โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.10
1596
0

พาร์กินโซนิซึม (Parkinson’s disease) คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการและความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน แต่ก็อาจมีสาเหตุอื่นร่วมได้

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินโซนิซึมจะมีความผิดปกติอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท ตั้งแต่ภาวะสมองเสื่อมไปจนถึงไม่สามารถมองขึ้นลงได้

โรคพาร์กินสัน Pakinson คือความผิดปกติและการตายของสมองส่วนที่ผลิตสารโดพามีน โดพามีนเป็นสารสื่อประสาททำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างสมองกับเซลล์ประสาท และมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ในบทความนี้ เราจะพูดถึงอาการของโรคพาร์กินสัน การวินิจฉัยโรค และวิธีการรักษา

อาการของโรคพาร์กินสัน

คนที่เป็นโรคพาร์กินโซกินสันมักจะเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 50-80 ปี อ้างอิงจากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเท็กซัส เซาท์เวสเทิร์น

โรคพาร์กินสันอาจทำให้มีอาการที่อตกต่างกันไป อาการเกี่ยวข้องกับโรคที่เราสามารถพบได้บ่อยมีดังนี้ :

  • แสดงออกทางสีหน้าได้อย่างลำบาก
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • เคลื่อไหวได้ช้าลง
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางคำพูด
  • มือสั่นข้างเดียว

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจมีอาการบางอย่างตามที่กล่าวมาข้างต้น เพราะว่าการทำงานของสมองของพวกเขาจะได้รับความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักจะมีอาการมือสั่น ที่พบได้มากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

อาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินโซนิซึมมีดังนี้ :

  • โรคสมองเสื่อม
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทเช่น การควบคุมการเคลื่อนไหวหรืออาการกระตุก
  • ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • มีอาการอย่างเฉียบพลัน

สาาเหตุต่างๆที่ทำให้เกินโรคพาร์กินสัน ตัวอย่างเช่น โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่จะมีอาการที่ชี้เฉพาะเจาะจง

สาเหตุของโรคพากินสัน

โรคพาร์กินสันสามารถเกิดได้จากโรคพาร์กินสันโดยตรงหรือเกิดจากอาการอื่นๆก็ได้

สาเหตุอื่นของการเกิดโรคพาร์กินโซนิซึม :

  • Corticobasal degeneration: อาการนี้ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว ผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ด้วย
  • โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ : อาการนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีความตื่นตระหนกและมองเห็นภาพหลอน โรคนี้เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้เป็นอันดับสองรองจากโรคอัลไซเมอร์ อ้างอิงจาก Johns Hopkins Medicine.
  • การเสื่อมของระบบต่างๆ : ส่งผลต่อการทำงานร่วมกันและความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ร่วมไปถึงการที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและอุจาระได้
  • โรคก้านสมองเสื่อม : อาการนี้ทำให้สมองอยู่ในสภาวะถดถอยและมีปัญหาในการเคลื่อนตาขึ้นลง

อาการข้างต้นเป็น 4 สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในการเกิดของโรคพาร์กินสัน 

อาการที่สามารถพบได้น้อยคือ เส้นเลือดฝอยในบริเวณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จะทำให้มีอาการกระตุกเล็กน้อย ซึ่งส่งผลกับการทรงตัว การเดิน และความจำ

แพทย์จะวินิจฉัยโรคพาร์กินโซนิซึมได้อย่างไร?

ยังไม่มีการทดสอบที่แน่นอนของแพทย์กับโรคพาร์กินสัน

แพทย์จะเริ่มด้วยการซักถามประวัติสุขภาพและอาการปัจจุบัน รวมไปถึงชนิดของยาที่รับประทานอยู่ในขณะนั้นเพื่อตรวจสอบว่า ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการได้หรือไม่

โดยส่วนมากแพทย์จะให้ทำการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุอื่นๆเช่น ปัญหาของต่อมไทรอยด์หรือตับ แพทย์อาจสั่งให้มีการแสกนสมองและร่าวการเพื่อหาสาเหตุอื่นๆเช่น เนื้องอกในสมองด้วย

แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของโดพามีนในามอง เรียกว่า DaT-SPECT test.

การทดสอบจะใช้สารกัมมันตภาพรังสีที่ออกแบบมาเพื่อติดตามโดพามีนในสมองโดยเฉพาะ วิฑีนี้จะทำให้แพทย์สามารถมองเห็นว่ามีสองสมองส่วนไหนบ้างโดพามีนไปถึงและไปไม่ถึง

เนื่องจากพาร์กินโซนิซึมไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั่วไป และอาการที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ทำให้แพทย์ไม่สามารถทำการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากต้องใช้เวลาในการแยกแยะอาการเบื้องตน ก่อนที่จะเริ่มต้นให้คำปรึกษาถึงวิธีการรักษา

วิธีการรักษาโรคพากินสัน

ยาชนิดที่แพทย์มักจะจ่ายให้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันคือ levodopa เป็นยาที่เกี่ยวข้องกับโดปามีน ช่วยให้ปริมาณโดปามีนในสมองเพิ่มขึ้นได้ 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันไม่ได้มีปัญหากับการสร้างโดปามีนเท่านั้น แต่ยังมีปัญหากับเซลล์ที่เสียหายและถูกทำลายที่ไม่สามารถตอบสนองกับโดปามีนได้ ทำให้การใช้ยา levodopa อาจจะไม่ได้ผลเช่นกัน

โรคพาร์กินสันถือเป็นความท้าทายของแพทย์ เนื่องจากในบางครั้ง อาการอาจจะไม่มีการตอบสนองกับการรักษาหรือกับตัวยาที่ช่วยในการเพิ่มโดปามีน

ดังนั้น การรักษาของโรคพาร์กินสันจึงขึ้นอยู่กับอาการทางบวกของผู้ที่เป็นโรคตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยมีอาการ corticobasal degeneration และมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ แพทย์อาจสั่งยารักษาโรคซึมเศร้าและฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดอาการ 

การรักษาโรคพาร์กินโซนิซึมมักมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อาการคงที่หรือลดลง แพทย์มักแนะนำให้มีการทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดเพราะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและสมดุลได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *