ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไซยาไนด์ (The Facts About Cyanides)

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไซยาไนด์ (The Facts About Cyanides)

20.07
603
0

สารไซยาไนด์คืออะไร 

ไซยาไนด์ หรือ Cyanide คือ พิษที่ออกฤทธิ์เร็วซึ่งอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ มักนำมาใช้เป็นอาวุธเคมีในสงครามโลกครั้งที่ 1 ไซยาไนด์ และสารประกอบที่ส่วนผสมของไซยาไนด์มักถูกนำมาใช้ในโรงงาน และกระบวนการผลิต ในปี 2004 สหรัฐอเมริกาได้ผลิตโซเดียมไซยาไนด์ และไฮโดรเจนไซนาไนด์ออกมาถึง 286 ล้านปอนด์ และมากกว่า1.8 พันล้านปอน์ตามลำดับ เรายังพบสารไซยาไนด์ในระดับอ่อนๆในสิ่งมีชีวิต และพบได้ในบุหรี่  ท่อไอเสียรถยนตร์  และในอาหารเช่นผักโขม หน่อไม้ อัลมอนด์ ถั่วลิมา เม็ดผลไม้ และมันสำปะหลัง

สารเคมีบางชนิด และคุณสมบัติบางอย่างของไซยาไนด์ที่อาจมีส่วนในการเกิดอุบัติเหตุในวงการอุตสาหกรรม และการก่อการร้ายคือ:

  • ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ (AC) คือของเหลวไม่มีสีหรือเป็นสีฟ้าจางๆที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 78° F  และเป็นแก๊สไม่มีสีที่มีอุณหภูมิสูง มีกลิ่นอัลมอนด์ขม และระเหยง่าย สามารถติดไฟได้ที่อุณหภูมิห้อง
  • โซเดียมไซยาไนด์ และโปรแตสเซียมไซยาไนด์จะเป็นผลสีขาว ฮาจมีกลิ่นอัลมอนด์ขม ชนิดเปียกสามารถเป็นไฮโดนเจนไซยาไนด์ได้
  • สารประกอบไซยาโนเจนสามารถสร้างไซยาไนด์ได้ ไซยาโนเจนคลอไรด์ (CK) คือ ก๊าซเหลวที่ไม่มีสีมีมวลหนักกว่าอากาศ และมีกลิ่นฉุน กลิ่นสามารถสร้างความระคายเคืองสูง ละลายได้ในน้ำ และเป็นตัวทำละลายอินทรีย์

ไซยาไนด์มีประโยชน์อย่างไร 

ไซยาไนด์ และสารประกอบที่มีไซยาไนด์ คือ ส่วนประกอบถูกนำมาใช้ประโยชน์ในยาฆ่าแมลง และการรมควัน พลาสติก ชุบโลหะ ล้างฟิลม์ และทำเหมือง ในอุตสาหกรรมยา และสิ่งทอก็มักต้องใช้ไซยาไนด์ ไซยาโนเจนถูกนำมาใช้ทำเชื้อเพลิงจรวด ในอดีตไฮโดนเจนไซยาไนด์เคยนำมาใช้ทำอาวุธเคมี การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้า โรงงานเคมี และการบำบัดน้ำเสียจะสร้างไซยาไนด์ขึ้นมาได้ ในระหว่างการฆ๋าเชื้อน้ำด้วยคลอรีน อาจทำให้เกิดไซยาโนเจนคลอไรด์ในปริมาณอ่อนๆได้

เราอยู่กับความเสี่ยงของไซยาไนด์อย่างไร 

คนเราอาจได้รับความเสี่ยงกับระดับไซยาไนด์ต่ำๆในการใช้ชีวิตประจำวันจากอาหาร การสูบบุหรี่ และแหล่งอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามก็พบว่าไซยาไนด์ก็อาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้จากอุบัติเหตุ การฆ่าตัวตายหรือการฆาตกรรม การสูดดมก๊าซไซยาไนด์ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ปิด ก็จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างเห็นได้ชัดเจน อาหาร และเครื่องดื่มที่มีไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบก็เป็นาสาเหตุที่ส่งผลต่อสุขภาพได้ 

The Facts About Cyanides

สัญญาณ และอาการเฉพาะจากการสัมผัสไซยาไนด์คืออะไร 

ผลต่อสุขภาพจากการสัมผัสไซยาไนด์ระดับสูงสามารถมีอาการได้ตั้งแต่วินาทีไปจนถึงหลายนาที บางสัญญาน และอาการไซยาไนด์เป็นพิษคือ:

  • อ่อนแรง และสับสน
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • ภาวะเลือดเป็นกรด
  • มีอาการงับอากาศคล้ายภาวะขาดอากาศหายใจแต่มีอาการประทันหันมากกว่า
  • หายใจลำบาก มีภาวะหยุดหายใจ
  • หมดสติ
  • ชักอาจถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้น

ระบบประสาทส่วนกลาง และกล้ามเนื้อหัวใจมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษต่อการสัมผัสไซยาไนด์เพราะต้องการออกซิเจนสูง ผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิ และระยะเวลาในการสัมผัส ปริมาณ และรูปแบบของไซยาไนด์

การรักษาเมื่อสัมผัสไซยาไนด์ทำอย่างไร  

สิ่งที่สำคัญที่สุดขั้นแรกในการรักษาเมื่อสัมผัสไซยาไนด์ คือ การเคลื่อนย้ายคนไข้จากบริเวณที่สัมผัสไซยาไนด์ไปยังพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท  และจึงเริ่มขจัดพิษ การกำจัดพิษคือต้องถอดเสื้อผ้าของคนไข้ที่มีการปนเปื้อนออก และล้างตัวคนไข้ทั้งตัว และผมด้วนสบู่ และน้ำ ล้างตาคนไข้ด้วยน้ำในปริมาณมากหรือนำเกลือฆ่าเชื้อ นำเสื้อผ้าที่มีการปนเปื้อนห่อพลาสติดในถุงสองชั้นก่อนนำไปทิ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำในอนาคต

พิษจากไซยาไนด์สามารถรักษาได้ด้วยการให้ออกซิเจนอย่างรวดเร็ว และใช้ยาต้านพิษโซเดียมไนเตรท และโซเดียมไธโอซัลเฟต โซเดียมไนเตรทนำมาใช้ผ่านหลอดเลือดดำ 

หากคนไข้คือผู้ประสบเหตุจากการสูดดมควัน และอาจมีระดับคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ต้องให้โซเดียมไธโอซัลเฟตเท่านั้น โซเดียมไนเตรทอาจผลิตเมธฮีโมโกลบินมากเกินไป  และทำให้ความสามารถในการนำพาออกซิเจนมีอันตราย ยาต้านพิษจะทำงานอย่างช้าๆ และปรับสมดุลปริมาณยาเพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาดในคนไข้ 

การให้น้ำเกลือ และท่านอนหงายมักถูกแนะนำสำหรับโซเดียมไนเตรทที่ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อมีการเปลี่ยนท่า การฉีดโซเดียมไบคาร์บอเนตอาจมีความจำเป็นในการแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด

คนไข้

อาการน้อย

(มีสติ)

อาการรุนแรง

(ไม่มีสติ)

การรักษาอื่นๆ

เด็ก หากคนไข้มีสติ และไม่มีสัญญานหรืออาการ ยาต้านพิษอาจไม่มีความจำเป็น โซเดียมไนเตรท: 0.12 – 0.33 มล/กก ไม่ควรเกิน 10 มล ของ 3% จากสารละลายทางเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 5 นาที หรือช้าลงหากความดันโลหิตต่ำดีขึ้น

 และ

โซเดียมธีโอซัลเฟต: 1.65 มล/กก 25% สารละลายผ่านสายน้ำเกลือเกิน 10-20 นาที

เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อมีการเปลี่ยนท่า การให้น้ำเกลือ และท่านอนหงายมักถูกแนะนำ

หากภาวะหยุดหายใจยังคงอยู่หลังได้รับยาต้านพิษ ให้พิจารณาโซเดียมไบคาร์บอเนตสำหรับเลือดเป็นกรดรุนแรง

ผู้ใหญ่ หากคนไข้มีสติ และไม่มีสัญญานหรืออาการ ยาต้านพิษอาจไม่มีความจำเป็น โซเดียมไนเตรท : 10 – 20 มล. ของ 3% สารละลายผ่านสายน้ำเกลือเกิน 5 นาที 

 และ

โซเดียมไธโอซัลเฟต: 50 มล.ของ  25%

ของสารละลายนานเกิน 10- 20นาที

 

 

 

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *