"I must thank you for the efforts you have put in writing this website. I am hoping to view the same high-grade content by you later on as well. In fact, your creative writing abilities has inspired me to get my own site now ;)"
โรคกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) คือการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะอย่างเฉียบพลันและรุนแรง โรคนี้ทำให้ไตมีอาการบวมและอาจไปทำลายไตด้วยก็ได้ โรคกรวยไตอักเสบนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
เมื่อไตถูกทำลายเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้เกิดโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง โรคกรวยไตอักเสบแบบนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก แต่มักจะพบในวัยเด็กหรือคนที่มีภาวะการปัสสาวะติดขัด
อาการของกรวยไตอักเสบ
โรคกรวยไตอักเสบอาการมักจะแสดงออกมาภายใน 2 วันของการติดเชื้อ อาการที่พบบ่อยคือ:
- ปวดท้อง (Stomach Pain)
- ปวดหลัง เจ็บสีข้าง หรือเจ็บขาหนีบ
- มีอาการแสบขณะปัสสาวะ
- ปัสสาวะมีสีคล้ำ
- มีไข้สูง (Fever)มากกว่า 38.9 องศาเซลเซียส
- มีหนองหรือเลือดในปัสสาวะ
- รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลาหรือปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายคาวปลา
อาการอื่นๆที่เจอได้ มีดังนี้:
- รู้สึกหนาวสั่น
- อาการวิงเวียนศีรษะ (Dizziness)
- อาการอาเจียน (Vomit)
- ปวดเมื่อยตามตัว
อาการดังกล่าวที่วัยผู้ใหญ่เป็นนั้นอาจจะแตกต่างกับวัยเด็ก ตัวอย่างเช่น ความสับสนทางจิตใจนั้น มักจะมีแต่ในวัยผู้ใหญ่เท่านั้นที่เป็น
คนที่เป็นโรคกรวยไตอักเสบแบบเรื้อรังนั้น อาจจะเจออาการแค่เล็กน้อย หรือไม่ปรากฎอาการให้เห็นเลยก็ได้
สาเหตุของโรคกรวยไตอักเสบ
สาเหตุของโรคกรวยไตอักเสบเกิดจากการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ซึ่งเรียกว่าการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือ(UTI) เชื้อแบคทีเรียจะเข้าสูร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ และเริ่มเพิ่มเชื่อโรคไปยังกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นเชื้อโรคก็เดินทางไปยังไต ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไตติดเชื้อได้
เชื้อแบคทีเรีย อย่างเช่น เชื้อ อีโคไลมักเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อที่กระแสเลือดอย่างร้ายแรง ก็สามารถแพร่เชื้อไปยังไต จนทำให้เป็นสาเหตุโรคกรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลันได้
วิธีการรักษาโรคกรวยไตอักเสบ
ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะมักจะเป็นตัวเลือกแรกในวิธีรักษาโรคกรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน แต่อย่างไรก็ตาม หมอจะให้ยาปฏิชีวนะที่เจาะจงรักษาเชื้อ หากสามารถระบุเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในไตได้ หรืออาจจะให้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ในวงกว้าง หากไม่สามารถระบุเชื้อแบคทีเรียได้
ถึงแม้ว่ายาจะรักษาให้คุณหายเป็นเวลา 2-3 วัน แต่คุณก็ต้องกินยาอย่างต่อเนื่องไปอีก(มักจะใช้เวลา 4-10 วัน) ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม
ยาปฏิชีวนะมีดังต่อไปนี้:
- ลีโวฟลอกซาซิน
- ไซโพลฟล็อกซาซิน
- โค-ไทรม็อคซาโซล
- แอมพิซิลิน
การรักษาในโรงพยาบาล
บางครั้งการรักษาทางยาอาจจะไม่ได้ผล ในผู้ป่วยโรคกรวยไตอักเสบที่อยู่ในขั้นรุนแรง หมออาจจะแนะนำให้คุณนอนพักที่โรงพยาบาล การนอนพักนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และการตอบสนองต่อการรักษา
การรักษาจะให้คนไข้อดน้ำอดอาหารเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ขณะที่คุณอยู่ที่โรงพยาบาล หมอจะติดตามอาการป่วยโดยตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างต่อเนื่องและอาจจะรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ถึง 14 วัน
การผ่าตัด
การติดเชื้อที่ไตอาจจะมาจากการรักษาทางการแพทย์ที่มีปัญหา ในกรณีดังกล่าวนั้น อาจจะแนะนำการผ่าตัดเพื่อเอาสิ่งที่ขัดขวางทางเดินปัสสาวะ หรือแก้ไขโครงสร้างภายในไต หรือผ่าตัดเมื่อการรักษาทางยานั้นไม่ตอบสนอง
ในกรณีที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดไต ในขั้นตอนนี้แพทย์จะทำการเอาส่วนหนึ่งของไตทิ้งออกไป เพื่อรักษาโรคกรวยไตอักเสบ
การฉายกัมมันตภาพรังสี
การใช้รังสี dimercaptosuccinic acid (DMSA) ถ้าคุณหมอพบว่ามีแผลจากโรคกรวยไตอักเสบ เป็นเทคนิคการใช้สารกัมมันตรังสีเพื่อหาแผลอักเสบที่ไตที่จะนำไปวินิจฉัยต่อไปแพทย์จะฉีดสารกัมมันตภาพรังสีไปยังหลอดเลือดดำที่แขน สารนี้จะไหลไปสู่ไต และใช้เครื่องฉายรังสี เพื่อแสดงภาพบริเวณไตที่มีแผลอักเสบออกมา
การตรวจปัสสาวะ
แพทย์จะตรวจอาการไข้ของคุณ น้ำในช่องท้องของคุณ และอาการที่ผิดปกติอื่นร่วมด้วย ถ้าพบการติดเชื้อที่ไต คุณหมอก็จะให้คุณตรวจปัสสาวะ การตรวจนี้สามารถหาเชื้อแบคทีเรีย แร่ธาตุ เลือด และหนองที่มากับปัสสาวะได้
การฉายรังสีวิทยา
แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อหาถุงน้ำ ชิ้นเนื้องอกหรือสิ่งกีดขวางทางเดินปัสสาวะสำหรับคนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดนี้ภายใน 72 ชั่วโมง อาจจะแนะนำการฉายรังสีแบบ CT scan (จะย้อมสีหรือไม่ย้อมสีก็ได้) การตรวจนี้สามารถจะหาสิ่งที่ขัดขวางทางเดินปัสสาวะได้
สถิติผู้ป่วยกรวยไตอักเสบ
สถิตินี้มาจากกรณีศึกษาที่โรงพยาบาลภูเขียว จ.ชัยภูมิ เรื่องความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ที่มีภาวะกรวยไตอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ทำการสำรวจมาแล้ว โดยการสำรวจสุ่มตัวอย่างโดยวิธี systematic sampling ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จากผู้ป่วยHTที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลภูเขียว ซึ่งผลการสำรวจนั้นปรากฏว่า จำนวนตัวอย่างที่ศึกษา 204 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.5 อายุเฉลี่ย 63.24 ± 10.79 ปี ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 37.7 พบความชุกของภาวะโรคไตเรื้อรัง(eGFR<60 ml/min/1.73 m2), ภาวะ Microalbuminuria และภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เป็น ร้อยละ 27.0 , 44.6 และ 39.7 ตามลำดับ พบความชุกของ กตร. ร้อยละ 14.2 พบความสัมพันธ์ระหว่าง กตร. กับตัวแปรที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ ดื่มน้ำน้อยมีอาการผิดปกติเมื่อบริโภคหน่อไม้อาการอีสานรวมมิตร (อสร.) และโดยมีค่า OddsRatio (95%CI) เท่ากับ 4.81 (1.57, 14.77), 2.40 (1.07, 5.38) และ 2.28 (1.03, 5.08) ตามลำดับ ในผู้ป่วย กตร. พบความชุกของ อสร.ร้อยละ 41.2
โดยมีผลการวิจัยสรุปว่า ในผู้ป่วย HT มากกว่า 1ใน 4 มี ปัญหาโรคไตเรื้อรังระดับ3 ขึ้นไป และประมาณ 1 ใน 7เป็นกตร.อาจคัดกรองภาวะ กตร. ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยประวัติผิดปกติเมื่อบริโภคหน่อไม้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-infection/symptoms-causes/syc-20353387h
- niddk.nih.gov/health-information/urologic-diseases/kidney-infection-pyelonephritishttps:
- ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519537/https://www.drugs.com/health-guide/pyelonephritis.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก