เอ็นร้อยหวายเป็นเอ็นเชื่อมต่อจากกล้ามเนื้อน่องไปจนถึงกระดูกส้นเท้า เมื่อเส้นเอ็นนี้มีความตึงเครียดที่มากเกินไปมันก็จะเริ่มอักเสบ ที่เรียกว่าภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบนั่นเอง
เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือ เอ็นอักเสบ (Achilles Tendinitis) มักเป็นผลมาจากรอยฉีกขาดขนาดเล็กที่เกิดขึ้นกับเส้นเอ็นในระหว่างออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงและหนักหน่วง เช่นการวิ่ง
หากไม่ได้รับการรักษา เส้นเอ็นอาจฉีกขาดหรือแตกได้ ในรายที่มีอาการไม่มาก การรักษาอาจทำเพียงแค่หยุดพักหรือเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายออกไปก่อน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
เอ็นร้อยหวาย คือเส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและมีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีความทนทานต่อแรงกระทบมากที่สุด แต่ก็ยังคงไม่อาจต้านทานต่อการบาดเจ็บได้
อาการของเอ็นร้อยหวายอักเสบ
อาการหลักๆของเอ็นร้อยหวายอักเสบคือการค่อยๆสะสมอาการเจ็บที่แย่ลงเรื่อยๆ
โรคมีอาการลักษณะเฉพาะที่อาจสังเกตเห็นได้ดังต่อไปนี้:
-
เจ็บที่เอ็นร้อยหวายตรงบริเวณเหนือกระดูกส้นเท้าขึ้นมา 2-3 เซนติเมตร
-
ขาช่วงล่างตึง เชื่องช้าหรืออ่อนแรง
-
มีอาการเจ็บให้เห็นบริเวณด้านหลังขาหลังวิ่งหรือออกกำลัง และเริ่มเป็นรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
-
เจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวายที่เกิดขึ้นขณะวิ่งหรือหลังจากวิ่ง 2-3 ชั่วโมง
-
อาการเจ็บเป็นมากขึ้นเวลาที่วิ่งเร็วๆ วิ่งนานๆหรือเมื่อขึ้นบันได
-
เอ็นร้อยหวายบวมหรือพบตุ่มก้อน
-
เอ็นร้อยหวายส่งเสียงอี๊ดอ๊าดเมื่อสัมผัสหรือเคลื่อนไหว
การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ
จุดประสงค์ในการรักษาก็เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการบวม ตัวเลือกในการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและขึ้นอยู่ว่าผู้ป่วยเป็นนักกีฬามืออาชีพหรือไม่
แพทย์จะให้แนะนำกลยุทธ์สำหรับวิธีรักษาเอ็รร้อยหวายอักเสบร่วมกันกับวิธีดูแลตัวเอง พร้อมท่าบริหารเอ็นร้อยหวายอักเสบ
วิธีการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบมีดังต่อไปนี้:
-
การประคบเย็น: ด้วยการประคบเย็นตรงบริเวณเส้นเอ็นที่เจ็บหลังการออกกำลังกาย สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บและการอักเสบได้
-
การหยุดพัก: เพื่อเป็นการให้เวลาเนื้อเยื่อได้รับการเยียวยา รูปแบบของการหยุดพักขึ้นอยู่กับอาการว่ามีความรุนแรงแค่ไหน ในรายที่มีอาการไม่มากนั้นอาจหมายถึงการลดการออกกำลังกายที่หนักลง แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องหยุดพักอย่างสิ้นเชิงไปหลายวันหรือหลายอาทิตย์
-
การยกเท้าขึ้นสูง: ด้วยการนอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจก็สามารถช่วยลดอาการบวมลงได้
-
บรรเทาอาการปวด:ด้วยการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์หรือเรียกสั้นๆว่า NSAIDS เช่น ยาบูโรเฟน ช่วยลดอาการปวดและบวม คนที่เป็นโรคหอบหืด โรคไต หรือโรคตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
-
การฉีดยาสเตียรอยด์: เช่น คอร์ติโซน สามารถช่วยลดอาการบวมของเส้นเอ็นได้ แต่ก็อาจเสี่ยงต่อการฉีกขาดของเส้นเอ็นได้เช่นกัน การฉีดจึงต้องทำขณะกำลังสแกนบริเวณที่ต้องการฉีดด้วยอัลตราซาวน์เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
-
การพันผ้ารัดไว้และกายอุปกรณ์เสริม: ผ้ารัดข้อเท้าและแผ่นรองพื้นรองเท้าสามารถช่วยฟื้นฟูลดความตึงเครียดของเส้นเอ็นลงได้ การยกส้นเท้า ด้วยการยกเท้าขึ้นจากพื้นรองเท้าอาจช่วยทำให้คนไข้เอ็นร้อยหวายอักเสบดีขึ้น
-
การรักษาโดยคลื่นกระแทก Extracorporeal shockwave therapy (ESWT): คือ การใช้คลื่นกระแทกที่มีพลังงานสูงมาช่วยกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง ผลที่ได้ยังไม่แน่นอนนัก แต่หากว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผล ก็คุ้มค่าที่จะลองก่อนจะไปถึงขั้นตอนการผ่าตัด
โดยปกติแล้วมักใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ถึง 6 สัปดาห์ในการเยียวยาเอ็นร้อยหวาย
การผ่าตัด
การผ่าตัดสามารถช่วยซ่อมแซมความเสียหายของเส้นเอ็นอันมีผลมาจากเอ็นร้อยหวายอักเสบ ทางThe American Academy of Orthopedic Surgeons (AAOS) ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า ทางเลือกด้วยการผ่าตัดควรเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีอาการบาดเจ็บต่อเนื่องนาน 6 เดือนหรือมากกว่าเท่านั้น
การผ่าตัดทั่วไปที่พบได้บ่อยคือ การผ่าตัดยืดเอ็นกล้ามเนื้อน่อง เป็นการทำให้เอ็นกล้ามเนื้อน่องยาวขึ้น และไม่เกิดแรงดึงอยู่ตลอดเวลาที่เอ็นร้อยหวาย
การยืดเส้นหรือการออกกำลังกาย
นักกายภาพบำบัดจะสามารถสอนวิธีการออกกำลังกายยืดเส้นเพื่อทำให้เกิดการยืดหยุ่นและเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อน่อง
ต่อไปนี้คือท่าออกกำลังกาย 2 แบบ ตามคำแนะนำของ AAOS
การยืดเส้นกล้ามเนื้อน่อง
-
ยืนหันหน้าเข้าหาผนัง เอามือดันผนังไว้
-
วางขาข้างหนึ่งบนพื้น ยืดตรง ส่วนอีกข้างยื่นมาข้างหน้า เข่างอ
-
ดันสะโพกเข้าหาผนัง ค้างไว้ 10 วินาที
-
พัก แล้วทำซ้ำ 20 ครั้ง ในแต่ละข้าง
การออกกำลังท่า Bilateral heel drop
-
ยืนด้วยปลายเท้าบนขั้นบันได จับราวบันไดไว้เพื่อการทรงตัวไม่ให้ล้มและตกบันได
-
ค่อยๆยกส้นเท้าขึ้นลง เท่าที่คุณสามารถทำได้
-
ทำซ้ำ 20 ครั้ง
การออกกำลังกายทั้งสองแบบต้องทำแบบช้าๆและอยู่ในการดูแล การทำด้วยความเร็วอาจยิ่งเพิ่มความเสียหายมากขึ้น
สิ่งนี้อาจช่วยเยียวยาเอ็นร้อยหวายและป้องกันอาการบาดเจ็บในอนาคตได้ นักกายภาพบำบัดคือผู้ที่สามารถทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบที่เส้นเอ็นดีขึ้นได้
การวินิจฉัยโรค
ด้วยอาการที่เกิดขึ้นมีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคอื่นๆ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ
แพทย์จะสอบถามอาการและตรวจร่างกาย โดยการจับเบาๆที่ด้านหลังข้อเท้าและที่เส้นเอ็นที่เป็นตำแหน่งของที่มาของอาการเจ็บหรืออักเสบ
แพทย์จะเช็คเท้าและข้อเท้าเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการยืดหยุ่นที่บกพร่อง
การตรวจด้วยภาพ ยกตัวอย่างเช่นการเอกซเรย์ ทำเอ็มอาร์ไอหรือสแกนอัลตร้าซาวน์ เพื่อช่วยในการกำจัดสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ของอาการเจ็บและบวม ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับเส้นเอ็น
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
เอ็นร้อยหวายอักเสบอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่เอ็นร้อยหวายอักเสบจากความเสื่อม เป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของเอ็นเปลี่ยนแปลงและเริ่มอ่อนแอไปถึงขั้นเสียหายรุนแรง เอ็นสามารถฉีกขาดได้เป็นสาเหตุของการเจ็บที่หนักหน่วง
เอ็นอักเสบกับเอ็นเสื่อมเป็นภาวะที่แตกต่างกัน เอ็นอักเสบมีการอักเสบในขณะที่เอ็นเสื่อมคือกระบวนการเสื่อมในระดับเซลล์และไม่มีการอักเสบ ภาวะเอ็นเสื่อมมักถูกวินิจฉัยผิดเป็นเอ็นอักเสบบ่อยๆ หากมีการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมได้มากขึ้น
สาเหตุของเอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบอาจพัฒนาแตกต่างออกไปได้หลายรูปแบบ บางอย่างก็หลีกเลี่ยงได้ง่ายหากได้รับการวินิจฉัยในช่วงแรก ช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรงได้
เอ็นร้อยหวายอักเสบพบได้บ่อยในคนอายุน้อย คนที่ทำกิจกรรมมากๆ เส้นใยตรงกลางของเอ็นจะเริ่มสลายตัว หนาขึ้นและบวม
เอ็นร้อยหวายอักเสบไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรม มันส่งผลกระทบกับเส้นเอ็นส่วนล่างที่แทรกเข้าไปในกระดูกส้นเท้า
สาเหตุของเอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจาก:
-
การใช้รองเท้าผิดหรือไม่สวมรองเท้าขณะวิ่งหรือออกกำลังกาย
-
ขาดการยืดกล้ามเนื้อให้เหมาะสมก่อนการออกกำลังกาย
-
เพิ่มความเข้มข้นในการออกกำลังกายเร็วเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ความเร็วในการวิ่งหรือระยะทางที่มากขึ้น
-
วิ่งบนพื้นผิวแข็งและไม่เรียบ
-
กล้ามเนื้อน่องได้รับการบาดเจ็บหรือยืดหยุ่นได้น้อย เพิ่มความตึงเครียดให้กับเส้นเอ็นร้อยหวาย
-
เพิ่มความเข้มข้นในกิจกรรมทางร่างกายอย่างกระทันหัน เช่นการเร่งฝีเท้าให้เร็วขึ้นเพื่อวิ่งเข้าสู่เส้นชัย
ความต่างในโครงกระดูกเท้า ขาหรือข้อเท้าก็สามารถนำมาซึ่งโรคเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ มีภาวะเท้าแบนก็ส่งผลให้เส้นเอ็นตึงได้
มีกระดูกงอกบริเวณเส้นเอ็นข้อต่อกระดูก ทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ็นร้อยหวาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียหายและเจ็บปวด
ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบและเอ็นฉีกขาด
ภาพรวม
การฟื้นฟูกลับมาขึ้นอยู่กับว่าเอ็นร้อยหวายอักเสบมีความรุนแรงแค่ไหน
ทาง AAOS บอกไว้ว่าอาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าอาการเจ็บจะหายไป เมื่อรีบรักษาตั้งแต่แรก
หากอาการเจ็บยังแก้ไขไม่ได้ภายใน 6 เดือน การผ่าตัดอาจเป็นสิ่งจำเป็น คนที่ได้รับการผ่าตัดจะไม่สามารถกลับไปลงแข่งขันกีฬาหรือวิ่งได้อีกอย่างน้อย 12 เดือน บางรายอาจไม่สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้อีกเลย
การป้องกันและการได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วงแรกของอาการคือวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันในระยะยาว.
การป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่อาจลดความเสี่ยงลงได้โดยรับรู้ถึงสาเหตุที่อาจทำให้เกิดและเตรียมระวังไว้ก่อนล่วงหน้า
ด้วยวิธีดังต่อไปนี้:
-
มีการออกกำลังกายที่หลากหลาย: สลับสับเปลี่ยนระหว่างการออกกำลังแบบมีแรงกระแทกสูง เช่นวิ่ง กับแบบมีแรงกระแทกต่ำ เช่นว่ายน้ำ ก็จะสามารถช่วยลดความตึงเครียดของเส้นเอ็นร้อยหวายได้
-
จำกัดรูปแบบการออกกำลัง: เช่นการวิ่งบนเขามากเกินไป สามารถเพิ่มความตึงเครียดให้กับเส้นเอ็นร้อยหวาย
-
สวมใส่รองเท้าให้ถูกต้องและเปลี่ยนรองเท้าเมื่อมันขาด รองเท้าที่ดีควรรองรับส่วนโค้งและป้องกันไม่ให้ส้นเท้าไปสร้างตึงเครียดให้กับเส้นเอ็น
-
ใช้แผ่นรองรองเท้า: สามารถช่วยได้หากรองเท้าดีแต่ไม่รองรับส่วนโค้ง
-
การเพิ่มความเข้มข้นการออกกำลังกาย: เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นมีความตึงเครียดอย่างฉับพลัน ดังนั้นการยืดร่างกายและเพิ่มระดับการออกกำลังแบบอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยให้กล้ามเนื้อมีเวลาคลายตัว และยังเป็นการลดความตึงเครียดให้เส้นเอ็นได้ด้วย
ดังนั้นการยืดเส้นและวอร์มร่างกายทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง การยืดเส้นจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้เส้นเอ็นร้อยหวาย ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยที่เอ็นร้อยหวายอักเสบจะพัฒนาเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น การยืดเส้นทุกวันรวมถึงในวันหยุดพักด้วย จะช่วยทำให้การยืดหยุ่นดีขึ้นด้วย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/achilles-tendinitis/symptoms-causes/syc-20369020
-
https://www.webmd.com/fitness-exercise/guide/achilles-tendon-injury
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก