เลือดข้น (Polycythemia) : อาการ สาเหตุและการรักษา

เลือดข้น (Polycythemia) : อาการ สาเหตุและการรักษา

04.01
7185
0

โรคเลือดข้น (Polycythemia) หรือภาวะที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติหมายถึงการที่ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดเเดงที่มีขนาดใหญ่จำนวนมากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเนื้อเยื่อ     

เลือดข้นเกิดจากหลายสาเหตุและมีวิธีการรักษาเฉพาะ โดยการรักษาโรคเลือดข้นได้แก่การรักษาอาการที่เกิดขึ้น รวมถึงหาวิธีที่ทำให้ระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง 

ในบทความนี้เราได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของโรคเลือดข้นและสาเหตุรวมถึงทางเลือกในการรักษา

อาการของโรคเลือดข้น

ภาวะเลือดข้นเป็นความผิดปกติการผลิตเซลล์เม็ดเลือดเเดง ดังนั้นผู้ที่มีอาการเลือดข้นควรระมัดระวังและมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาการของโรคเลือดข้นจะค่อยๆเริ่มปรากฎขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

การที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงมากเกินไปซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดเเดงขนาดใหญ่กว่าปกติทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติได้ นอกจากนี้คนที่เป็นโรคเลือดข้นยังมีความเสี่ยงเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นเนื่องจากมีเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดมากเกินไป

แพทย์สามารถตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงด้วยการตรวจเลือดหรือค้นหาอาการอื่นๆที่เกิดขึ้น

อาการของโรคเลือดข้นส่วนใหญ่มักมีอาการรุนเเรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาการทั่วไปได้แก่

  • วิงเวียนศีรษะหรือรู้สึกบ้านหมุน
  • ปวดหัว
  • เหงื่อออกมาเกินไป
  • คันผิวหนัง
  • ได้ยินเสียงก้องในหู
  • มองเห็นภาพเบลอ
  • ร่างกายอ่อนล้า
  • มีผื่นสีเเดงหรือสีม่วงขึ้นที่ฝ่ามือ ใบหูและจมูก
  • เลือดออกหรือเกิดรอยฟกช้ำ
  • รู้สึกปวดเเสบปวดร้อนที่เท้า
  • ท้องบวมโต
  • เลือดกำเดาไหลบ่อย 
  • เลือดออกที่เหงือก

 ถ้าหากปล่อยให้เกิดอาการเลือดข้นและไม่ทำการรักษา ผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่น

  • ม้ามโต
  • เกิดลิ่มเลือด
  • ปวดเค้นในหน้าอก
  • เส้นเลือดในสมองแตก
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคหัวใจ
  • โรคเก๊าต์
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดเช่นโรคลิวคีเมียหรือโรคผังพืดไขกระดูก 

ประเภทของโรคเลือดข้น 

โรคเลือดข้นมี 2 ประเภท ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน 

ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ (Primary polycythemia)

นอกจากนี้ภาวะเลือดข้นยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าโรคเกล็ดเลือดสูง (PV) 

โรคเกล็ดเลือดสูง (PV) เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งเป็นการเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดมะเร็งที่เรียกว่าอาการของกลุ่มโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ (myeloproliferative neoplasm)  ภาวะเกล็ดเลือดสูงทำให้ไขกระดูกสันหลังผลิตเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดมากเกินไป จึงส่งผลทำให้เกิดการผลิตเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นยังมีปริมาณของเม็ดเลือดชนิดอื่นเช่นเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดเพิ่มสูงขึ้นด้วย 

การผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิตินมากเกินไป (secondary polycythemia

โรคเลือดข้นชนิดนี้เกิดจากการมีเซลล์เม็ดเลือดเเดงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ 

การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไปและทำให้เกิดภาวะเลือดข้นชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติเนื่องจากฮอร์โมนอีริโทโพอิตินเท่านั้น

สาเหตุของภาวะเลือดข้นที่เกิดจากการผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิตินมากเกินไปได้แก่

  • การอยู่บนที่สูงมากเกินไป
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • เนื้องอกบางชนิด
  • โรคปอดหรือหัวใจที่ทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลง

การวินิจฉัยโรค 

แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อค้นหาภาวะเลือดข้นด้วยการตรวจหลากหลายวิธีเพื่อระบุสาเหตุของการเกิดภาวะเลือดข้นซึ่งได้แก่

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดเช่นการนับจำนวนเม็ดเลือดที่กลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดเเดงในกระเเสเลือด รวมถึงระดับของเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดที่เพิ่มขึ้นมากผิดปกติ ถ้าหากพบสัญญาณผิดปกติของโรคเลือดข้น แพทย์จะสั่งให้ทำการตรวจเลือดที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  

การเจาะหรือดูดไขกระดูกเพื่อตรวจเนื้อเยื่อ

ในกรณีที่จำเป็น แพทย์จะทำการเจาะหรือดูดไขกระดูกออกมาตรวจสอบในห้องทดลองด้วยวิธีทดสอบเฉพาะ 

การตรวจเนื้อเยื่อไขกระดูกสันหลังหมายถึงการเจาะไขสันหลังเพื่อนำตัวอย่างชิ้นเนื้อของไขกระดูกสันหลังออกมาตรวจด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์

การตรวจสารพันธุกรรม 

แม้ว่าภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมพบได้น้อยมาก แต่แพทย์สามารถวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดภาวะเลือดหนืดที่มีความเชื่อมโยงกับการกลายพันธุ์ของยีนได้ 

นอกจากนี้แพทย์ยังเเนะนำให้ตรวจเซลล์ในเลือดเพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนที่มีชื่อว่า JAK2  

วิธีการรักษา

วิธีการรักษาโรคเลือดข้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดข้น

สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดข้นเนื่องจากการผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิตินมากเกินไป (secondary polycythemia) อาจมีสาเหตุเกิดจากโรคนอนหยุดหายใจชนิดอุดกั้น ดังนั้นการรักษาอาการที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยทำให้ระดับเม็ดเลือดลดลง

อย่างไรก็ตามสำหรับโรคเลือดข้นหนืดชนิดเรื้อรังเป็นยังไม่มีวิธีการรักษา เนื่องจากการรักษาโรคเลือดข้นมีจุดประสงค์เพื่อลดระดับของปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่านั้น รวมถึงความเสี่ยงของการเกิดภาวะเเทรกซ้อนอย่างเช่นลิ่มเลือดอุดตันเป็นต้น ถ้าหากมีจำนวนเกล็ดเลือดมากเกินไปก็มีวิธีการรักษาเช่นกัน

วิธีการรักษาโรคเลือดข้นได้แก่ 

การถ่ายเลือด (Phlebotomy)

สำหรับวิธีจัดการกับโรคเลือดข้น แพทย์จะใช้วิธีลดปริมาณความเข้มข้นของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยวิธีการที่เรียกว่าการถ่ายเลือด ซึ่งเป็นการเจาะน้ำเลือดออกจากเส้นเลือดดำเส้นหนึ่ง

ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน แพทย์แนะนำให้นำเลือดออกเพื่อทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายสมดุลอยู่ในระดับปกติ

การใช้ยาเพื่อลดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง

บางครั้งการถ่ายเลือดอาจไม่เพียงพอต่อการควบคุมปริมาณการเติบโตของเซลล์เม็ดเลือด ดังนั้นแพทย์จะเเนะนำให้ใช้ยากดการทำงานของไขกระดูกเพื่อควบคุมการผลิตเซลล์เม็ดเลือด

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยา hydroxyurea (Hydrea) ที่ออกฤทธิ์กดการทำงานของไขกระดูกได้เช่นกันเพื่อยับยั้งการผลิตเซลล์เม็ดเลือดมากเกินไป

JAK2 อินฮิบิเตอร์

ในกรณีที่อาการเลือดข้นไม่ตอบสนองต่อการใช้ยารักษา แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาที่ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK2 ที่ทำหน้าที่ผลิตสารพันธุกรรม JAK2 ซึ่งยาที่นำมาใช้ได้แก่ยา ruxolitinib (Jakafi)

การใช้ยาประเภทอื่นๆ

นอกจากนี้แพทย์มักแนะนำให้ใช้ยาชนิดอื่นเพื่อควบคุมอาการเลือดข้น ซึ่งได้แก่ยาแอสไพรินและยาต้านฮีสทามีน การทานยาอีสทามีนปริมาณเล็กน้อยช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเลือดอุดตันในผู้ที่มีภาวะเลือดข้นและยังช่วยบรรเทาอาการปวดหัว นอกจากนี้แพทย์จะเเนะนำให้ทานยาต้านฮีสทามีนเพื่อลดอาการคันผิวหนังด้วยเช่นกัน

บทสรุป

โรคเลือดข้นหมายถึงการมีเซลล์เม็ดเลือดเเดงในร่างกายเพิ่มมากขึ้น แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ด้วยการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดงประจำวันหรือตรวจร่างกายเมื่อมีอาการของโรคเลือดข้น

สำหรับโรคเลือดข้นเรื้อรังยังไม่มีวิธีการรักษา อย่างไรก็ตามการรักษาที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยจัดการกับโรคเลือดข้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ใดก็ตามที่มีอาการเลือดข้นหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเกล็ดเลือดสูง ควรไปพบเเพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *