กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis) เป็นภาวะของการติดเชื้อและการอักเสบของกระดูกหรือไขกระดูก โดยอาจเกิดขึ้นได้หากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเข้าสู่เนื้อเยื่อกระดูกจากกระแสเลือดจากการได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัด
ราว 80 เปอร์เซ็นต์ของกระดูกอักเสบเกิดขึ้นจากแผลเปิด โดยมีอาการต่าง ๆ ได้แก่ อาการปวดลึกเข้ากระดูกและมีกล้ามเนื้อกระตุกในบริเวณที่อักเสบและมีไข้
การติดเชื้อในกระดูกมักส่งผลต่อกระดูกยาวที่ขาและต้นแขน กระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกราน สมัยก่อน การรักษาโรคกระดูกอักเสบเป็นเรื่องยาก แต่ปัจจุบันการรักษาเชิงรุกมักช่วยรักษากระดูกที่ติดเชื้อและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อได้
คาดกันว่า ราว 2 คนในทุก ๆ 10,000 คนในสหรัฐฯ เป็นโรคกระดูกอักเสบ
การรักษาโรคกระดูกอักเสบ
การรักษาโรคกระดูกอักเสบขึ้นอยู่กับชนิดของการอักเสบของกระดู
กระดูกอักเสบเฉียบพลัน
กระดูกอักเสบเฉียบพลันจะเกิดการติดเชื้อขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับบาดเจ็บ การติดเชื้อครั้งแรกหรือจากโรคที่มีมาก่อนหน้า โดยอาจทำให้อาการเจ็บปวดรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรามักใช้ได้ผลดี สำหรับผู้ใหญ่มักจะฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำนานประมาณ 4-6 สัปดาห์หรือบางครั้งก็ให้ทาน ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อราก็ได้ ผู้ป่วยบางรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในขณะที่บางรายอาจได้รับการฉีดยาในฐานะผู้ป่วยนอกหรือทำเองได้ที่บ้านหากสามารถฉีดเองได้
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยาปฏิชีวนะ ได้แก่ มีอาการท้องร่วง อาเจียนและคลื่นไส้ บางครั้งอาจมีอาการแพ้ร่วมด้วย
หากการติดเชื้อเกิดจากยาปฏิชีวนะในกลุ่มเมธิซิลิน (MRSA) หรือแบคทีเรียดื้อยาอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษานานขึ้นและใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน
ในบางกรณี อาจแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบไฮเปอร์บาริก (HBOT)
โรคกระดูกอักเสบจากการติดเชื้อชนิดกึ่งเฉียบพลัน
ในโรคกระดูกอักเสบจากการติดเชื้อชนิดกึ่งเฉียบพลัน การติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1–2 เดือนหลังจากได้รับบาดเจ็บ การติดเชื้อครั้งแรกหรือเกิดจากโรคที่มีอยู่ก่อนหน้า
การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความเสียหายของกระดูก
หากกระดูกไม่เสียหาย การรักษาจะคล้ายกับการรักษาที่ใช้ในโรคกระดูกอักเสบเฉียบพลัน แต่หากกระดูกเกิดความเสียหาย การรักษาจะคล้ายกับที่ใช้ในโรคกระดูกอักเสบเรื้อรัง
โรคกระดูกอักเสบเรื้อรัง
ในโรคกระดูกอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อจะเริ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เดือนหลังจากได้รับบาดเจ็บ เกิดการติดเชื้อครั้งแรกหรือเริ่มเกิดอาการของโรคที่มีมาก่อนหน้า
ผู้ป่วยมักต้องใช้ยาปฏิชีวนะและการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมความเสียหายของกระดูก
การผ่าตัดอาจรวมถึง:
- การระบายสารคัดหลั่ง: บริเวณรอบ ๆ กระดูกที่ติดเชื้ออาจต้องผ่าเพื่อระบายหนองหรือของเหลวที่ก่อตัวขึ้นแล้วทำให้เกิดการติดเชื้อ
- การตัดเล็มเนื้อตายของบาดแผล: ศัลยแพทย์จะเอากระดูกที่เป็นโรคออกให้มากที่สุดและเล็มเข้าไปในกระดูกที่ดีอีกเล็กน้อยเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกที่ติดเชื้อหลงเหลืออยู่ เนื้อเยื่อรอบ ๆ ที่มีอาการแสดงของการติดเชื้ออาจจำเป็นต้องตัดออก
- ฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดไปที่กระดูก: พื้นที่ว่างจากการตัดเล็มอาจต้องเติมเนื้อเยื่อกระดูก หรือผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อจากส่วนอื่นของร่างกายเข้าไป นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ฟิลเลอร์ชั่วคราวได้จนกว่าผู้ป่วยจะมีสุขภาพดีเพียงพอที่จะทำการปลูกถ่ายกระดูกหรือเนื้อเยื่อ การปลูกถ่ายอวัยวะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหายและจะสร้างกระดูกใหม่
- การกำจัดสิ่งแปลกปลอม: หากจำเป็น แพทย์อาจนำเอาอุปกรณ์ที่ใส่ไว้ในระหว่างการผ่าตัดครั้งก่อนหน้าออก เช่น แผ่นผ่าตัดหรือสกรู
- ทำให้กระดูกที่ได้รับผลกระทบมีเสถียรภาพ: แพทย์อาจใส่แผ่นโลหะแท่งหรือสกรูเข้าไปในกระดูกเพื่อทำให้กระดูกที่เกิดโรคคงที่และใช้ได้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อาจทำเสริมได้ในภายหลัง บางครั้ง มีการใช้เครื่องมือซ่อมแซมภายนอกเพื่อทำให้กระดูกที่ได้รับผลกระทบคงที่
หากผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดได้ เช่น เกิดจากความเจ็บป่วย เป็นต้น แพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะนานขึ้น หรืออาจนานเป็นปีเพื่อระงับการติดเชื้อหากยังเกิดการติดเชื้อแบบไม่หยุดอาจจำเป็นต้องตัดแขนหรือขาที่ติดเชื้อทั้งหมดหรือบางส่วนออก
อาการและอาการแสดงของโรคกระดูกอักเสบ
อาการปวด แดงและบวมอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่กระดูก
อาการและอาการแสดงของโรคกระดูกอักเสบขึ้นอยู่กับชนิดการอักเสบของกระดูกโดยทั่วไป ได้แก่ :
- มีอาการปวด ซึ่งอาจรุนแรงและบวมแดงและกดเจ็บในบริเวณที่เกิดโรคกระดูกอักเสบ
- หงุดหงิด ง่วงหรืออ่อนเพลีย
- มีไข้ หนาวสั่นและมีเหงื่อออก
- มีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากแผลเปิดใกล้บริเวณที่ติดเชื้อหรือทางผิวหนัง
- อาการอื่น ๆ อาจรวมถึง การบวมของข้อเท้า เท้าและขา และผู้ป่วยเดินผิดปกติไปจากเดิม เช่น เดินกะเผลก
อาการของกระดูกอักเสบเรื้อรังมักไม่ชัดเจนหรืออาจคล้ายกับอาการบาดเจ็บทั่วไป
จึงทำให้การวินิจฉัยของแพทย์ได้ไม่แม่นยำนัก โดยเฉพาะหากเกิดในสะโพก กระดูกเชิงกรานหรือกระดูกสันหลัง
กระดูกอักเสบในเด็กและผู้ใหญ่
ในเด็ก โรคกระดูกอักเสบมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและมีอาการภายใน 2 สัปดาห์หลังจากมีการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือเรียกว่า กระดูกอักเสบจากเชื้อโรคที่มาตามกระแสเลือด ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส ออเรียส ที่ดื้อยาเมธิซิลิน (MRSA)
การวินิจฉัยอาจเป็นเรื่องยากแต่สิ่งสำคัญคือต้องได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดเนื่องจากการวินิจฉัยล่าช้าอาจนำไปสู่การรบกวนการเจริญเติบโตหรือความผิดปกติได้ ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้
ในผู้ใหญ่ โรคกระดูกอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลันหรือเรื้อรังมักพบได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการบาดเจ็บ เช่น กระดูกร้าว หรือเรียกว่า โรคกระดูกอักเสบจากการติดเชื้อ มักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
สาเหตุของโรคกระดูกอักเสบ
โรคกระดูกอักเสบอาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราภายในกระดูกหรือไปถึงกระดูกส่วนอื่นของร่างกาย
การติดเชื้อที่ฟันสามารถแพร่กระจายไปยังกระดูกขากรรไกรได้
เมื่อการติดเชื้อเกิดขึ้นภายในกระดูก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยร่างกายจะส่ง นิวโทรฟิล ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ไปยังแหล่งที่มาของเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา
หากการติดเชื้อเกิดขึ้นและไม่ได้รับการรักษา นิวโทรฟิลที่ตายแล้วจะสะสมอยู่ภายในกระดูกกลายเป็นฝีหรือมีหนอง
ฝีอาจปิดกั้นการส่งเลือดไปยังกระดูกที่ที่เกิดโรคได้ ในกรณีที่เป็นโรคกระดูกอักเสบเรื้อรังแล้วไม่ได้รับการรักษา และกระดูกอาจตายได้ในที่สุด
โดยปกติแล้ว กระดูกเราสามารถต้านการติดเชื้อได้ แต่การติดเชื้ออาจเข้าสู่กระดูกได้เนื่องจากโรคหรือภาวะบางอย่าง
การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัดหรือโรคที่มีมาก่อนหน้า เช่น โรคเบาหวาน จะไปลดความสามารถในการต่อต้านการติดเชื้อลง
การติดเชื้อในกระดูกเกิดขึ้นได้อย่างไร
การติดเชื้อในกระดูกอาจเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย
ในผู้ที่เป็นกระดูกอักเสบจากเชื้อโรคที่มาตามกระแสเลือด การติดเชื้ออาจเริ่มจากทางเดินหายใจส่วนบนหรือทางเดินปัสสาวะที่ไม่รุนแรง และจากนั้นจะเข้าสู่กระแสเลือด โดยการติดเชื้อประเภทพบได้บ่อยในเด็ก
โรคกระดูกอักเสบหลังได้รับบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดการแตกหักของกระดูกบางส่วน โดยกระดูกหักที่ทิ่มผิวหนังและกล้ามเนื้อโดยรอบทะลุออกมาหรือหลังการผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการใส่หมุดโลหะ สกรูหรือแผ่นยึดเพื่อยึดกระดูกที่หัก
ภาวะเลือดไปเลี้ยงหลอดเลือดดำไม่เพียงพอหรือการไหลเวียนโลหิตไม่ดีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อจากการขูดหรือบาดเป็นแผลเล็ก ๆ ซึ่งมักเกิดที่เท้า การไหลเวียนเลือดที่ไม่ดีทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวไปไม่ถึงจุดที่เกิดโรคได้ซึ่งทำให้เกิดแผลลึกตามมา และทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่ลึกลงไปเกิดการติดเชื้อ
กระดูกสันหลังอักเสบเกิดขึ้นที่กระดูกสันหลัง โดยมักเริ่มจากการติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือทางเดินหายใจ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เยื่อบุชั้นในของหัวใจหรือการติดเชื้อในปากหรือบริเวณที่ฉีดยา
กระดูกอักเสบในขากรรไกร
กระดูกอักเสบในขากรรไกรอาจเจ็บปวดอย่างรุนแรงและอาจเป็นผลมาจากโรคฟันผุหรือโรคปริทันต์ กระดูกขากรรไกรผิดปกติเนื่องจากฟันเป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อโดยตรง
โรคมะเร็ง การรักษาด้วยรังสี โรคกระดูกพรุนและโรคพาเจทช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอักเสบที่ขากรรไกร
การติดเชื้อในไซนัส เหงือกหรือฟันจะแพร่กระจายไปที่กะโหลกศีรษะ
ภาวะแทรกซ้อน
การรักษาการติดเชื้อในกระดูสามารถทำให้หายได้ แต่บางครั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน
โรคกระดูกอักเสบเรื้อรังอาจดูเหมือนจะหายไป แต่จากนั้นจะกลับมาเป็นซ้ำหรืออาจตรวจไม่พบเป็นเวลาหลายปี ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเนื้อเยื่อกระดูกตายและการยุบตัวของกระดูกได้
ผู้ป่วยที่มีภาวะที่ยากต่อการรักษา ได้แก่ ผู้ป่วยทีมีเบาหวานรุนแรง ติดเชื้อเอชไอวี มีการไหลเวียนไม่ดีหรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกอักเสบ
หลายคนมีแนวโน้มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกอักเสบ
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่:
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ภาวะทุพโภชนาการ การฟอกไต การใส่สายสวนปัสสาวะ การฉีดยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น
- มีปัญหาการไหลเวียนโลหิตอันเป็นผลมาจากโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดส่วนปลายหรือโรคเซลล์รูปเคียว
- มีแผลเจาะลึกหรือมีกระดูกแตกทะลุผิวหนัง
- เข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนหรือซ่อมแซมกระดูก
โรคกระดูกอักเสบเฉียบพลันพบได้บ่อยในเด็ก ในขณะที่กระดูกอักเสบในกระดูกไขสันหลังมักพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีและพบได้บ่อยในผู้ชาย
การวินิจฉัยโรคกระดูกอักเสบ
แพทย์จะตรวจร่างกายส่วนที่เกิดโรคเพื่อดูอาการแสดงของโรคกระดูกอักเสบรวมทั้งอาการกดเจ็บและบวม แพทย์จะซักประวัติคนไข้ล่าสุด โดยเฉพาะอุบัติเหตุ การผ่าตัดหรือการติดเชื้อที่เพิ่งเกิด
การตรวจอาจรวมถึง:
- การตรวจเลือด: เม็ดเลือดขาวในระดับสูงมักบ่งบอกถึงการติดเชื้อ
- การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ: แพทย์ใช้เนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ เพื่อตรวจดูว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใดเป็นแบคทีเรียหรือเชื้อราที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่กระดูก ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ค้นหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม
- การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่าย: ถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเผยให้เห็นความเสียหายของกระดูกได้
ความเสียหายอาจจะยังไม่ปรากฎเป็นเวลา 2 สัปดาห์ในช่วงที่มีการเอกซเรย์ ดังนั้น แนะนำให้ทำการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยละเอียดมากขึ้นหากการบาดเจ็บนั้นเพิ่งเกิดขึ้น
การป้องกันโรคกระดูกอักเสบ
ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอควร:
- ทำความสะอาดและปิดแผลเปิดช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
- รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสร้างสมดุลให้กับร่างกาย และออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่ง
- งดสูบบุหรี่เพราะจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและทำให้ระบบไหลเวียนไม่ดี
- ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี รวมถึง ล้างมือให้สม่ำเสมอและเหมาะสม
- ฉีดวัคซีนตามตารางทั้งหมด
ผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนไม่ดีควร:
- งดสูบบุหรี่เพราะจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดแย่ลง
- รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
- งดดื่มแอลกอฮอล์ที่มักดื่มเป็นประจำและมากเกินไปเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูง
- คนที่ติดเชื้อง่ายควรระมัดระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะไม่ให้ติดเชื้อจากการเกิดบาดแผลและรอยถลอก ควรทำความสะอาดบาดแผลหรือรอยขูดใด ๆ ทันทีและทำความสะอาดเสื้อผ้าที่สวมใส่
หากเกิดบาดแผลจำเป็นต้องตรวจหาอาการแสดงของการติดเชื้อบ่อย ๆ
นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา
- https://www.webmd.com/diabetes/osteomyeltis-treatment-diagnosis-symptoms
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9495-osteomyelitis
- https://www.nhs.uk/conditions/osteomyelitis/
- https://medlineplus.gov/ency/article/000437.htm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก