไปมาได้
อาการของโรคข้อเสื่อม
OA ทำให้มีอาการปวดและตึงในข้อต่อ
ผู้ป่วยในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ โดยอาจค่อยๆ มีอาการปรากฏขึ้นในข้อต่ออย่างน้อย 1 ข้อ
คนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มักจะมีอาการเหล่านี้รวมอยู่ด้วย:
- ปวดและตึงมากขึ้นหลังจากขยับข้อไม่ได้มาระยะหนึ่ง
- บวม
- เคลื่อนไหวลำบากซึ่งเป็นผลกระทบมาจากข้อต่อที่มีอาการ
- รู้สึกร้อน และนุ่มนิ่มในบริเวณรอบๆข้อต่อ
- สูญเสียมวลกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ a loss of muscle bulk
- เกิดเสียงเสียดสี หรือเสียงกรอบแกรบในข้อต่อ
หากโรคข้อเสื่อมยังเป็นต่อไปจะมีผลดังนี้:
- เยื่อบุข้อต่ออักเสบ (synovitis) — เริ่มมีการอักเสบของเยื่อบุข้อบริเวณรอบๆ ข้อต่อ
- กระดูกอ่อนถูกทำลายและเสื่อมลง
- กระดูกรอบๆ ขอบของข้อต่อโตขึ้น
สาเหตุของโรคข้อเสื่อม
แพทย์ไม่สามารถบอกสาเหตุที่แท้จริง ของ OA ได้ แต่สันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อข้อต่อได้ตามอย่างที่ควรจะเป็น
โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด OA. คนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมอย่างนี้ จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ในช่วงวัยที่ต่ำกว่า 20 ปี
การบาดเจ็บและการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป
การได้รับบาดเจ็บ การผ่าตัด หรือ การใช้งานข้อต่อมากที่เกินไป อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้ทัน ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้
สาเหตุจากใช้งานมากเกินไปหรือการบาดเจ็บซ้ำๆ อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือการเล่นกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวซ้ำๆ
การรักษาโรคข้อเสื่อม
แม้จะไม่มีวิธีการรักษาใดที่พอจะฟื้นฟู หรือแก้ไขความเสียหายของข้อเข่าให้กลับคืนมาเป็นปกติได้ แต่ยังพอมีทางที่จะบรรเทาและทำให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าที่เสื่อมนั้นได้ เช่น การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด การปรับเปลี่ยนวิถีขีวิต และการใช้ยา
การใช้ยารักษา
ยาที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้
อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ ไทลินอล (Tylenol)
ยานี้จะใช้ได้ผลกับผู้ที่มีอาการปวดไม่มากนัก ควรรับประทานตามที่แพทย์สั่ง หากรับประทานยามากเกินอาจจะมีผลข้างเคียง หรือเกิดปฏิกริยากับยาตัวอื่นได้
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs)
หากยา อะเซตามินโนเฟน หรือ ไทลีนอล ไม่สามารถระงับอาการปวดได้ แพทย์อาจให้ยาที่ออกฤทธิ์แรงขึ้น เช่น ไอบลูโพรเฟน แอสไพริน หรือ ไดโคลฟีแนค เป็นต้น
ซึ่งยาเหล่านี้สามารถรับประทาน หรือใช้ทาโดยตรงในบริเวณข้อต่อได้
Capsaicin cream
ยาชนิดนี้เป็นยาใช้ทาเฉพาะที่ ซึ่งมีสารประกอบที่ทำมากจากพริก ฤทธิ์ของยาจะทำให้เกิดอาการร้อนในบริเวณที่ทา และจะไปลดสาร P (สาร P เป็นสารที่สร้างความเจ็บปวด) ซึ่งจะสามารถบรรเทาความเจ็บปวดลงได้
อาจต้องใช้ยาต่อเนื่องประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อการรักษาที่เห็นผลอย่างเต็มที่
ห้ามทายาบนบริเวณที่แตกและอักเสบ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาและใบหน้า รวมถึงอวัยวะเพศ หลังจากใช้ยานี้
การฉีดคอร์ติโซน (Intra-articular cortisone injections)
การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ เข้าไปในข้อโดยตรงสามารถลดอาการปวดอย่างรุนแรง บวม และการอักเสบได้ แต่หากฉีดบ่อยๆ จะมีผลเสียต่อข้อต่อ และทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
ยาดูล็อกซิทีน (Duloxetine) หรือ Cymbalta เป็นยาใช้รับประทานที่ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดกระดูกรื้อรัง
กายภาพบำบัด (Physical therapy)
อาจช่วยบำบัดอาการนี้ด้วยการทำกายภาพบำบัดได้หลายวิธี เช่น:
การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า: กระตุ้นผ่านผิวหนัง วิธีการคือใช้เครื่องยิงอิเล็คโทรดผ่านตัวส่งที่เรียกว่า TENS (ซึ่งเป็นเหมือมปุ่มเล็กๆ ที่แปะติดไว้บนผิวส่วนที่มีอาการ) จากนั้นเครื่องจะยิงอิเลคโทรดผ่านปุ่มนี้เข้าไปกระตุ้นระบบประสาทให้ส่งสัญญาณความเจ็บปวดได้น้อยลง มีผลให้การลดความรู้สึกเจ็บปวด
การบำบัดด้วยความร้อน: ความร้อนและความเย็นอาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดอาการตึงในข้อ ทำได้โดยการใช้ขวดน้ำร้อนหรือถุงน้ำแข็งห่อด้วยผ้าขนหนูแล้วนำไปประคบบนข้อที่มีอาการ
การบำบัดด้วยตัวเอง: ผู้ที่จะทำการบำบัดด้วยตัวเองได้อาจจะต้องเป็นนักกายภาพบำบัด โดยการทำให้ข้อต่อที่มีอาการไม่แข็งเกร็ง และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
การผ่าตัด (Surgery)
ผู้ป่วยบางคนอาจต้องได้รับการผ่าตัดหาก OA ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสะโพก เข่า ข้อต่อ หรือโคนนิ้วหัวแม่มือ
โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด หากรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือข้อต่อได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osteoarthritis/symptoms-causes/syc-20351925
- https://www.nhs.uk/conditions/osteoarthritis/
- https://www.healthline.com/health/osteoarthritis
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก