การรับประทานอาหารมังสวิรัติอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน บางคนอาจจะเป็นมังสวิรัติเฉพาะเวลาที่พวกเขาต้องการ หรือสะดวก เพราะการกินมังสวิรัติแบบเต็มที่นั้นจำเป็นต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองจากที่เคยรับประทานอาหารที่เน้นเนื้อสัตว์เป็นหลักมาโดยตลอด
ดังนั้นขอแนะนำเทคนิคสู่การเป็นผู้รับประทานอาหารมังสวิรัต คือ
เคล็ดลับเพื่อเริ่มสู่การเป็นมังสวิรัติ
การเป็นมังสวิรัติคือ การกินพืชทุกชนิด ซึ่งนับเป็นวิถีการกินอาหารรูปแบบหนึ่ง และเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกินมังสวิรัตแบบหักดิบ หลายคนจึงมักประสบกับความล้มเหลว การเปลี่ยนแปลงอย่างมีศักยภาพจึงควรดำเนินการไปอย่างมีสติ และค่อยเป็นค่อยไป
อ่อนโยนกับตัวเอง
เมื่อจะทำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกี่ยวกับอาหารที่รับประทาน แม้ว่าครอบครัว และเพื่อนจะให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี แต่ก็นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เป็นการเริ่มต้นสู่เมนูอาหารใหม่ ๆ สูตรอาหารใหม่ เทคนิคการเตรียมอาหารแบบใหม่ สร้างวิธีการใหม่ในการซื้อ และจัดเก็บอาหาร เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง
ระลึกเอาไว้ว่าการเป็นมังสวิรัติก็เหมือนกับการเดินทางครั้งใหม่ ควรออกแบบให้เหมาะสมกับร่างกาย และไลฟ์สไตล์ของเราให้มากที่สุด และจำเป็นต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อให้ระบบย่อยอาหาร และทำการปรับตัวให้เข้ากับวิธีการรับประทานอาหารรูปแบบใหม่
หากลงเอยด้วยการเป็น Pescatarian (มังสวิรัตที่กินปลา) หรือเพียงแค่ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง มีข้อดีคือช่วยลดปริมาณเนื้อสัตว์บนจานอาหารได้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเพียงพอแล้ว
เริ่มทีละน้อย
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น เดียวกับการเลิกสูบบุหรี่ ดังนั้น การกินมังสวิรัติให้ถูกวิธี คือ ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป:
- เริ่มต้นด้วยการงดการกินเนื้อวัว และเนื้อหมูก่อน จากนั้นก็งดเนื้อไก่ และสุดท้ายคือ ปลา
- กินมังสวิรัติให้ได้ 2 วันต่อสัปดาห์ ก่อนเพิ่มวันขึ้นเรื่อย ๆ
- กินมังสวิรัติให้ครบ 3 มื้อ
หากคุณต้องการทานมังสวิรัติ อาจเริ่มจากการกินอาหารมังสวิรัติ ร่วมกับผลิตภัณฑ์นม และไข่ จากนั้นอาจเปลี่ยนมาเป็นนมข้าวโอ๊ต หรือนมอัลมอนด์ในมื้ออาหารแทนได้
ห้ามทำการเปลี่ยนแปลงที่มากเกินไปในคราวเดียว
การตัดอาหารที่เคยกินมาตลอดในคราวเดียวอาจเป็นการหักดิบความรู้สึกที่มากเกินไป และเพิ่มความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นมังสวิรัตได้
สร้างแผนมื้ออาหารมังสวิรัต
หากไม่มีแผนการใด ๆ เลย คงเป็นะการยากที่จะเตรียมหาซื้อวัตถุดิบจากท้องตลาด หรืออาจคว้าอาหารทุกอย่างที่พบ เพราะทำตามความอยาก และเลือกสิ่งที่หาง่ายไว้ก่อน และคนเราไม่สามารถรับประทานอาหารซ้ำ ๆ ทุกวันได้ หรือรับประทานแต่อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
ดังนั้นการวางแผนมื้ออาหารล่วงหน้า จึงเป็นการกินมังสวิรัติให้ถูกวิธี อย่างไรก็ตามความต้องการของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน
และอย่าลืมรวมของว่างที่เหมาะกับการเป็นมังสวิรัตเอาไว้ในมื้ออาหารด้วย
แนะนำให้ลองเลือกวันกินอาหารมังสวิรัติอย่างวันอาทิตย์ เพื่อทำรายการซื้อข้าวของที่ตลาดในครั้งต่อไป
ทดลองก่อนตัดสินใจ
ตั้งเป้าหมายกับเมนูอาหารง่าย ๆ สัก 10 เมนู เพื่อพิจารณาว่าตนเองเหมาะที่จะเปลี่ยนเป็นมังสวิรัติ หรือไม่ แนะนำให้เน้นอาหารที่ ‘ง่าย’ แต่มีประโยชน์ เป็นวิธีการจัดการการเปลี่ยนแปลง ที่ควรลอง:
ลองผลไม้ หรือผักใหม่ ๆ ทุกสัปดาห์
ทดลองผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ เช่น อาหารประเภท Plant Base แต่ก็ไม่ควรพึ่งพาผลิตภัณฑ์นี้ทั้งหมด และไม่ควรละเลยผัก ผลไม้ เพราะควรเป็นอาหารหลักในมื้อมังสวิรัติ
ลองอาหารมังสวิรัติใหม่ ๆ อยู่เสนอ อย่างอาหารอินเดีย หรืออาหารตะวันออกกลาง
รู้จักที่มาของแหล่งโปรตีน
พิจารณาเมล็ดฟักทอง ถั่ว และถั่วชิกพีคั่วเอาไว้ เป็นอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ และมีโปรตีนสูง
หรือกรีกโยเกิร์ตที่ไม่ใช่นมที่จะกินเป็นมื้อเช้า หรือใช้ทำสมูทตี้สำหรับมื้อกลางวัน
อย่าลืมถั่ว
ถั่วเป็นอาหารมังสวิรัติที่ดี ปรุงครั้งละมาก ๆ เพื่อกินทุกสัปดาห์ และทดลองเมนูใหม่ ๆ จากถั่ว เพื่อทดแทนการกินเนื้อสัตว์ที่ยอดเยี่ยม และเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างในกรณีที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารกับถั่ว ควรปรุงอาหารเอง และแช่ถั่วเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อลดปัญหาดังกล่าว
เข้าสู่ลัทธิการเป็นมังสวิรัต
ลองทำอาหารเมนูใหม่ ๆ เพื่อการกินมังสวิรัต โดยใช้เนื้อสัตว์ทดแทน เช่น Plant Base เพิ่มถั่วเลนทิลแทนพาสต้าในโบโลเนส ใช้ถั่วชิกพีแทนไก่ในสลัด เป็นต้น
นำเครื่องปรุงรสที่คุ้นเคยมาประกอบอาหาร
นำเครื่องปรุงรสที่มีอยู่แล้วมาปรุงแต่งจาน และเพิ่มรสชาติ เพื่อให้ลิ้นได้เกิดความคุ้นเคยกับรสชาติ และสามารถปรับตัวเข้าสู่การเป็นมังสวิรัติได้ง่ายขึ้น
หาเพื่อน
การมีเพื่อนเร่วมเป็นมังสวิรัติ เป็นวิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนอาหารเป็นมังสวิรัตได้ อาจลองสลับสูตรอาหารเพื่อดูว่าเตรียมง่าย และอร่อย หรือไม่ และการสนับสนุนจากครอบครัว และเพื่อนยังสามารถจูงใจในวันที่เกิดความท้าทายได้
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก