กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) : อาการ สาเหตุ การรักษา

03.03
3628
0

โรคกลากน้ำนม (Pityriasis Alba) คือความผิดปกติของผิวหนังที่ไม่อันตราย มักพบในเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี ลักษณะผิวจะนูนขึ้นเป็นหย่อม ๆ และผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะมีสีอ่อนกว่าบริเวณอื่น ๆ ซึ่งมักพบบนใบหน้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

โรคกลากน้ำนมได้รับการตั้งชื่อตามลักษณะที่เป็นเกล็ดสีขาว

สาเหตุของโรคกลากน้ำนม

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โรคกลากน้ำนมคือโรคผิวหนังอักเสบแบบเฉียบพลัน ที่เมื่อหายจะทิ้งรอบสีจาง ๆ เอาไว้บนผิวหนัง สาเหตุอีกประการคือเป็นผลมาจากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่มากเกินไป ทำให้บริเวณที่เป็นกลากเกิดผื่นขึ้นเป็นหย่อม ๆ และจางหายไปเมื่อหายจากโรค

ความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่างยังส่งผลให้เกิดการขาดสีของผิวหนัง (การสูญเสียสีผิว) เนื่องจากการทำงานของเซลล์เมลาโนไซต์ไม่มีประสิทธิภาพในการสร้างเม็ดสีเมลานิน

Pityriasis Alba

การวินิจฉัยโรคกลากน้ำนม

โรคกลากน้ำนมวินิจฉัยด้วยการตรวจด้วยตา และซักถามอาการ และประวัติทางการแพทย์ของคนในครอบครัวผู้ป่วย

โรคกลากน้ำนมมักสับสนกับโรคเกลื้อนที่เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราบนผิวหนัง ทำให้เกิดแผลสีขาวเป็นหย่อม ๆ โดยแพทย์จะมีวิธีแยกแยะดังนี้:

  • การตรวจดูการเรืองแสงของเชื้อรา ด้วยหลอดรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เพื่อหาความแตกต่างของสีผิว โดยปกติจะทำในห้องมืด

  • โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) โดยขูดผิวหนังที่เกิดโรค มาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นเชื้อราหรือไม่ เช่นโรคเกลื้อนคอร์โปริส

โรคกลากน้ำนมยังมักสับสนกับโรคด่างขาวซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการทำลาย melanocytes ในผิวหนัง ซึ่งสามารถแยกโรคทั้ง 2 ได้ดังนี้

โรคกลากน้ำนม : เส้นขอบของผิวหนังที่เป็นโรคจะเบากว่าและไม่ค่อยชัดเจน ส่วนที่นูนขึ้นมามีสีอ่อนกว่าผิวโดยรอบ แต่ยังเหลือเม็ดสีอยู่บ้าง บริเวณที่เกิดโรคมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย

โรคด่างขาว : เส้นขอบของผิวหนังที่เป็นโรคจะชัดเจนมาก โดยทั่วไปรอยนูนจะมีสีขาว (เกิดการสูญเสียเม็ดสีทั้งหมดในบริเวณที่เป็นโรค) พื้นที่ที่เกิดโรคมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมากมักเกิดอาการบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อยครั้ง เพราะถูกแสงแดดกระตุ้น แต่สามารถลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ เช่น รักแร้ ตา ขาหนีบ อวัยวะเพศ เนื้อท้องด้านล่าง และทวารหนัก

อาการของโรคกลากน้ำนม

โรคกลากน้ำนมสังเกตจากรอยโรคที่เปลี่ยนสีบนผิวหนัง  ส่วนม่กมักพบที่แก้ม แต่ก็สามารถเกิดขึ้นที่คอ หน้าอกหลัง และต้นแขนได้ ในส่วนแรกที่มีอาการมักเห็นเป็นสีชมพูหรือสีแดงก่อนจะค่อย ๆ จางลงจนเป็นจุดที่มีสีอ่อนกว่าผิวปกติ

โดยทั่วไปรอยโรคจะมีขนาดตั้งแต่ ¼ นิ้วถึง 1 นิ้วโดยมีรูปร่างเป็นวงกลมหรือวงรี เขตของรอยโรคมักปรากฎชัดเจน ก่อนจะค่อย ๆ กลมกลืนไปกับผิวที่ปกติ

แผลมักนูนขึ้นมาและอาจมีลักษณะเป็นสะเก็ดละเอียดปกคลุมผิวหนัง ลักษณะที่เป็นเกล็ดจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในช่วงฤดูหนาวเพราะอากาศจะแห้งกว่าในช่วงฤดูร้อน รอยโรคจะยิ่งเด่นชัดหากผิวหนังส่วนอื่นเป็นสีคล้ำ แผลมักไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่อาจมีอาการคันเล็กน้อย

การรักษาโรคกลากน้ำนม

วิธีรักษากลากน้ำนม หรือเกลื้อนน้ำนมไม่จำเป็นเสมอไป ส่วนมากมักหายได้เอง แต่มักรักษาด้วยเหตุผลด้านความสวยงาม แต่แม้จะได้รับการรักษาแล้ว ก็ยังต้อใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะฟื้นตัว การหลีกเลี่ยงการขัดผิว (ด้วยสารธรรมชาติหรือสังเคราะห์) และการใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ (ค่า SPF ขั้นต่ำ 30) จะช่วยบรรเทาอาการได้

มอยส์เจอร์ไรเซอร์

มอยส์เจอไรเซอร์มีส่วนผสมที่ทำให้ผิวนิ่มนวล เช่น ปิโตรลาทัมมิเนอรัลออยล์ สควาเลน หรือไดเมทิโคนสามารถช่วยให้ผิวนุ่มและลดความมันได้ดี โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ผู้ป่วยอาจขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นได้

การรักษาด้วยการผ่าตัด

ครีมไฮโดรคอร์ติโซนที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ สามารถใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน 1% ได้เท่าที่จำเป็น กรณีที่มีอาการคัน แต่ควรใช้ความระมัดระวังโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า

อย่าทารอบดวงตาหรือบนเปลือกตา และไม่ควรใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซนนานกว่า 4 สัปดาห์ต่อเนื่อง เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

กรณีผู้ป่วยเป็นเด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน

ยา Calcineurin Inhibitors เฉพาะที่

ยา Calcineurin Inhibitors เฉพาะที่อย่าง Elidel (pimecrolimus) และ Protopic (tacrolimus) ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ใช้เพื่อกำจัดผื่นคัน แต่หากอาการไม่รุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ยิ่งในกรณีที่ฉลากระบุว่าสำหรับรักษาโรคกลากน้ำนมได้ก็สามารถนำมาใช้รอบดวงตาได้อย่างปลอดภัย

สรุปภาพรวมาโรคกลากน้ำนม

เมื่อใดพบผื่นขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ควรนัดหมายกับแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคกลากน้ำนมที่ไม่เป็นอันตรายหรือไม่ การรักษาอาจจำเป็นหากโรคทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นใจ แม้ว่ากรณีส่วนมากผู้ป่ยฏรคนี้จะหายได้เองตามวัย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *