ซีลีเนียม (Selenium) : ประโยชน์ และข้อควรระวัง

ซีลีเนียม (Selenium) : ประโยชน์ และข้อควรระวัง

08.10
4821
0

ซีลีเนียม (Selenium) คือ อะไร

ซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่พบในดิน ซีลีเนียมสามารถพบได้ในน้ำ และอาหารบางชนิดตามธรรมชาติ แม้ร่างกายของมนุษย์ต้องการซีลีเนียมเพียงเล็กน้อย แต่ซีลีเนียมก็มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญ

ซีลีเนียมได้รับความสนใจ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระสามารถปกป้องเซลล์จากความเสียหายมีงานวิจัยที่พบว่า อาหารเสริมซีลีเนียมอาจลดโอกาสของมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ยังไม่ได้มีหลักฐานที่ชัดเจน และมีการศึกษาบางชิ้นแนะนำว่า ซีลีเนียมอาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง (ไม่ใช่เมลาโนมา)

คุณสมบัติ และสรรพคุณของซีลีเนียม

ซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมีการกระจายอย่างกว้างขวางในธรรมชาติในหิน และดินส่วนใหญ่ ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ ซีลีเนียมจะเป็นสีเทาโลหะจนถึงสีดำ แต่ในธรรมชาติมักจะรวมกับซัลไฟด์ หรือแร่เงิน ทองแดง ตะกั่ว และนิกเกิล ซีลีเนียมแปรรูปส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังใช้เป็นอาหารเสริมอีกด้วย สำหรับในอุตสาหกรรมแก้ว ซีลีเนียมเป็นส่วนประกอบของเม็ดสีในพลาสติก สี สารเคลือบ หมึกพิมพ์ และยาง มีการใช้ซีลีเนียมเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ปีก และปศุสัตว์ ในสูตรยาฆ่าแมลง ในการผลิตยาง รวมทั้งสารฆ่าเชื้อรา และแชมพูขจัดรังแค อีกทั้งยังมีการใช้ซีลีเนียมกัมมันตภาพรังสีใช้ในยาวินิจฉัย

วิธีการใช้ซีลีเนียม

มีการใช้ซีลีเนียมเป็นอาหารเสริมในผู้ที่มีภาวะขาดซีลีเนียม

รวมทั้งใช้ในการรักษาโรค และภาวะทางสุขภาพบางอย่าง ได้แก่

  • ภาวะที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Autoimmune Thyroiditis) มีหลักฐานงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานซีลีเนียมสูงถึง 200 ไมโครกรัมต่อวันร่วมกับการให้ไทรอยด์ฮอร์โมนอาจลดแอนติบอดี้ในร่างกายที่ทำให้เกิดภาวะนี้  รวมทั้งซีลีเนียมอาจช่วยปรับปรุงอารมณ์ ความรู้สึกโดยรวมของคุณภาพชีวิตที่ดี 
  • ความผิดปกติที่ส่งผลต่อกระดูก และข้อต่อ ในผู้ที่มีภาวะขาดซีลีเนียม (โรค Kashin-Beck) มีงานวิจัยที่พบว่า การเติมเกลือที่อุดมด้วยซีลีเนียมลงในอาหารสามารถป้องกันโรค Kashin-Beck ในเด็กได้ แต่ซีลีเนียมไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ หรือการเคลื่อนไหวในเด็กที่เป็นโรค Kashin-Beck
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง และโปรตีนในปัสสาวะ (ภาวะครรภ์เป็นพิษ) สตรีมีครรภ์ที่มีซีลีเนียมในเลือดต่ำอาจมีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษสูงขึ้น ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของการตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ที่รับประทานซีลีเนียม 60-100 ไมโครกรัมต่อวัน นานถึง 6 เดือนระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษน้อยลง

Selenium

ผลข้างเคียงในการใช้ซีลีเนียม

สำหรับอาหารเสริมซีลีเนียมนั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อรับประทานในปริมาณที่น้อยกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวันในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ซีลีเนียมอาจไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่สูงเกิน 400 ไมโครกรัมต่อวัน หรือรับประทานต่อเนื่อง สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาความเป็นพิษของซีลีเนียม โดยเป็นปริมาณที่สูงกว่าค่าอาหารที่แนะนำ (RDA) ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ เช่น กัน

การรับซีลีเนียมที่มากเกินไปอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตัวสั่น หน้ามืด หน้าแดง ปัญหาการแข็งตัวของเลือด ปัญหาเกี่ยวกับตับ และไต และผลข้างเคียงอื่นๆ ปริมาณซีลีเนียมในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญ ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เล็บหลุด สูญเสียพลังงาน รวมทั้งความหงุดหงิด การเป็นพิษจากการใช้ในระยะยาวจะคล้ายกับพิษจากสารหนู โดยมีอาการต่างๆ ได้แก่ ผมร่วง เล็บขบเป็นเส้นสีขาว เล็บอักเสบ เหนื่อยล้า หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน กลิ่นปาก และในปากมีรสโลหะ

ข้อควรระวังในการใช้ซีลีเนียม

ซีลีเนียมที่รับประทานในระยะสั้น และในปริมาณที่ไม่เกิน 400 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ซีลีเนียมอาจไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตรเมื่อรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวัน หรือรับประทานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นควรใช้ตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยปริมาณซีลีเนียมที่มากเกินไปทำให้เกิดความเป็นพิษ แต่ในสตรีที่ติดเชื้อ HIV อาจเพิ่มระดับไวรัสในน้ำนมแม่

สำหรับเด็กๆ ซีลีเนียมอาจปลอดภัย หากรับประทานอย่างเหมาะสม  สำหรับเด็กการรับประทานในระยะสั้นในปริมาณที่ต่ำกว่า 45 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน และไม่เกิน 60 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับทารก 7 – 12 เดือน และไม่เกิน 90 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 1 – 3 ปี และไม่เกิน150 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับเด็ก 4 ถึง 8 ปี และไม่เกิน 280 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 9 ถึง 13 ปี และไม่เกิน 400 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป แต่ทั้งนี้ต้องรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

ในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟอกไต ระดับซีลีเนียมในเลือดอาจต่ำในผู้ที่ได้รับการฟอกไต การใช้สารละลายฟอกไตร่วมกับซีลีเนียมอาจทำให้ระดับซีลีเนียมเพิ่มขึ้น แต่บางคนอาจยังจำเป็นต้องเสริมซีลีเนียม

ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย การรับประทานซีลีเนียมอาจทำให้ภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ขาดสารไอโอดีน ในกรณีนี้คุณควรทานไอโอดีนร่วมกับซีลีเนียม ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการใช้ซีลีเนียม

สำหรับระบบสืบพันธ์เพศชาย ซีลีเนียมอาจลดความสามารถของตัวอสุจิในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง ควรงดซีลีเนียมหากต้องการอสุจิที่มีคุณภาพ

การรับประทานซีลีเนียมในมะเร็งผิวหนัง ในคนที่เป็นมะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่เมลาโนมา การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซีลีเนียมในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นซ้ำของมะเร็งได้เล็กน้อย โปรดหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซีลีเนียมในระยะยาว หากคุณเคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน

ไม่ควรใช้ซีลีเนียมในช่วงที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด และควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติการใช้ซีลีเนียม เพราะซีลีเนียมสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดระหว่าง และหลังการผ่าตัด หยุดใช้ซีลีเนียมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัดตามกำหนด

ข้อห้ามคือ ห้ามรับประทานในผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซีลีเนียมอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้อาการแย่ลง โดยผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัส Erythematosus (SLE) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) และอื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงการเสริมซีลีเนียมอย่างเด็ดขาด

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *