

มะละกอเป็นผลไม้ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน และเป็นที่นิยมมาตลอด นอกจากจะเป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานอย่างเอร็ดอร่อยได้แล้ว ยังสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารคาวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ คือส้มตำ แกงส้ม มะละกอผัดไข่ เป็นต้น
มะละกอที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยหลัก ๆ มีหลายสายพันธ์ เช่น แขกดำ ฮอนแลนด์ พันธ์ลูกผสม (Hybrid) มะลอกอเป็นผลไม้ที่ให้ผลตลอดปี
และเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้หลายประเภท
ประโยชน์ของมะละกอ
มะละกอนั้นเป็นผลไม้ที่มีวิตามินและสารอาหารที่หลากหลาย ให้วิตามินซี โพแทสเซียม วิตามินซี โฟเลต สูง นอกจากนี้ยังมีสารพาเพนที่อยู่ในมะละกอมีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ที่เชื่อว่าสามารถกำจัดพยาธิได้ นอกจากนี้แล้วมะละกอยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น
- มะละกอช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- ช่วยให้ผิวพรรณสวยงาม เปล่งปลั่ง
- ลดอาการท้องผูก มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- รักษาอาการขัดเบา
- ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
- ป้องกันนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- มีสารไลโคปีนสูง ต้านมะเร็ง
- บำรุงระบบประสาท และสมอง
- มะละกอสุกช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร
คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอสุก 100 กรัม มีดังนี้
- วิตามินซี 70 มล.
- แคลเซียม 24 มล.
- ฟอสฟอรัส 22 มล.
- วิตามินบี 1 0.04 มล.
- วิตามินบี 2 0.04 มล.
- วิตามินบี 3 0.4 มล.
- ไขมัน 0.1 ก.
- โปรตีน 0.5 ก.
- โซเดียม 4 มล.
- ธาตุเหล็ก 4 มล.
คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ 100 กรัม มีดังนี้
- เส้นใยอาหาร 1.7 ก.
- โปรตีน 0.47 ก.
- ไขมัน 0.26 ก.
- น้ำตาล 7.82 ก.
- คาร์โบไฮเดรต 10.82 ก.
- พลังงาน 43 กิโลแคลอรี
- วิตามินบี 1 0.023 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 3 0.357 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 5 0.191 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 6 0.038 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม 10%
- วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม 6%
- วิตามินซี 62 มิลลิกรัม 75%
- แคลเซียม 20 มิลลิกรัม 2%
- เหล็ก 0.25 มิลลิกรัม 2%
- ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม
- วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม 2%
- เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม 3%
- วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม 2%
- ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม 1%
- แมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม 2%
- โซเดียม 8 มิลลิกรัม 1%
- สังกะสี 0.08 มิลลิกรัม 1%
- ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม
- แมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
โทษของมะละกอ
แม้ว่ามะละกอจะเป็นผลไม้ที่อร่อยให้รสหวาน หรือประกอบเป็นอาหารคาวก็เป็นที่นิยมก็ตาม แต่การรับประทานมะละกอมากเกินไปอาจก่อให้เกิดผลเสีย เนื่องด้วยวิตามินเอที่มีอยู่ในปริมาณสูงหากรับประทานมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ ผมร่วง นอนไม่หลับ เป็นต้น ในกรณีที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นประจำจำนวนมาก สาร Carotenoid อาจส่งผลให้ผิวเหลืองได้
ข้อควรระวังในการเลือกรับประทานมะละกอ
- สตรีมีครรภ์ควรบริโภคมะละกอในปริมาณพอเหมาะ เนื่องด้วยสารพาเพนในมะละกอนั้นอาจเป็นพิษต่อลูกน้อยในครรภ์ โดยสารพาเพนนี้อาจจะทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้
- ไม่เหมาะกับผู้ที่แพ้สารพาเพน
- ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะละกอ เพราะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างการเข้ารับการผ่าตัด และควรงดรับประทานมะละกออย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- การรับประทานมะละกอมากเกินไปอาจทำให้ผิวเหลือง เกิดอาการเซื่องซึมและเบื่ออาหาร
กินมะละกอสุกอ้วนไหม
มะละกอสุกนั้นเต็มไปด้วยกากใยอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากจะช่วยลดอาการท้องผูกแล้วยังสามารถเป็นผลไม้ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ด้วย ทานแล้วอิ่มอยู่ท้อง ช่วยให้ผิวสวย พุงยุบกันเลยทีเดียว
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก