วิตามินอี (Vitamin E) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน พบในอาหารหลายชนิด เช่น น้ำมันพืช ซีเรียล เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ ผลไม้ ผัก และน้ำมันจมูกข้าวสาลี นอกจากนี้ยังมีเป็นอาหารเสริม
วิตามินอีใช้ในการรักษาภาวะขาดวิตามินอี ซึ่งหาได้ยาก แต่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง และในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวต่ำมาก วิตามินอียังใช้สำหรับสภาวะอื่นๆ แต่หลักฐานในการยืนยันบางประโยชน์ของวิตามินอียังต้องการการตรวจสอบเพิ่มเติม
วิตามินอีช่วยอะไร
วิตามินอีเป็นวิตามินที่สำคัญที่จำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอย่างเหมาะสม และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งหมายความว่าช่วยชะลอกระบวนการที่สร้างความเสียหายให้กับเซลล์
ประโยชน์ของวิตามินอีในการรักษาภาวะต่างๆ
วิตามินอีถูกใช้ในการรักษาภาวะต่างๆ ดังนี้
- การขาดวิตามินอี การรับประทานวิตามินอีมีประสิทธิภาพในการป้องกัน และรักษาภาวะขาดวิตามินอี
- โรคอัลไซเมอร์ การรับประทานอาหารเสริมวิตามินอีไม่ได้ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อยู่แล้ว การรับประทานวิตามินอีร่วมกับยาต้านอัลไซเมอร์บางชนิดอาจทำให้ความจำเสื่อมช้าลงได้
- ความผิดปกติของเลือดที่ลดระดับโปรตีนในเลือด “เฮโมโกลบิน” (เบต้า-ธาลัสซีเมีย) การรับประทานวิตามินอีจะเป็นปรโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคนี้
- ปวดประจำเดือน การรับประทานวิตามินอีเป็นเวลา 2 วันก่อนประจำเดือนมา และ 3 วันหลังจากเริ่มประจำเดือนอาจช่วยลดอาการปวด และลดการสูญเสียเลือดประจำเดือนได้ การรับประทานวิตามินอีร่วมกับน้ำมันปลาอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าการรับประทานวิตามินอีเพียงอย่างเดียว
- ภาวะการขาด G6PD งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานวิตามินอีอย่างเดียว หรือร่วมกับซีลีเนียมอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า ภาวะพร่อง G6PD
- เลือดออกในกะโหลกศีรษะ การรับประทานวิตามินอีทางปากดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
- ภาวะตกเลือดในช่องท้อง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การให้วิตามินอีแก่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดสามารถลดความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกในสมองได้ แต่การให้วิตามินอีในปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรงได้ เช่น กัน
- ภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย การรับประทานวิตามินอี ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์สำหรับผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก
- ความทนทานต่อไนเตรต มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานวิตามินอีทุกวันสามารถช่วยป้องกันความทนทานต่อไนเตรตได้
- การอักเสบ และการสะสมของไขมันในตับในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย (โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ หรือ NASH) การรับประทานวิตามินอีทุกวันอาจช่วยปรับปรุงการอักเสบ และสัญญาณตับของโรคตับนี้ได้
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) การรับประทานวิตามินอี ช่วยลดความวิตกกังวล ความอยากอาหาร และภาวะซึมเศร้าในสตรีบางคนที่มีภาวะ PMS
- ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่มักเกิดจากยารักษาโรคจิต (Tardive Dyskinesia) การรับประทานวิตามินอีจะช่วยในเรื่องความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Tardive Dyskinesia ดีขึ้นได้ ถึงแม้บางงานวิจัยจะบอกว่าไม่สามารถช่วยให้ดีขึ้นได้แต่อาจป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้
ผลข้างเคียงของการใช้วิตามินอี
ปกติแล้วการรับประทานวิตามินอีค่อนข้างปลอดภัย เมื่อรับประทานในปริมาณที่ต่ำกว่า 1,000 มก. ต่อวัน ซึ่งเท่ากับ 1100 IU ของวิตามินอีสังเคราะห์ (All-Rac-Alpha-Tocopherol) หรือ 1500 IU ของวิตามินอีธรรมชาติ (RRR-Alpha-Tocopherol) โปรดทราบว่าความเสี่ยงของผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับปริมาณที่สูงขึ้น ผลข้างเคียงอาจรวมถึงอาการคลื่นไส้ ท้องร่วง ปวดท้อง อ่อนเพลีย อ่อนแรง ปวดหัว ตาพร่ามัว มีผื่น ช้ำ และมีเลือดออก ในกรณที่รับประทานวิตามินอีมากกว่า 1,000 มก. ต่อวัน
การทาวิตามินอีบนผิวนั้นค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนทั่วไป แต่ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการบวม หรือคันได้
การสูดดมวิตามินอี โดยเฉพาะจากบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และมีรายงานว่าสร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อร่างกาย
ข้อควรระวังในการใช้วิตามินอี
ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ หรือกำลังให้น้ำนมบุตรควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรว่าปริมาณวิตามินอีเท่าไรที่เหมาะสม รวมทั้งการบริโภคในวัยเด็กด้วย
วิตามินอีอาจทำให้เลือดออกผิดปกติแย่ลง หากมีภาวะเลือดออกผิดปกติ แม้แต่เล็กน้อยก็ตาม ให้หลีกเลี่ยงการเสริมวิตามินอี
วิตามินอีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินอีในปริมาณที่มากกว่า 400 IU ต่อวัน รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวาน และมะเร็งลำคอ
สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก ถึงแม้จะยังไม่ชัดเจน แต่มีความน่ากังวลว่าการรับประทานวิตามินอีอาจเพิ่มโอกาสในการพัฒนามะเร็งต่อมลูกหมาก ผลของวิตามินอีในผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในปัจจุบันยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรับประทานวิตามินซีเพิ่มอาจทำให้อาการมะเร็งต่อมลูกหมากแย่ลง
การรับประทานวิตามินอีเสริมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในบางคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองควรหลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินอีในปริมาณที่มากกว่า 400 IU ต่อวัน และในผู้ที่จะเข้ารับการศัลยกรรมไม่ควรรับประทานวิตามินอีเพิ่ม เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดระหว่าง และหลังการผ่าตัด หยุดใช้วิตามินอีอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัดตามกำหนด
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก