4 ประเภทการบลูลี่ที่พ่อแม่ควรรู้ (What is Bully)

4 ประเภทการบลูลี่ที่พ่อแม่ควรรู้ (What is Bully)

25.06
3152
0

บูลลี่ (Bully) คืออะไร

การบูลลี่ (Bullying) คือ พฤติกรรมที่โหดร้าย และทำร้ายจิตใจซึ่งมักเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก แสดงถึงความสัมพันธ์กับความไม่สมดุลของอำนาจ หรือความแข็งแกร่ง มีได้หลายรูปแบบ ทั้งทางวาจา กาย ความสัมพันธ์ และการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต แม้ว่าโรงเรียนจะพยายามจัดการกับการบลูบี่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น แต่พ่อแม่ก็ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมให้เด็ก ๆ ให้สามารถป้องกัน และรับมือกับการถูกบลูลี่ได้

ต่อไปนี้คือ บูลลี่ 4 ประเภท ที่พ่อแม่ควรทราบ

1. การกลั่นแกล้งทางวาจา

การกลั่นแกล้งด้วยวาจา หรือการบลูลี่ด้วยคำพูดที่โหดร้าย ทั้งด้วยวิธีการเรียกชื่อ ข่มขู่ และแสดงความคิดเห็นที่ไม่สุภาพเกี่ยวกับคุณลักษณะของใครบางคน (รูปลักษณ์ ศาสนา เชื้อชาติ ความทุพพลภาพ รสนิยมทางเพศ ฯลฯ)

ตัวอย่าง: เมื่อมีเด็กคนหนึ่งพูดกับเด็กคนอื่นว่า “เธออ้วนจริง ๆ และแม่ของเธอก็ด้วย”

วิธีสังเกตสัญญาณ: เด็กอาจแยกตัว อารมณ์เสีย หรือลดความอยากอาหาร เป็นพฤติกรรมที่พวกเขาต้องการบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ทำร้ายจิตใจ เมื่อมีคนพูดถึงพวกเขา และเด็ก ๆ อาจถามหาความจริงกับคุณ

สิ่งที่ควรทำ: อันดับแรก สอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับความเคารพ ด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ ย้ำเตือนว่าทุกคนควรได้รับการปฏิบัติที่ดีอย่างไร ขอบคุณครู ยกย่องเพื่อน มีน้ำใจต่อพนักงาน  เน้นการให้ความเคารพในตนเอง และช่วยให้เด็ก ๆ เห็นคุณค่าในจุดแข็งของพวกเขา

นักจิตวิทยากล่าวว่า “วิธีการคุ้มครองที่ดีที่สุดคือผู้ปกครองต้องให้การส่งเสริมเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความอิสระให้กับเด็ก เพื่อให้เด็ก ๆ กล้าแสดงออก การพูดคุย ฝึกฝนด้วยวิธีการที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถตอบสนองต่อคนพาล รู้จักคิดเพื่อกล่าวประโยคสำคัญ ๆ พูดจาด้วยน้ำเสียงหนักแน่นแต่ไม่ต่อต้าน เช่น “นี่ไม่ดีนะ” “อย่ายุ่งกับฉัน” หรือ “ถอยออกไป”

2. การกลั่นแกล้งทางกายภาพ

การกลั่นแกล้งทางกายภาพ หรือการ Bully ด้วยการข่มขู่ทางกายที่รุนแรง ทั้งการตี เตะ ทำให้สะดุด สกัดกั้น ผลัก และสัมผัสซ้ำ ๆ ในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม รวมถึงการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน

ตัวอย่าง: เด็กถูกดึงกางเกงบริเวณสนามเด็กเล่น หรือเวลาที่กำลังรับประทานอาหารกลางวัน

วิธีสังเกตสัญญาณ: เด็กหลายคนมักไม่บอกผู้ปกครองถึงสิ่งนี้เกิดขึ้น ดังนั้นให้สังเกตสัญญาณเตือนที่อาจเป็นไปได้ เช่น บาดแผลที่ไม่ทราบสาเหตุ รอยขีดข่วน หรือรอยฟกช้ำ เสื้อผ้าหายไปหรือเสียหาย หรือการร้องเรียนเกี่ยวกับอาการปวดหัวและปวดท้องบ่อย ๆ

สิ่งที่ควรทำ: หากสงสัยว่าเด็ก ๆ ของคุณถูกบลูลี่ทางร่างกาย ให้เริ่มพูดคุยกับเด็กอย่างเป็นกันเอง ถามว่าเกิดอะไรขึ้นที่โรงเรียน ระหว่างพักกลางวันหรือพักผ่อนทำอะไร หรือระหว่างทางกลับบ้านพบอะไรบ้าง และเพื่อคำตอบที่ชัดเจนอาจถามว่ามีใครใจร้ายกับเธอบ้างไหม ระหว่างถามให้พยายามควบคุมอารมณ์ของตัวเอง เน้นวิธีการสื่อสารที่เปิดกว้าง และต่อเนื่อง จากนั้นควรปรึกษาหารือกับครูหรือที่ปรึกษาของโรงเรียน

อย่าลืมบันทึกวันที่ และเวลาของเหตุการณ์ที่เด็กถูกบลูลี่ และการตอบสนองจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และการกระทำเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ควรติดต่อผู้ปกครองของคนเด็กที่บลูลี่ (หรือคนพาล) เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หากบุตรหลานของคุณยังคงได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย และจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมนอกจากความช่วยเหลือของโรงเรียน ให้ติดต่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ มีกฎหมายปกป้องเด็ก และการล่วงละเมิดอยู่ เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที

What is Bully

3. การกลั่นแกล้งจากความสัมพันธ์

การกลั่นแกล้งจากความสัมพันธ์ หรือการบูลลี่ด้วยกลวิธีกีดกัน หรือจงใจกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารร่วมกันที่โต๊ะอาหาร การเล่นเกม กีฬา หรือกิจกรรมทางสังคม

ตัวอย่าง: กลุ่มเด็กผู้หญิงในชั้นเรียนเต้นรำ ชวนกันไปค้างคืนในช่วงสุดสัปดาห์ และแบ่งปันรูปถ่ายกัน แต่ปฏิบัติต่อเด็กที่ไม่ได้รับเชิญราวกับว่ากำลังล่องหนอยู่ 

วิธีสังเกตสัญญาณ: เฝ้าดูการพฤติกรรมทางอารมณ์ การแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน และการเริ่มกลายเป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียวมากขึ้น เด็กผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะถูกกีดกันทางสังคม ใช้คำพูด หรือการข่มขู่ทางอารมณ์มากกว่าเด็กผู้ชาย ความเจ็บปวดนั้นรุนแรงพอ ๆ กับการกลั่นแกล้งทางกาย และมักกินเวลายาวนานมากกว่า

สิ่งที่ควรทำ: ใช้เวลาพูดคุยกับลูก ๆ เพื่อให้ทราบว่าในแต่ละวันของพวกเขาเป็นอย่างไร และควรทำเป็นกิจวัตรประจำทุกคืน โดยนักบำบัดจิตในครอบครัวระบุว่าควรช่วยให้เด็ก ๆ ได้ค้นพบสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุข ชี้แนะถึงคุณสมบัติเชิงบวกของพวกเขา และทำให้แน่ใจว่าพวกเขารู้ว่ามีคนที่รักและห่วงใยพวกเขาอยู่ เน้นการพัฒนาความสามารถ และความสนใจในด้านดนตรี ศิลปะ กรีฑา การอ่าน และกิจกรรมหลังเลิกเรียน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีนอกโรงเรียน

4. การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต

การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตหรือการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ คือการก่อกวนผู้อื่นด้วยคำหยาบคาย คำโกหก และข่าวลือต่าง ๆ ทางอีเมล ข้อความ และโพสต์ในโซเชียลมีเดีย ข้อความเกี่ยวกับเรื่องเพศ เหยียดเชื้อชาติ และปรักปรำเพื่อสร้างบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตร แต่บางครั้งอาจไม่ได้เจาะจงไปที่เด็ก ๆ ของคุณโดยตรง 

วิธีสังเกตสัญญาณ: สังเกตว่าเด็ก ๆ ใช้เวลาออนไลน์มากขึ้นหรือไม่ (เวลาเข้าชมหน้าโซเชียลมีเดีย หรือส่งข้อความ) แต่ดูเศร้าและวิตกกังวลมากขึ้น แม้ว่าเด็ก ๆ จะอ่านสิ่งที่เจ็บปวดบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์ ซึ่งอาจเป็นช่องทางโซเชียลเดียวของพวกเขา นอกจากนี้ ให้สังเกตว่าเด็ก ๆ มีปัญหาในการนอน ขอร้องให้หยุดเรียน หรือเลิกทำกิจกรรมที่เคยชอบหรือไม่

สิ่งที่ควรทำ: ข้อความกลั่นแกล้งสามารถส่งต่อ ๆ กันไป โดยไม่เปิดเผยตัวตนและรวดเร็ว จึงนำไปสู่การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด ดังนั้นควรสร้างกฎเกณฑ์ในบ้านเพื่อความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต ด้วยการจำกัดเวลาใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับวัย รู้จักเว็ปไซต์ แอป และอุปกรณ์ดิจิทัลที่กำลังได้รับความนิยม และมีแนวโน้มที่จะไม่เหมาะสมต่อเด็ก ๆ ก่อนถึงวัยที่ต้องใช้งาน บอกให้เด็ก ๆ รู้ว่าคุณกำลังติดตามกิจกรรมออนไลน์ของพวกเขา และบอกพวกเขาว่าหากกำลังประสบกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต พวกเด็ก ๆ ไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วม ตอบกลับ หรือส่งต่อ

แต่ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเพื่อป้องกันการพิมพ์ข้อความที่ไม่เหมาะสม ตรวจสอบวันและเวลาที่ได้รับข้อความเหล่านั้น รายงานการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตไปยังโรงเรียน และผู้ให้บริการออนไลน์ หากพบการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น รวมถึงการคุกคาม และข้อความเกี่ยวกับเพศที่โจ่งแจ้ง โปรดติดต่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในท้องถิ่น

หากบุตรหลานของคุณเข้าไปเกี่ยวข้องกับการถูกรังแกหรือเกี่ยวข้องกับผู้ที่ถูกรังแก ควรให้การสนับสนุน ยกย่องความกล้าหาญของเด็กในการบอกเล่าให้ผู้ปกครองทราบ และรวบรวมข้อมูล (ไม่ควรโกรธ หรือร่วมกล่าวโทษ) เน้นความแตกต่างระหว่างการพูดเล่นที่พยายามทำให้คนมีปัญหา กับการพูดคุยกับผู้ใหญ่เพื่อยื่นความช่วยเหลือได้

ดำเนินการกับการกลั่นแกล้งทันที โดยเฉพาะเมื่อการบูลลี่เริ่มรุนแรงหรือต่อเนื่อง โดยติดต่อครูหรืออาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนก่อนเพื่อติดตามสถานการณ์ จนกว่าจะหยุด หรือแจ้งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *