ซีที สแกน (What is CT Scan)

ซีที สแกน (What is CT Scan)

09.07
1845
0

CT Scan คือ

CT Scan คือ การสแกนด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เป็นการรวมชุดภาพเอ็กซ์เรย์ที่ถ่ายจากมุมต่าง ๆ รอบร่างกาย และใช้การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพแนวตัดขวาง (ภาพแบบฝาน) ของกระดูก หลอดเลือด และเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายของคุณ ภาพสแกน CT จึงให้ข้อมูลที่ละเอียดกว่าเครื่องเอกซ์เรย์ทั่วไป

การสแกน CT scan มีประโยชน์หลายอย่าง แต่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการตรวจสอบ ผู้ป่วยที่อาจมีอาการบาดเจ็บภายในจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรืออาการบาดเจ็บประเภทอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว การสแกน CT scan สามารถใช้เพื่อแสดงภาพเกือบทุก ๆ ส่วนของร่างกาย และใช้เพื่อวินิจฉัยโรคหรืออาการบาดเจ็บ ตลอดจนการวางแผนทางการรักษา การผ่าตัด หรือการฉายรังสี

การทํา CT Scan ใช้เมื่อใด

แพทย์อาจแนะนำให้ทำสแกน CT เพื่อ:

  • วินิจฉัยความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น เนื้องอกในกระดูก และอาการกระดูกหัก
  • ระบุตำแหน่งของเนื้องอก การติดเชื้อ หรือลิ่มเลือด
  • แนะนำขั้นตอนการรักษาต่าง ๆ เช่น การผ่าตัด การตรวจชิ้นเนื้อ และการฉายรังสี
  • ตรวจสอบ ติดตามโรค และสภาพร่างกายต่าง ๆ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ มะเร็งปอด และก้อนหรือเนื้องอกในตับ
  • ตรวจสอบผลการรักษาโรคบางอย่าง เช่น การรักษามะเร็ง
  • ตรวจสอบอาการบาดเจ็บภายใน และภาวะเลือดออกภายใน

ผลข้างเคียงจาก CT Scan

การได้รับรังสี

ระหว่างการทำสแกน CT ผู้ป่วยจะได้รับรังสีไอออไนซ์ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ปริมาณรังสีจะมากกว่าที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการเอ็กซ์เรย์แบบธรรมดา เนื่องจากการสแกน CT scanสามารถรวบรวมข้อมูลภายในร่างกายได้ละเอียดมากกว่า อย่างไรก็ตามปริมาณรังสีที่ใช้ในการสแกน CT scan นั้นค่อนข้างต่ำ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว ซึ่งหากรับในปริมาณที่มากกว่าเล็กน้อย อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การสแกน CT มีประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย แพทย์จะใช้ปริมาณรังสีที่ต่ำสุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ต้องการ ด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และความเร็วในการดำเนินการ ทำให้อัตราการแผ่รังสีน้อยกว่าที่เคย สอบถามแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการสแกน CT ได้

อันตรายต่อทารกในครรภ์

แจ้งแพทย์หากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ แม้ว่าการฉายรังสีจาก ct scan ไม่ส่งผลร้ายต่อทารก แต่แพทย์อาจพิจารณาวิธีการตรวจประเภทอื่น เช่น อัลตราซาวนด์หรือ MRI เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทารกได้รับรังสี เมื่อใช้รังสีในระดับต่ำในการถ่ายภาพ CT จะไม่ส่งผลกระทบด้านร้ายในมนุษย์

ปฏิกิริยาจากสารทึบรังสี

บางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ใช้สีย้อมพิเศษที่เรียกว่าสารทึบรังสี อาจเป็นการดื่มก่อนทำซีทีสแกน หรือบางครั้งอาจส่งเข้าไปทางเส้นเลือดที่แขน หรือสอดเข้าไปทางทวารหนัก แม้ว่าผลข้างเคียงจะพบได้ยาก แต่สารทึบรังสีอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ปฏิกิริยาส่วนมากไม่รุนแรง และทำให้เกิดผื่นหรืออาการคัน อาการแพ้ที่รุนแรงถึงชีวิตพบได้ไม่บ่อยนัก แจ้งแพทย์หากพบผลข้างเคียงจากสารทึบแสง

การเตรียมตัวก่อนเข้าเครื่อง CT Scan

ขึ้นกับส่วนของร่างกายที่ต้องการสแกน อาจต้อง:

  • ถอดเสื้อผ้าบางส่วน หรือทั้งหมดแล้วสวมชุดของโรงพยาบาล
  • นำวัตถุที่เป็นโลหะออก เช่น เข็มขัด เครื่องประดับ ฟันปลอม และแว่นตา ซึ่งสามารถรบกวนผลการสแกนได้
  • งดการรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่ม ประมาร 2 – 3 ชั่วโมงก่อนการสแกน

What is CT Scan

สารทึบรังสี หรือการฉีดสีคืออะไร

บางครั้งต้องใช้สีย้อมพิเศษ ที่เรียกว่าสารทึบรังสีก่อนทำสแกน CT เพื่อเน้นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการตรวจสอบ สารทึบรังสีจะกั้นรังสีเอกซ์ และปรากฏเป็นสีขาวบนรูปภาพ จึงเน้นให้เห็นหลอดเลือด ลำไส้ หรือโครงสร้างอื่น ๆ ได้ชัดขึ้น

วิธีการรับสารทึบรังสี :

ทางปาก กรณีต้องการซีทีสแกนหลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหาร อาจต้องกลืนของเหลวที่มีสารทึบรังสีอยู่ ซึ่งรสชาติอาจไม่ดีนัก

การฉีด สามารถฉีดสารทึบรังสีผ่านทางหลอดเลือดดำที่แขน เพื่อตรวจสอบถุงน้ำดี ทางเดินปัสสาวะ ตับหรือหลอดเลือด อาจรู้สึกอุ่น ๆ ในระหว่างที่ฉีด หรือได้กลิ่นโลหะภายในปากได้

การสวนทางทวาร อาจมีการใส่สารทึบรังสีทางทวารหนัก เพื่อช่วยให้เห็นภาพลำไส้ วิธีการนี้อาจทำให้รู้สึกท้องขยายตัวและอึดอัดได้

การเตรียมเด็กก่อนเข้าเครื่อง CT Scan

หากทารกหรือเด็กวัยหัดเดินกำลังเข้ารับการสแกน CT แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยากล่อมประสาทเพื่อให้เด็กสงบนิ่ง การเคลื่อนไหวร่างกายจะทำให้ภาพเบลอ และอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการเตรียมตัวเด็ก

หลังการทำ CT Scan

หลังการทดสอบ ผู้รับการทดสอบสามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ หากใช้สารทึบรังสี ผู้รับการทดสอบอาจได้รับคำแนะนำพิเศษ บางกรณีอาจขอให้พักรอดูอาการสักครู่ก่อนออกเดินทาง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้รับการทดสอบสบายดีหลังการสแกน และอาจได้รับคำแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ไตขจัดสารทึบรังสีออกจากร่างกาย

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *