ประจำเดือนไม่มา (Amenorrhea) : อาการ สาหตุ การรักษา

ประจำเดือนไม่มา (Amenorrhea) : อาการ สาหตุ การรักษา

28.02
2071
0

ประจำเดือนไม่มา (Amenorrhea) คือการไม่มีประจำเดือนในขณะที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์

ภาวะนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นโรค และไม่ได้หมายความว่าผู้นั้นเป็นหมัน แต่อาจเป็นอาการของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ควรให้ความสนใจ

เมื่อเด็กหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะมีประจำเดือน และมีสม่ำเสมอเดือนละครั้ง จนกว่าจะอายุราว 50 ปี ประจำเดือนจะหยุด เรียกว่าการหมดประจำเดือน หรือวัยทอง

ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ประจำเดือนจะหยุด และในช่วงเวลาให้นมบุตร ประจำเดือนก็มักจะไม่มาเช่นกัน

หากประจำเดือนไม่มาในช่วงเวลาที่ควรจะมี เรียกว่า การไม่มีประจำเดือน

ประเภทของการไม่มีประจำเดือน

มีสองแบบคือ ปฐมภูมิและทุติยภูมิ

การไม่มีประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ

คือ หากเด็กหญิงอายุ 16 ปีแล้วยังไม่มีประจำเดือน ควรต้องปรึกษาแพทย์ ภาวะนี้พบน้อยมาก

การไม่มีประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ

คือเคยมีประจำเดือนแล้ว แต่หยุดไป พบเป็นปกติในการตั้งครรภ์และระหว่างให้นมบุตร

ประจำเดือนขาด1เดือน ยังไม่ถือว่าผิดปกติ แต่หลายคนอาจจะอยากตรวจการตั้งครรภ์

แพทย์จะนับว่าเป็นการไม่มีประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ เมื่อ:

  • เคยมีประจำเดือนเป็นปกติ และขาดประจำเดือนนาน 3 เดือน

  • เคยมีประจำเดือน แต่ไม่ปกติ และขาดประจำเดือนนาน 6 เดือน

    Amenorrhea

สาเหตุของประจำเดือนไม่มา

สาเหตุแตกต่างกัน ระหว่างแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ

การไม่มีประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ

ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กหญิงที่มีประวัติครอบครัวมีประจำเดือนครั้งแรกล่าช้า และบางครั้งเกิดจากปัญหาทางพันธุกรรม

ภาวะผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถหยุดการทำงานของรังไข่ได้ เช่น:

  • Turner syndrome

  • androgen insensitivity syndrome ซึ่งทำให้ testosteroneในร่างกายสูงขึ้น

  • Müllerian defects คือความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธ์ุที่ทำให้มดลูกและรังไข่ไม่เจริญตามปกติ

อาจมีความผิดปกติของอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์แต่กำเนิด ที่พบบ่อยคือไม่มีมดลูกและท่อนำไข่ บางครั้งท่อนำไข่ไม่ต่อถึงกันใน Müllerian agenesis หรือ Mayer-Rokitansky-KusterHauser (MRKH) syndrome,รังไข่, เต้านม, และเม็ดละมุด เจริญเป็นปกติ แต่ไม่มีทางเปิดของช่องคลอด และมีการฝ่อของปากมดลูกและมดลูก

กรณีเช่นนี้ พัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ไม่ปกติ การมีประจำเดือนก็เป็นไปไม่ได้

การไม่มีประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ

อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆเช่น

  • ปัญหาทางนรีเวช(อวัยวะสืบพันธ์ุ)

  • การป่วยด้วยโรคร้ายแรง

  • ความเครียดทางร่างกาย เช่น การออกกำลังกายมากๆ

  • ดัชนีมวลกายตำ่มาก

ถ้าค่าดัชนีมวลกายตำ่กว่า 19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิเพิ่มขึ้นชัดเจน

น้ำหนักลด การออกกำลังกายและความเครียด

นำ้หนักลดอย่างรุนแรงมักเกิดจากความป่วยไข้ หรือภาวะการกินผิดปกติ

การออกกำลังกายอย่างหนักทำให้เกิดการขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ พบได้เสมอในนักวิ่งแข่งระยะยาวและนักบัลเลต์

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความเครียดอย่างรุนแรงทำให้ขาดประจำเดือนได้

ยาบางชนิด เช่นยาคุมกำเนิดชนิดมีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว และยาทางจิตเวชหลายชนิดทำให้ขาดประจำเดือน

 ยาอื่นที่มีผลต่อประจำเดือน เช่น

  • ยารักษาโรคทางจิตเวช

  • เคมีบำบัด

  • ยาต้านโรคซึมเศร้า

  • ยาลดความดันโลหิต

  • ยาแก้แพ้

ความเจ็บป่วยระยะยาว : ทำให้ขาดประจำเดือนได้ เช่น

  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  • รังไข่ฝ่อก่อนวัย

  • ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล  และมีผลต่อรอบประจำเดือน ซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอกหรือมะเร็งในต่อมใต้สมอง

  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป

อาการประจำเดือนไม่มา

อาการหลักคือขาดประจำเดือน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

  • มีของเหลวคล้ายน้ำนมออกมาจากหัวนม

  • ผมร่วง

  • ปวดศีรษะ

  • ตาพร่ามัว (Blured Eyes)

  • ขนขึ้นที่ใบหน้า

ผู้ที่ขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ เต้านมมักไม่เจริญเติบโต

ผู้ที่มีอาการดังนี้ควรไปพบแพทย์

การรักษาภาวะประจำเดือนไม่มา

วิธีแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติต้องทำการรักษาตามสาเหตุ

การไม่มีประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ

อาจต้องรอ ขึ้นกับอายุและผลการทดสอบการทำงานของรังไข่ หากมีประวัติครอบครัวที่มีประจำเดือนช้า ประจำเดือนก็อาจมาเองได้ตามธรรมชาติ

หากมีปัญหาทางพันธุกรรมหรือปัญหาของอวัยวะสืบพันธุ์ อาจต้องมีการผ่าตัด แต่ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะมีประจำเดือนตามปกติ

การไม่มีประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ

ขึ้นกับปัญหาที่ซ่อนอยู่ว่าคืออะไร

ปัจจัยจากการดำเนินชีวิต: หากออกกำลังกายมากเกิน ควรต้องเปลี่ยนแผนการออกกำลังหรือปรับอาหารเพื่อลดความเสี่ยงของประจำเดือนมาไม่ปกติ

ความเครียด : หากความเครียดทางอารมณ์หรือจิตใจทำให้เกิดปัญหา การบำบัดจะช่วยได้

การลดน้ำหนักมากเกินไป: หากนำ้หนักเกิน ควรได้รับคำแนะนำในการลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากเกิดจากความผิดปกติของการกิน การรักษาคือต้องเพิ่มน้ำหนักและการบำบัดกับจิตแพทย์และปรึกษาโภชนากรเพื่อจัดอาหาร

โรคบางอย่างทำให้นำ้หนักลด แพทย์ต้องหาสาเหตุและรักษาที่ต้นเหตุ

ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย : หากขาดประจำเดือนจากไทรอยด์ทำงานน้อยไป แพทย์อาจให้ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์เพิ่มเติม

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ: แพทย์จะให้การรักษาที่เหมาะสม หากนำ้หนักเพิ่ม อาจต้องปรับอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

รังไข่ฝ่อก่อนวัย : แพทย์จะให้ฮอร์โมนทดแทน และจะกลับมีประจำเดือนได้อีก

ภาวะหมดประจำเดือน: หญิงจะหมดประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 50 ปี บางคนอาจหมดประจำเดือนเร็ว ตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นกับประวัติครอบครัว(แม่ พี่น้องแม่หรือยาย หมดประจำเดือนเร็วหรือไม่)

หากหมดประจำเดือนเร็วไป อาจเกิดภาวะกระดูกพรุน อาจต้องมีการรักษาเพื่อป้องกันกระดูกพรุน

นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *