หญ้าหวาน (Stevia)

หญ้าหวาน (Stevia)

15.10
1239
0

หญ้าหวานคือ พืชที่มีความหวานมากที่ใช้ในเครื่องดื่ม และชามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

พืชชนิดนี้มีต้นกำเนิดในปาราไกว และบราซิล แต่เป็นที่ทราบกันว่าถูกปลูกในญี่ปุ่น และจีน ใชเพื่อเป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ (Non-Nutritive Sweetener) และเป็นอาหารเสริม 

สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการนั้นมีพลังงานน้อยมากจนถึงไม่มีเลย หญ้าหวานใช้เป็นน้ำตาลทางเลือกที่ใส่ในอาหาร หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ 

หญ้าหวานคืออะไร 

หญ้าหวาน เป็นพืชในตระกูลดอกทานตะวัน หญ้าหวานมีอยู่ 150 ชนิด มีต้นกำเนิดในอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ 

ประเทศจีนเป็นแหล่งส่งออกหญ้าหวานที่ใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหญ้าหวานถูกปลูกในหลายประเทศ ซึ่งสามารถหาซื้อ หรือปลูกเองได้ 

หญ้าหวานมีความหวานมีความหวานกว่าน้ำตาลปกติ 200-300 เท่า ปลูกได้ในพื้นที่เล็ก ๆ และต้องการน้ำน้อย 

หญ้าหวานมีไกลโคไซด์อยู่ 3 ชนิด และมีสารที่ให้ความหวานที่อยู่ในใบของหญ้าหวาน ไกลโคไซด์เหล่านั้น ได้แก่:

  • Stevioside
  • Rebaudiosides A, C, D, E, และ F
  • Steviolbioside
  • Dulcoside A

Stevioside และ Rebaudioside A (Reb A) เป็นสารที่พบมากที่สุดในสาร 3 ชนิด 

คำว่า “Stevia” ได้มาจากสาร Steviol Glycosides และ Reb A  

หญ้าหวานมี Stevioside ประมาณ 18% 

ประโยชน์ของหญ้าหวาน 

เนื่องจากเป็นสารให้ความหวานที่เป็นทางเลือกของซูโครส หรือน้ำตาลปกติ การใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง 

หญ้าหวานถูกมองว่าไม่มีพลังงาน แต่ก็ไม่ได้มีพลังงานเท่ากับศูนย์ แต่มีพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับซูโครส 

ความหวานของหญ้าหวานเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีประโยชน์กับผู้ที่ชอบอาหารจากเครื่องดื่มที่เป็นธรรมชาติ ด้วยพลังงานที่ต่ำ จึงเหมาะแก่การควบคุมเบาหวาน หรือลดน้ำหนัก 

เหล่านี้คือประโยชน์ของหญ้าหวาน 

Stevia

1) เบาหวาน 

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหญ้าหวานไม่มีพลังงาน หรือคาร์โบไฮเดรตเมื่อนำไปใส่ในอาหาร จึงไม่มีผลต่อน้ำตาลในเลือด หรือการตอบสนองต่ออินซูลิน ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายขึ้น และยังสามารถควบคุมอาหารได้ 

ในการศึกษาหนึ่งของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 รายงานหญ้าหวานสามารถกระตุ้นให้การลดลงของกลูโคสในเลือด และการตอบสนองต่อกลูคากอนหลังการรับประทานอาหาร กลูคากอนเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมกระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งกลไกนี้มักผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวาน 

2) ควบคุมน้ำหนัก 

สาเหตุของน้ำหนักเกิน และความอ้วนนั้นมีได้หลายอย่าง เช่น การไม่ออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลเพิ่มขึ้น

การรับประทานมากขึ้นมีความเชื่อมโยงกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และลดการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด  หญ้าหวานไม่มีหน้าตาล และมีพลังงานต่ำมาก ซึ่งสามารถช่วยให้รับประทานอาหารได้อย่างสมดุลโดยที่ไม่เสียรสชาติของอาหาร 

3) มะเร็งตับอ่อน 

หญ้าหวานมีสเตอรอลอยู่มาก และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง รวมไปถึง Kaempferol จากการศึกษาพบว่า Kaempferol สามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อนได้ 23 เปอร์เซนต์ 

4) ความดันโลหิต 

ไกลโคไซด์บางชนิดในหญ้าหวานพบในหลอดเลือด พวกมันสามารถขับโซเดียม และปัสสาวะได้ 

การศึกษาในปี 2003 แสดงให้เห็นว่าหญ้าหวานช่วยลดความดันโลหิต ทั้งยังอาจมีฤทธิ์ต่อการทำงานของหัวใจที่ทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติ และควบคุมการเต้นของหัวใจ 

อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดยังไม่แสดงให้เห็นว่าหญ้าหวานมีผลต่อความดันโลหิต ซึ่งจำเป็นต้องทำการศึกษาต่อไป 

5) อาหารของเด็ก 

อาหาร และเครื่องดื่มที่มาจากหญ้าหวานมีบทบาทสำคัญในการลดลงของพลังงานจากสารให้ความหวานที่ไม่ต้องการในอาหารของเด็ก 

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายที่มีส่วนประกอบของหญ้าหวาน ตั้งแต่น้ำสลัดไปจนถึงขนม ซึ่งสามารถให้เด็กรับประทานได้โดยไม่มีพลังงานเพิ่ม และมีน้ำตาลที่น้อยลง 

การรับประทานน้ำตาลที่มากไปในเด็กมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วน และโรคหลอดเลือดหัวใจ 

6) การแพ้ 

ในปี 2010 มีการศึกษาเกี่ยวกับการแพ้หญ้าหวาน 

จากการศึกษาพบว่า Steviol Glycosides ไม่เกิดปฏิกริยา และไม่ถูกเผาผลาญ ดังนั้น การแพ้จึงไม่เกิดขึ้นเมื่อถูกบริโภคในอาหาร 

แม้แต่หญ้าหวานบริสุทธิ์ก็ไม่ก่อให้เกิดการแพ้เช่นกัน ยังไม่มีการรายงานเกี่ยวกับการแพ้หญ้าหวานตั้งแต่ปี 2008 

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *