โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

11.06
9760
0

โดยปกติโรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) คือโรคเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อในลำไส้ใหญ่  ซึ่งเป็นโรคที่มีการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่มีอาการคล้ายกับโรคโคร์หน 

ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนสุดท้าย ซึ่งทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารที่ย่อยเสร็จแล้วออกจากร่างกาย โดยขับกากอาหารเข้าสู่ทวารหนักขับออกร่างกายเป็นอุจจาระ 

ในกรณีที่ลำไส้อักเสบรุนแรงส่งผลให้มีแผลเกิดขึ้นบนเยื่อบุลำไส้ใหญ่ โดยแผลที่เกิดขึ้นอาจมีเลือดไหลออกมาพร้อมกับหนองและเยื่อเมือก 

ปัจจุบันมียาและทางเลือกในการรักษาหลาย โดยแพทย์จะปรับแผนการรักษาโรคลำไส้อักเสบตามที่ผู้ป่วยต้องการ

ในบทความนี้ เราได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการและสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบได้ รวมถึงทางเลือกในการรักษา 

อาการลำไส้อักเสบ

โรคลำไส้อักเสบอาการท้องเสีย มักจะเป็นสัญญาณแรกของอาการ

เมื่อผู้ป่วยมีอาการท้องเสียเกิดขึ้นทำให้มีอุจจาระขับออกจากร่างกายจำนวนมาก บางคนอาจเคยมีอาการปวดท้องบิดอย่างรุนเเรงจนต้องรีบเข้าห้องน้ำ

สำหรับอาการท้องเสียสามารถเกิดขึ้นได้ทันแบบเฉียบพลันหรือค่อยๆเกิดขึ้นได้ โดยความรุนเเรงของอาการท้องเสียขึ้นอยู่กับระดับการแพร่กระจายของการติดเชื้อ

อาการทั่วไปของโรคลำไส้อักเสบได้แก่:

  • ปวดท้อง
  • อุจจาระเป็นเลือดหรือมีเมือก

บางคนอาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • อ่อนล้าหรืออ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดลง
  • เบื่ออาหาร
  • ภาวะเลือดจาง
  • อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น
  • ภาวะขาดน้ำ
  • ต้องการอุจจาระตลอดเวลา

โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในตอนเช้า

แต่สำหรับอาการที่เกิดขึ้นไม่รุนเเรงหรือหายไปเองได้ภายในไม่กี่เดือน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเช่นกัน โดยมีวิธีการรักษาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับบริเวณลำไส้ใหญ่ที่เกิดการอักเสบ 

ประเภทของโรคลำไส้อักเสบ

อาการของโรคลำไส้อักเสบมีหลายประการ โดยขึ้นอยู่กับบริเวณของลำไส้ที่เกิดการติดเชื้อ ซึ่งประเภทของลำไส้อักเสบได้แก่

ชนิดเยื่อบุผิวบริเวณลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอักเสบ

โรคลำไส้อักเสบชนิดนี้เกิดขึ้นที่บริเวณสุดท้ายลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้ 

  • เลือดออกที่ลำไส้ตรง โดยอาจเป็นเพียงอาการเดียวที่เกิดขึ้น
  • เจ็บปวดที่ลำไส้ตรง
  • ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ แม้ว่าปวดท้องต้องการถ่ายอุจจาระบ่อยๆ

โดยปกติโรคลำไส้อักเสบชนิดนี้มีอาการเจ็บปวดน้อยที่สุด

ลำไส้อักเสบชนิด Proctosigmoiditis 

หมายถึงการอักเสบที่ส่วนลำไส้ตรงและลำไส้ส่วนที่มีชื่อเรียกว่า sigmoid ซึ่งเป็นลำไส้ส่วนสุดท้ายที่มีลักษณะโค้งลง 

อาการได้แก่:

  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ต้องการอุจจาระตลอดเวลา

ลำไส้อักเสบด้านซ้าย

หมายถึงอาการอักเสบของลำไส้ตรงและลำไส้บริเวณส่วนที่โค้งลงมาด้านซ้ายซึ่งมีลักษณะโค้งเป็นตัวเอสมีชื่อเรียกว่า sigmoid

อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้แก่:

  • ท้องเสียเป็นเลือด
  • ปวดท้องด้านซ้ายอย่างรุนเเรง
  • น้ำหนักลดลง

ชนิด Pancolitis

หมายถึงโรคลำไส้อับเสบที่เกิดขึ้นกับลำไส่ใหญ่ทั้งหมด ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ :

  • ท้องเสียและถ่ายเป็นเลือดบางครั้ง
  • ปวดท้องและท้องเป็นตะคริวอย่างรุนเเรง
  • อ่อนล้าหมดเเรง
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

ลำไส้ใหญ่อักเสบชนิด Fulminant colitis

หมายถึงโรคลำไส้ใหญ่ที่เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงทั่วทั้งลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก

อาการที่เกิดขึ้นได้แก่อาการปวดท้องและท้องเสียอย่างรุนแรง ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงและมีอาการช็อกได้

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิด Fulminant colitis สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างเช่นลำไส้โป่งพองได้ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังขั้นรุนแรงและทำให้ผนังลำไส้ทะลุได้ 

การรับประทานอาหาร

 การปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารสามารถบรรเทาอาการของลำไส้อักเสบได้ โดยสามารถปฏิบัติได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

  • แบ่งการทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หรือทานอาหารหลายมื้อในปริมาณเล็กน้อย เช่นทานอาหาร 5-6 มื้อต่อวัน
  • ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลและคาเฟอีน เนื่องจากเพิ่มโอกาสเกิดท้องเสียได้
  • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโซดา ซึ่งเพิ่มปริมาณแก๊สในระบบทางเดินอาหาร
  • ควรจดบันทึกรายการอาหารที่ทานเป็นประจำเพื่อระบุประเภทของอาหารที่ทำให้อาการลำไส้อักเสบรุนแรงมากขึ้น

ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการลำไส้อักเสบเกิดขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ทานอาหารชนิดพิเศษ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน โดยอาหารชนิดพิเศษที่แพทย์แนะนำมีดังต่อไปนี้

  • อาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำ
  • อาหารที่ไม่มีแลกโตส
  • อาหารไขมันต่ำ
  • อาหารที่ไม่มีเกลือ

การทานอาหารเสริมหรือการหยุดทานอาหารบางประเภทสามารถช่วยบรรเทาอาการลำไส้อักเสบได้ อย่างไรก็ตามก่อนเลือกทานอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

Ulcerative Colitis

สาเหตุของโรคไส้อักเสบ

ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดโรคนี้ได้แก่

พันธุกรรม

มีงานวิจัยที่ระบุว่าผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบอาจมีลักษณะสารพันธุกรรมหรอยีนบางชนิด โดยยีนที่มีลักษณะพิเศษนี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายหรือทำให้เกิดโรคขึ้นได้ เมื่อผู้ป่วยมีอายุเพิ่มมากขึ้น

สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ได้แก่ปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อาหาร
  • มลพิษทางอากาศ
  • การสูบบุหรี่

ระบบภูมิคุ้มกัน

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีวิธีการตอบสนองต่อเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับโรคลำไส้อักเสบได้

นอกจากนี้การอักเสบยังสามารถเกิดจขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังได้

การรักษาโรคลำไส้อักเสบ

โรคลำไส้ใหญ่มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันตั้งแต่อาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือไม่มีอาการใดเกิดขึ้นเลย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการลำไส้อักเสบเกิดขึ้นจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาการของลำไส้อักเสบไม่สามารถหายไปเองได้และมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก

ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยนอก โดยประมาณ 15% เป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบรุนเเรงและผู้ป่วย 1 ใน 5 รายจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

การรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมีจุดประสงค์ดังนี้:

  • เพื่อป้องกันลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • เพื่อรักษาอาการอักเสบที่เกิดขึ้นซ้ำ 

มียารักษาโรคลำไส้อักเสบหลายชนิด โดยแพทย์จะทำการปรับแผนการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน นอกจากนี้การรักษาด้วยธรรมชาติบำบัดเป็นวิธีที่ที่ช่วยทำให้ผลลัพธ์การรักษาดีขึ้น สำหรับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มียา 3 ชนิดที่สามารถช่วยทำให้ระบบภูมิกันทำงานตามปกติ ซึ่งเป็นยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง ได้แก่

  • ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ยังยั้ง TNF-α antagonists, เช่น ยา Infliximab (Remicade) หรือ ยา  Adalimumab (Humira)
  • ยาจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ เช่นยา Tofacitinib (Xeljanz)
  • ยากดระบบภูมิต้านทาน เช่น ยา Thiopurines (Azathioprines) และยา Methotrexate

ยาเหล่านี้เป็นยาที่นำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้อักเสบปานกลางไปจนถึงรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการแพ้ยา

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้อักเสบไม่รุนแรงควรใช้ยาในกลุ่มอะมิโนซาลิไซเลต (5-ASA) ในการรักษาเบื้องต้น

ตัวอย่างเช่น

  • ยา Mesalamine
  • ยา Balsalazide
  • ยา Sulfasalazine

ยาชนิดอื่นๆ

ยาในกลุ่มอะมิโนซาลิไซเลต : ในอดีตยากลุ่มอะมิโนซาลิไซเลต (5-ASA) เป็นยาที่นำมาใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบเป็นหลัก แต่ปัจจุบันการรักษาโรคลำไส้อักเสบเน้นที่การป้องกันการติดเชื้อในระยะยาวและป้องกันการอักเสบซ้ำ

ยาสเตียรอยด์ : เป็นยาที่ช่วยจัดการกับการติดเชื้อ เมื่อยากลุ่มอะมิโนซาลิไซเลต (5-ASA) ใช้ไม่ได้ผล อย่างไรก็ตามการใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาวทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นจึงควรใช้ยาประเภทนี้ในปริมาณน้อย

การผ่าตัด

ถ้าหากการรักษาโรคลำไส้อักเสบใช้ไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเช้ารับการผ่าตัด โดยมีทางเลือกในการผ่าตัดดังต่อไปนี้

วิธีการผ่าตัดได้แก่ 

  • การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ :เป็นการผ่าตัดลำไส้บางส่วนหรือทั้งหมดออก
  • การผ่าตัดต่อลำไส้ : เป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อนำส่วนของลำไส้ที่อักเสบออกไปแล้ว จากนั้นศัลยแพทย์จะนำส่วนปลายของลำไส้เล็กต่อเข้ากับส่วนที่มีชื่อเรียกว่า Kock pouch ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ที่มีหน้าที่กักเก็บกากอาหารที่ผ่านการย่อยจากลำไส้เล็ก 
  • การผ่าตัดที่ลำไส้ส่วนปลาย (Ileoanal pouch) : เมื่อลำไส้ที่ติดเชื้อออกไปเเล้ว ศัลยแพทย์จะทำการนำส่วนปลายของลำไส้เล็กเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆถาวรหนัก

ข้อมูลจากสถาบันโรคทางเดินอาหารระบุว่า ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่รุนแรงส่วนมากประมาณ 10-15 % จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ใหญ่ออกทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีวิธีรักษาบำบัดทางธรรมชาติสำหรับรักษาโรคลำไส้ใหญ่ ซึ่งได้แก่การทานอาหารที่มีโพไบโอติกที่สามารถปรับสมดุลการทำงานในลำไส้ใหญ่ได้ 


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *