โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

24.09
5630
0

โรครูมาตอยด์คืออะไร

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คือ โรคภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่องเป็นโรคที่มีผลของการติดเชื้อต่อระบบทั่วไปของร่างกาย

โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ทำงานผิดปกติกับการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อเเละอวัยวะเป้าหมาย

ในกรณีของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักเกิดขึ้นที่บริเวณข้อต่อ ปอด ตาและหัวใจ

Rheumatoid Arthritis

อาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการของโรครูมาตอยด์ได้แก่

  • อาการเจ็บปวด บวมและติดขัดในข้อต่อมากกว่าหนึ่งข้อต่อ
  • เกิดการเจ็บปวดที่ข้อต่อทั่วร่างกาย
  • มีอาการข้อเสื่อม
  • ไม่สามารถทรงตัวได้ในขณะเดิน
  • รู้สึกไม่ปกติเเละไม่สบาย
  • มีไข้
  • สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว
  • น้ำหนักลดลง
  • เกิดอาการเมื่อยล้า

ข้อมูลจากสถาบันการป้องกันเเละการควบคุมโรคได้ระบุว่าโดยปกติอาการอักเสบมักเกิดขึ้นในข้อต่อเดียวกันหรือข้อต่อทั้งสองข้าง

อาการที่เกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นเเละหายไปเองได้ ในระหว่างที่ร่างกายกำลังฟื้นฟูตัวเองอาการเจ็บปวดสามารถกลับมาได้อีกและระหว่างที่เกิดการอักเสบขึ้นอาการเหล่านี้สามารถเพิ่ระดับความรุนแรงขึ้นไปอีกได้

สาเหตุโรครูมาตอยด์

ยังไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุของภูมิคุ้มกันที่บกพร่องนี้

บางคนอาจได้รับโรคนี้จากปัจจัยทางพันธุกรรม มีทฤษฎีหนึ่งที่กล่สวว่าโรคนี้เกิดจากแบคทีเรียและไวรัสที่อยู่ในสารพันธุกรรมของผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 

ในโรครูมาตอยด์เกิดจากแอนติบิดี้ของระบบภูมิคุ้มกันถูกโจมตีในไขข้อที่ทำหน้าที่เป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้กับข้อต่อต่างๆ จึงเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดและการติดเชื้อ

การติดเชื้อทำให้ไขข้อหนาขึ้นหากปล่อยไว้ไม่รักษาการติดเชื้อนี้สามารถเข้าไปทำลายกระดูกอ่อนที่เชื่อมต่อกับเนื้อเยื่อที่เป็นหมอนรองกระดูกเเละเข้าไปทำลายกระดูกเป็นลำดับสุดท้ายได้ 

เส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกและเอ็นที่ยึดข้อต่อทำหน้าที่ยึดข้อต่อไว้ด้วยกันซึ่งเส้นเอ็นทั้งสองนี้สามารถยืดและหดได้ เมื่อข้อต่อถูกทำลายและมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดความเสียหายที่ร้ายเเรงได้

การรักษาโรครูมาตอย์

การบรรเทาอาการปวดและการรักษาทางการเเพทย์อื่นๆสามารถลดอาการเจ็บปวดของโรคนี้ได้

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แพทย์จะเเนะนำให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมูมาตอยด์เพื่อแนะนำทางเลือกในการรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรครูมาตอยด์โดยเฉพาะแต่การรักษาตามการที่พบสามารช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ ซึ่งวิธีรักษามีดังต่อไปนี้

  • ลดการติดเชื้อของข้อต่อ
  • บรรเทาอาการเจ็บปวด
  • ลดการสูญเสียการทำงานของอวัยวะที่เกิดจากความเจ็บปวด ข้อต่อเสียหายหรือความพิการให้น้อยที่สุด
  • ชะลอหรือป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นในข้อต่อ

ทางเลือกในการรักษาได้แก่ การใช้ยา กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและการผ่าตัด

การใช้ยารักษา

การใช้ยารักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเเละการพัฒนาของโรคได้

 ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปตัวอย่างเช่น ยาแอดวิล ยามอทรินและยาอัลลีฟ

คอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บปวดเเละการติดเชื้อและสามารถชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นในข้อต่อได้แต่ยาชนิดนี้ไม่สามารถรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ หากใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แล้วไม่ได้ผล แพทย์จะทำการฉีดยาสเตรรอยด์เข้าไปในข้อต่อ ซึ่งโดยปกติเเล้วผลลัพธ์ของการรักษาเกิดขึ้นช้าหรือเร็วต่างกัน การรักษาอาจเห็นผลภายในไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของอาการ

คอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถช่วยรักษาอาการที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหรืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นในระยะสั้น การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ในระยะยาวทำให้เกิดผลข้างเคียงได้แก่ โรคต้อกระจก โรคกระดูกพรุน โรคต้อหิน โรคเบาหวานและโรคอ้วน

ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  (DMARDs)

ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (DMARDs) สามารถชะลอกระบวนการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และป้องกันความเสียหายของข้อต่อถาวรที่เกิดจากโรคนี้และป้องกันเนื้อเยื่ออื่นๆด้วยการควบคุมการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ โดยปกติผู้ป่วยต้องใช้ยา DMARDs ตลอดชีวิต 

ยานี้ใช้ได้ผลกับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มเเรกแต่ยานี้สามารถใช้ได้เป็นเวลา 4 ถึง 6 สัปดาห์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อร่างกาย

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (DMARDs)ที่แตกต่างกันดังนั้นควรหายาที่เหมาะสมกับอาการที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างของยาได้แก่ ยา leflunomide (Arava) ยา methotrexate (Rheumatrex, Trexall) ยา sulfasalazine (Azulfidine) ยาminocycline (Dynacin Minocin)และยาhydroxychloroquine (Plaquenil)

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้แก่เกิดความเสียหายที่ตับและปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันเช่นการกดการทำงานของไขกระดูกและมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ปอดสูง

Other types of immunosuppressants include cyclosporine (Neoral, Sandimmune, Gengraf), azathioprine (Imuran, Azasan), and cyclophosphamide (Cytoxan).

ยาชนิดอื่นที่ทำหน้าที่กดภูมิคุ้มกันได้แก่ กลุ่มยา cyclosporine (เช่น ยา Neoral ยา Sandimmune และยา Gengraf) กลุ่มยา azathioprine (เช่นยา Imuran ยาAzasan) และกลุ่มยา cyclophosphamide (เช่นยา Cytoxan)

ตัวยับยั้ง Tumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha inhibitors)

ร่างกายของมนุษย์สร้างตัวยับยั้ง tumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha) ขึ้นมาเพื่อยับยั้งการติดเชื้อ

ตัวยับยั้ง TNF-alpha  สามารถป้องกันการติดเชื้อได้โดยการบรรเทาอาการเจ็บปวด อาการข้อฝืดขัดตอนเช้าหลังตื่นนอนและอาการบวมในข้อต่อและเส้นเอ็นในข้อต่อ โดยปกติผู้ป่วยทั่วไปจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มทำการรักษา   

ยารักษาโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันได้แก่ ยาEnbrel ยา infliximab (Remicade) และยา adalimumab (Humira)

ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้แก่

  • มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง
  • เกิดความผิดปกติในเลือด
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเลือดคลั่งในหัวใจ
  • โรคปลอกประสาทอักเสบเกิดจากการหลุดลอกของปลอกไมอีลีนที่ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อประสาท
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษาด้วยกิจกรรมบำบัด

การรักษาด้วยกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ศักยภาพในการทำกิจกรรมใหม่ของตนเองได้ซึ่งเป็นการลดความเครียดและการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ

ตัวอย่างเช่นผู้ที่มีอาการปวดที่ข้อนิ้วมือสามารถเรียนรู้ที่จะใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ

การผ่าตัด

หากใช้การรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดเเล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจเเนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพื่อ

  • ฟื้นฟูข้อต่อที่เสียหายไป
  • แก้ไขความผิดปกติของข้อต่อ
  • บรรเทาอาการเจ็บปวด

วิธีการผ่าตัดที่สามารถทำได้มีดังต่อไปนี้

  • ผ่าตัดเข้าแก้ไขที่ข้อโดยตรงคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อทั้งหมดโดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดนำข้อต่อที่เสียหายออกและใส่ข้อต่อเทียมที่เป็นโลหะหรือพลาสติกเข้าไปแทนที่
  • การแก้ไขเส้นเอ็นยึดกระดูก หากเส้นเอ็นยึดกระดูกรอบข้อต่อเกิดหลุดออกจากกันหรือแตกแยกออกจากกัน การผ่าตัดสามารถช่วยแก้ไขได้
  • การผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ วิธีนี้สามารถช่วยกำจัดไขข้อที่ติดเชื้อและทำให้เจ็บปวดออกไปได้ 
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อภายนอกศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเชื่อมกระดูกหรือข้อต่อเข้าด้วยกันเพื่อลดความเจ็บปวดและปรับข้อต่อให้สมดุลกัน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา 

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *