แผลติดเชื้อ (Wound Infection) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แผลติดเชื้อ (Wound Infection) : อาการ สาเหตุ การรักษา

07.01
7228
0

บาดแผลติดเชื้อ (Wound Infection) คือ การที่แบคทีเรียเจริญเติบโตภายในผิวหนังที่เกิดบาดแผล อาการต่าง ๆ ได้แก่ การปวด บวม และแดงที่เพิ่มมากขึ้น การติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นสามารถส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ หนาวสั่น หรือมีไข้

ผู้ที่มีบาดแผลติดเชื้อรุนแรง หรืออาการติดเชื้อที่ไม่หายไป ควรรีบไปพบแพทย์

Wound Infection

อาการของแผลติดเชื้อ

ผู้ที่เป็นบาดแผลติดเชื้อเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาบาดแผลเล็ก ๆ ได้เองอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น แผลจากรอยขีดข่วนเล็กๆ

อย่างไรก็ตามถ้าหากบาดแผลติดเชื้อไม่ดีขึ้น รวมทั้งเกิดอาการปวดแดง และบวมรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

บาดแผลติดเชื้อสามารถทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • มีน้ำหนองไหลออกมาจากแผล
  • แผลมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • ผิวหนังรอบ ๆ มีแผลเป็นรอยแดง
  • มีไข้ และหนาวสั่น
  • ปวดเมื่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน

การรักษาแผลติดเชื้อ

แพทย์จะรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียด้วยยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการรักษาการติดเชื้อ และเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยา

นอกจากการทำความสะอาดแล้ว หากแผลมีขนาดใหญ่อาจจำเป็นต้องได้รับการเย็บแผล หรือการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม 

หากบาดแผลมีเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว หรือเกิดการปนเปื้อน แพทย์จะนำส่วนนั้นออก เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ

หากได้รับบาดเจ็บจากการถูกสัตว์เลี้ยงกัด หรือเป็นแผลจากสิ่งสกปรก รวมทั้งสนิม จำเป็นจะต้องได้รับการฉีดยาบาดทะยักเพิ่มเติม

การรักษาบาดแผลติดเชื้อด้วยตนเอง

ผู้ที่มีการติดเชื้อเล็กน้อย หรือมีแผลขนาดเล็กอาจจะรักษาบาดแผลที่บ้านได้ อย่างไรก็ตามบาดแผลที่ติดเชื้อรุนแรงนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น มีไข้ รู้สึกไม่สบาย หรือมีน้ำมูกไหล  หรือรอบๆ แผลมีรอยแดง

การรักษาบาดแผลที่ติดเชื้อที่บ้านควรทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:

  1. ตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์ทำแผลก่อนใช้งาน ควรล้างแอลกอฮอล์
  2. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือน้ำอุ่น จากนั้นเช็ดมือให้แห้ง

3.ทำความสะอาดผิวโดยรอบด้วยแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่อุ่น โดยระวังอย่าให้สบู่โดนแผล

  1. ทำความสะอาดแผลด้วยสำลีหรือผ้าหมาดๆ เพื่อนำสิ่งสกปรกออกให้หมด
  2. การทาครีมฆ่าเชื้อ หรือเจลรักษาควรทาบางๆ
  3. ปล่อยให้ผิวหนังแห้ง จากนั้นปิดด้วยผ้าพันแผล

เคล็ดลับอื่น ๆ ในการรักษาบาดแผลด้วยตนเองมีดังนี้

  • เปลี่ยนผ้าปิดแผลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเปลี่ยนทันทีหากผ้าปิดแผลชื้น หรือสกปรก
  • ทำความสะอาดแผลทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือไอโอดีนกับแผล เพราะจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองและควรหยุดใช้ครีมชนิดทาเพื่อฆ่าเชื้อหากทาแล้วทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนัง
  • หากบาดแผลไม่ดีขึ้นภายใน 1–2 วันควรไปพบแพทย์

วิธีการรักษาบาดแผลติดเชื้อ

ล้างแผลทันทีเมื่อได้รับบาดเจ็บ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การทำความสะอาดบาดแผลสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ เมื่อเกิดบาดแผลแล้วควรทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. ล้างแผลทันทีโดยใช้น้ำสะอาดล้างผ่านเป็นเวลาหลายนาที จากนั้นทำความสะอาดผิวรอบ ๆ แผลด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หากไม่สามารถใช้น้ำสะอาดได้ให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดแผลแทน
  2. ปล่อยให้แผลแห้ง
  3. ทาครีมฆ่าเชื้อบางๆ ที่แผล
  4. ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือได้รับบาดเจ็บ

สำหรับผู้ที่มีบาดแผลขนาดใหญ่หรือเลือดออกมาก แพทย์สามารถรักษาอาการบาดเจ็บโดยการทำความสะอาดแผล และให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

ผู้ที่ได้รับแผลจากสัตว์เลี้ยงกัดหรือควร รวมทั้งแผลจากสิ่งสกปรกหรือสนิม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที แพทย์จะทำความสะอาดบาดแผลให้กับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก

บาดทะยักเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีแบคทีเรียบางชนิดเข้าสู่ร่างกายและปล่อยสารพิษที่มีผลต่อเส้นประสาท อาจก่อให้เกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการเจ็บแผลและมีไข้

ปัจจัยเสี่ยงต่อแผลติดเชื้อ

บาดแผล และรอยแตกอื่น ๆ ในผิวหนัง สามารถติดเชื้อได้ เมื่อแบคทีเรียเข้าสู่บาดแผล และเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียมากขึ้น จะทำให้ผิวหนังโดยรอบได้รับผลกระทบ

สิ่งสำคัญ คือ ต้องทำความสะอาดบาดแผลอย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ

ความเสี่ยงของการติดเชื้อที่แผลจะสูงขึ้นในกรณีต่อไปนี้

  • แผลมีขนาดใหญ่ ลึก หรือขรุขระ
  • สิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ในบาดแผล
  • สัตว์เลี้ยงกัดจนเกิดบาดแผล
  • ได้รับบาดแผลจากวัตถุสกปรก หรือเป็นสนิม

ปัญหาสุขภาพที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผล

  • โรคเบาหวาน
  • เลือดไหลเวียนไม่ดี
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ป่วยติดเตียง
  • อายุที่มากขึ้น
  • การขาดสารอาหาร และวิตามิน

แผลติดเชื้อที่ควรพบแพทย์

ผู้ที่มีบาดแผลควรไปพบแพทย์ทันที เมื่อมีอาการต่อไปนี้

  • แผลมีขนาดใหญ่ลึกหรือขรุขระ
  • ขอบของแผลไม่เปิดกว้างไม่ติดกัน
  • มีไข้ หรือมีหนองไหลออกมาจากแผล
  • ไม่สามารถทำความสะอาดแผลได้
  • ได้รับบาดแผลจากการกัดของสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งสกปรกหรือมีสนิม
  • เหลือดไหลออกจากแผลไม่หยุด

ภาวะแทรกซ้อน

หากการรักษาบาดแผลที่ติดเชื้อไม่ทันเวลา อาจจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ  และส่งผลจากการติดเชื้อดังต่อไปนี้

เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) เป็นการติดเชื้อในชั้นลึก และในเนื้อเยื่อของผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวมแดง เจ็บปวดในบริเวณนั้น รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ได้แก่ มีไข้ เวียนศีรษะคลื่นไส้ และอาเจียน

กระดูกอักเสบ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในกระดูกและมีอาการต่างๆ ได้แก่ ปวด บวมแดงบริเวณที่ติดเชื้อ อ่อนเพลีย และมีไข้ 

ภาวะเลือดเป็นพิษ (Sepsis) เป็นปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่รุนแรง บางครั้งอาจเกิดขึ้นเมื่อการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด การติดเชื้อแบคทีเรียสามารถนำไปสู่อันตรายถึงชีวิต

โรคเนื้อเน่า  (Necrotizing fasciitis) เป็นภาวะที่พบได้ยาก เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นลึกลงไป ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง และถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาพรวม

บาดแผลที่ติดเชื้อเกิดจากการที่แบคทีเรียเข้าไปในแผล เพิ่มจำนวน และแพร่กระจาย สำหรับผู้ที่มีบาดแผลขนาดใหญ่ลึก หรือร้ายแรง ควรได้รับการรักษาอาการบาดเจ็บทันที

สัญญาณ และอาการของบาดแผลที่ติดเชื้อได้แก่ การปวด บวม และแดงบริเวณรอบ ๆ หากเป็นแผลเล็กๆ น้อย สามารถรักษาได้ด้วยตนเองที่บ้าน

อย่างไรก็ตามบาดแผลที่ติดเชื้อรุนแรงนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่รู้สึกไม่สบายตัว มีไข้ หรือมีเลือดออกจากบาดแผลไม่หยุด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *