Enjoyed looking at this, very good stuff, regards .
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มต่อการติดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่กระแสเลือด โดยมีความรุนแรง ที่นำไปสู่ภาวะอวัยวะภายในล้มเหลวและอันตรายถึงชีวิตได้
อาการติดเชื้อในกระแสเลือด
หากสงสัยว่าติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด สิ่งที่ควรทำคือ :
- อย่าพยายามทำการวินิจฉัยด้วยตนเอง
- รีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน
- อาการอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่นๆ
อาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหลังจากการติดเชื้อที่ไม่ดี ค่อนข้างละเอียดอ่อน และอาจเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะร้ายแรงอื่น ๆ อย่างไรก็ตามภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมักเกิดกับผู้ที่มีการติดเชื้อมาก่อนหน้านี้
การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดทำให้เกิด :
- ไข้สูง อาจจะหนาวสั่น
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจเร็ว
- เหงื่อออกมาก
จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากมีภาวะติดเชื้อในระยะสุดท้าย โดยมีอาการดังต่อไปนี้:
- เวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม
- ความตื่นตัวลดลง
- พูดไม่ชัด
- ท้องร่วง คลื่นไส้ หรืออาเจียน
- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง รู้สึกไม่สบายตัว
- หายใจเร็ว
- ปัสสาวะออกน้อย
- ผิวหนังที่เย็นชื้น และซีด หรือเปลี่ยนสี
- ซีดที่ปลายแขนเป็นสัญญาณว่ามีเลือดไปเลี้ยงไม่ดี (เลือดไหลเวียนไม่ดี)
- หมดสติ
ผู้สูงอายุ และเด็กอายุน้อยมากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด โดยเฉพาะหลังจากการติดเชื้อและยังเป็นผู้มีความเสี่ยงที่ภาวะติดเชื้อจะแย่ลง
เมื่อเข้ารับการช่วยเหลือจากแพทย์สิ่งที่ควรจะบอกแพทย์คือ การเข้ารับการรักษาหรือการผ่าตัดก่อนหน้า เพื่อให้แพทย์ทราบถึงความเป็นไปในการติดเชื้อในกระแสเลือด
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากอะไร?
การติดเชื้อในร่างกายใด ๆ สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้และเชื้อที่ติดในกระแสเลือดส่วนใหญ่คือ เชื้อแบคทีเรีย อวัยวะที่มีความอ่อนแอต่อการติดเชื้อเป็นพิเศษคือ ปอด ช่องท้อง และทางเดินปัสสาวะ
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าภาวะติดเชื้อก็สามารถเกิดจากเชื้อราได้เช่นกัน
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากอายุมากขึ้นและมีผลต่อภูมิคุ้มกันให้ลดลง และโอกาสในการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดยังเพิ่มขึ้นหลังการผ่าตัดอีกด้วย
การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ยาปฏิชีวนะช่วยได้ในการรักษาระยะแรกของอาการ แต่แพทย์จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างทันท่วงที สำหรับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่พบในระยะหลังจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ด้วยวิธีการรักษาดังต่อไปนี้:
- การให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ
- Vasopressors
- การฟอกไต
- เครื่องสนับสนุนการรักษาอื่นๆ ตามความจำเป็น
ในกรณีติดเชื้อรุนแรงอาจต้องผ่าตัด สิ่งนี้มักเกี่ยวข้องกับการกำจัดเนื้อเยื่อที่การติดเชื้อได้รับความเสียหาย
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
- ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
- อาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดวินิจฉัยได้ยาก และอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ
- การรักษาอย่างฉุกเฉินเป็นกุญแจสำคัญในการรอดชีวิตจากภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นความผิดปกติที่เกิดในภูมิต้านทานของร่างกายเรา โดยมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดที่เรียกว่า ภาวะโลหิตเป็นพิษ
ภาวะโลหิตเป็นพิษนำไปสู่ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด:
- สารพิษถูกปล่อยออกมาจากแบคทีเรียทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ
- ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองต่อการอักเสบจากสารพิษ เราเรียกว่าภาวะนี้ว่า ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยติดเชื้อในกระแสเลือดมากกว่า 50,000 คนต่อปี โดยทั่วไปอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส การผ่าตัด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยเด็ก ทารกแรกเกิด หรือการใส่อุปกรณ์ต่างๆเข้าสู่ร่างกาย มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง
ทั้งนี้เมื่อเกิดการติดเชื้อสามารถกระจายไปทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิในร่างกายไม่สม่ำ เสมอ ระบบการเดินหายใจแย่ลง และผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อในกระแสเลือดดังกล่าว มักนำไปสู่ภาวะการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/septicemia
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/sepsis-septicemia-blood-infection
- https://www.nhs.uk/conditions/sepsis
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก