ฝีที่ก้น (Anal Abscess) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ฝีที่ก้น (Anal Abscess) : อาการ สาเหตุ การรักษา

24.02
5140
0

ฝีที่ก้น (Anal Abscess) เป็นโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดฝีและหนองบริเวณรอบทวารหนัก และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการติดเชื้อจากต่อมขนาดเล็กใกล้ทวารหนักจำนวนมาก

ฝีที่ก้นประเภทที่พบบ่อยคือ ฝีคัณฑสูตร โดยบริเวณทวารหนักของผู้ป่วยจะมีอาการบวม แดงและเจ็บปวด ในบางราย บริเวณที่เกิดฝีจะเป็นสีแดงและกดเจ็บเมื่อสัมผัส ฝีที่ก้นที่เกิดในเนื้อเยื่อลึกจะไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก และมักมองไม่ค่อยเห็นด้วยตาเปล่า

การผ่าตัดและการระบายหนองออกเป็นการรักษาที่แพทย์เลือกใช้กับฝีที่ก้นทุกประเภท และการรักษาประเภทนี้มักประสบความสําเร็จ

ราว 50% ของผู้ป่วยที่เป็นฝีที่ก้นจะมีภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า ฝีคัณฑสูตร ซึ่งฝีประเภทนี้เป็นช่องขนาดเล็กเชื่อมต่อผิดที่ กล่าวคือ จะเป็นรูเปิดจากบริเวณที่เกิดฝีไปทะลุกับผิวหนังด้านนอก

ในบางกรณี ฝีคัณฑสูตรจะทำให้เกิดหนองและสารคัดหลังต่าง ๆ ไหลออกมาตลอดเวลา ส่วนบางกรณีที่ปากแผลด้านนอกปิดลง จะทำให้เกิดฝีที่ก้นกลับมาเป็นซ้ำได้ ทั้งนี้ แพทย์มักใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาฝีที่ก้น

Anal Abscess

สาเหตุของการเกิดฝีที่ก้น

ฝีที่ก้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น:

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝีที่ก้น

  • เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ

  • เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) หรือโรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล

  • โรคเบาหวาน

  • เป็นโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ

  • เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

  • เป็นคู่รับ เมื่อร่วมเพศทางทวารหนัก

  • ใช้ยาเพื่อการรักษาโรคบางอย่าง เช่น เพรดนิโซน

สําหรับผู้ใหญ่ การใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ รวมถึง การใส่ถุงยางอนามัยช่วงที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ช่วยป้องกันฝีที่ก้นได้ สําหรับทารกและเด็กวัยหัดเดิน การเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยครั้งและการทําความสะอาดอย่างดีในช่วงเปลี่ยนผ้าอ้อม ช่วยป้องกันการเกิดฝีที่ก้นและฝีคัณฑสูตรได้

อาการของฝีที่ก้น

ฝีที่ก้นที่ไม่ร้ายแรงมัก:

  • มีอาการเจ็บปวด ซึ่งมักจะเกิดต่อเนื่อง ปวดหน่วง ๆ และอาการจะแย่ลงเมื่อต้องนั่งลง

  • มีอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังรอบทวารหนัก รวมถึง อาการบวม แดงและกดเจ็บ

  • มีหนองไหล

  • มีอาการท้องผูกหรือปวดท้อง เมื่อต้องถ่ายอุจจาระ

ฝีที่ก้นที่เกิดในชั้นเนื้อเยื่อที่ลึกขึ้นมัก:

บางครั้ง อาการไข้อาจเป็นอาการเดียวที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดฝีที่ก้นชนิดที่ลึกขึ้น

การวินิจฉัยฝีที่ก้น

โดยปกติแล้ว การประเมินทางคลินิก รวมถึง การตรวจภายในทวารหนัก ก็เพียงพอที่จะวินิจฉัยฝีที่ก้นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจต้องตรวจเพิ่มเพื่อคัดกรอง:

  • โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • โรคลําไส้อักเสบ

  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ

  • มะเร็งทวารหนัก (Anal Cancer)

ในบางกรณี ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แพทย์ยังอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อีกด้วย

การรักษาฝีที่ก้น

วิธีรักษาฝีที่ก้นคือการระบายหนองหรือสารคัดหลั่งออกให้เร็วที่สุดเป็นสิ่งสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนที่ฝีจะแตกออก  ทั้งนี้ สามารถทำได้โดยแพทย์ และใช้ยาชาเฉพาะที่ร่วมด้วย ฝีที่ก้นขนาดใหญ่หรือลึกอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยให้วิสัญญีแพทย์ใช้ยาชาร่วมด้วย

หลังจากหัตถการนี้แล้ว แพทย์จะสั่งจ่ายยาบรรเทาอาการปวดให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ทั้งนี้ สำหรับคนที่มีสุขภาพดีมักไม่จําเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจาก ยาปฏิชีวนะอาจจําเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยแค่บางรายเท่านั้น โดยเฉพาะ ผู้ที่มีโรคเบาหวานหรือภูมิคุ้มกันลดลง

บางครั้ง การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรสามารถทําได้ในเวลาเดียวกันกับการผ่าตัดฝีบริเวณทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ฝีคัณฑสูตรอาจเกิดขึ้นใน 4 – 6 สัปดาห์หลังจากผ่าตัดระบายหนองและสารคัดหลั่งแล้ว บางครั้ง ฝีคัณฑสูตรอาจจะเกิดขึ้นหลังจากรักษาฝีที่ก้นหายไปแล้วหลายเดือน หรือฝีคัณฑสูตรอาจเกิดขึ้นในปีต่อมา ดังนั้น การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรมักเป็นหัตถการที่ทำได้กับผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลในระยะเวลาสั้น ๆ

หลังจากการผ่าตัดฝีคัณฑสูตรและฝีหนองบริเวณทวารหนักแล้ว จะยังรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย และสามารถควบคุมได้ด้วยยาแก้ปวด ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาอีกซักเล็กน้อยเพื่อเข้ารับการผ่าตัด โดยต้องลางานหรือลาโรงเรียนมาซัก 1-2 สัปดาห์

นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยนั่งในอ่างน้ำอุ่นสำหรับผู้ที่เป็นฝีที่ก้น โดยให้บริเวณที่เป็นฝีได้สัมผัสกับน้ำอุ่น ๆ (sitz) 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน และแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาที่ช่วยให้อุจจาระเหลวเมื่อเวลาขับถ่ายจะได้ไม่รู้สึกเจ็บ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ผ้ากอซหรือแผ่นซับเล็ก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้หนองหรือสารคัดหลั่งไหลออกมาเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ได้แก่:

  • เกิดการติดเชื้อ

  • เกิดฝีคัณฑสูตร

  • กลับมาเป็นฝีที่ก้นซ้ำ

  • เกิดรอยแผลเป็น

หลังจากฝีที่ก้นหรือฝีคุณฑสูตรหายสนิทแล้ว ฝีที่ก้นไม่น่าจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพื่อป้องกันไม่ให้ฝีที่ก้นกลับมาเกิดซ้ำ ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างเคร่งครัด

นี่คือที่มาของแหล่งบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *