โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา   

โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา  

01.05
1596
0

โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) หรือภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้ไม่เพียงพอ ต่อมหมวกไต (ซึ่งอยู่ด้านบนของไต) ผลิตคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) และ แอลโดสเตอโรน น้อยเกินไป 

ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัยและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การรักษาคือรับฮอร์โมนทดแทน

อาการของโรคแอดิสัน

 อาการของต่อมหมวกไตบกพร่องเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เป็นเวลาหลายเดือน ทำให้ไม่ทันสังเกตเห็นอาการจนกระทั่ง ความเครียด เช่นความเจ็บป่วยและบาดเจ็บทำให้อาการแย่ลง

อาการมีดังนี้:

ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน Acute adrenal failure (Addisonian Crisis)

อาการและอาการแสดงของโรคอาจแสดงให้เห็นเฉียบพลัน ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลันอาจนำไปสู่ภาวะช็อคซึ่งถึงแก่ชีวิตได้ ควรพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้:

  • อ่อนเพลียมาก
  • สับสน
  • ปวดหลังส่วนล่างหรือปวดขา
  • ปวดท้องรุนแรง อาเจียน ท้องเสียทำให้ขาดน้ำ
  • สติสัมปชัญญะลดลง เพ้อ
  • ความดันเลือดต่ำ
  • ค่าโพแทสเซียมในเลือดสูง ค่าโซเดียมในเลือดต่ำ

Addison's Disease

สาเหตุของโรคแอดิสัน

ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเกิดจากต่อมหมวกไตได้รับความเสียหายทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน(คอร์ติซอล และ แอลโดสเตอโรน )ได้เพียงพอ ต่อมหมวกไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย

ต่อมหวกไตมีสองส่วน ส่วนในเรียกว่าเมดุลล่า สร้างฮอร์โมนคล้ายอะดรินาลิน ส่วนนอก(เปลือก)เรียกว่าคอร์เท็กซ์ สร้างฮอร์โมนชื่อคอร์ติโคสเตียรอยด์ คอร์ติโคสเตียรอยด์มีดังนี้ :

  •  กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) และ คอร์ติซอลมีส่วนทำให้ร่างกายเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับความเครียด
  • มิเนราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoids) ซึ่งรวมถึงแอลโดสเตอโรน ควบคุมระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในร่างกายเพื่อให้ความดันเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • แอนโดรเจน (Androgens) คือฮอร์โมนเพศชายสร้างขึ้นเป็นจำนวนน้อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง ฮอร์โมนตัวนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศในเพศชาย ทำให้มีมวลกล้ามเนื้อ ความต้องการทางเพศ และทำให้มีสุขภาพดีในทั้งสองเพศ

ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องแบบปฐมภูมิ

คือภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเกิดเมื่อต่อมหมวกไตชั้นนอกถูกทำลายและไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้มากพอ เกิดขึ้นจากโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (Autoimmune disease) ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่มีโรคนี้ทำลายต่อมหมวกไตชั้นนอก ผู้ที่มีโรคนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเองแบบอื่นๆด้วย

สาเหตุอื่นๆ

  • วัณโรค
  • การติดเชื้อของต่อมหมวกไต
  • มะเร็งที่ลุกลามไปถึงต่อมหมวกไต
  • เลือดออกในต่อมหมวกไต อาจมีภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลันโดยไม่มีอาการล่วงหน้า

ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องแบบทุติยภูมิ

ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิก(ACTH)ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมหมวกใตชั้นนอกสร้างฮอร์โมน เนื้องอกไม่ร้ายแรงที่ต่อมใต้สมอง การอักเสบและ ผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองเป็นสาเหตุทำให้ผลิตฮอร์โมนไม่มากพอ

การมีฮอร์โมนแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกน้อยไปทำให้มีกลูโคคอร์ติคอยด์ และแอนโดรเจนน้อยด้วย ถึงแม้ว่าต่อมหมวกไตอยู่ในสภาวะปกติ การผลิตฮอร์โมนมิเนราโลคอร์ติคอยด์ไม่ได้รับผลกระทบจากการมีฮอร์โมนแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกน้อย

อาการคล้ายกับอาการภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องแบบปฐมภูมิ แต่ผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องแบบทุติยภูมิผิวจะไม่คล้ำลงและไม่มีอาการขาดน้ำหรือความดันเลือดต่ำ  มักมีน้ำตาลในเลือดต่ำ

สาเหตุชั่วคราวเกิดจากการทานคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อรักษาโรคหอบหืดหรือข้ออักเสบ และหยุดทานคอร์ติโคสเตียรอยด์ทันที โดยไม่ได้ค่อยๆลดปริมาณยา

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *