ปอดแฟบ (Atelectasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปอดแฟบ (Atelectasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

02.05
13793
0

ปอดแฟบ (Atelectasis) คือ เมื่อทางเดินหายใจหรือถุงลมปอดแฟบหรือไม่เปิดเต็มที่ เกิดซ้ำได้ และหากไม่รักษามีอันตรายถึงชีวิต

ปอดแฟบอาจเกิดขึ้นได้กับปอดทั้งสองข้างหรือแค่ส่วนหนึ่ง มีหลายประเภทและหลายสาเหตุ

90%ของผู้ที่ได้รับยาสลบระหว่างการผ่าตัดมีโอกาสเกิดปอดแฟบตามมา

สาเหตุของโรคปอดแฟบ

สาเหตุขึ้นอยู่กับว่าเป็นปอดแฟบแบบอุดกั้นหรือไม่อุดกั้น

ปอดแฟบไม่อุดกั้น (Nonobstructive)

 มีสาเหตุเกิดขึ้นจาก

การผ่าตัด

ยาที่ใช้ในการผ่าตัด เช่นยาสลบ ทำให้การทำงานของปอดเปลี่ยนไป (การแลกเปลี่ยนก๊าซ และการหายใจ) ทำให้เนื้อเยื่อปอดหรือทางเดินหายใจยุบ 

การผ่าตัดบางอย่างทำให้หายใจยากหรือเจ็บเมื่อหายใจลึกๆ ทำให้มีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซและการหายใจ เกือบ90% ของผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบจะมีอาการปอดแฟบ

น้ำท่วมปอด (Pleural Effusion)

เกิดเมื่อของเหลวคั่งในปอด ซึ่งจะทำให้ปอดแฟบบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งพบบ่อยจากการติดเชื้อ การอักเสบ และมะเร็ง

ปอดเสียหาย (Lung Damage)

ปอดเสียหายหรือมีแผลเป็นที่ปอด ทำให้ปอดหด ไม่สามารถขยายได้เต็มที่ โรคเช่น วัณโรค พังผืด และโรคเรื้อรังของปอด ทำให้ปอดเสียหาย

เนื้องอกหรือมะเร็งที่ช่องอก (Chest Tumors)

เนื้องอกหรือมะเร็งในช่องอกจะไปกดท่อหายใจและปอด ทำให้แฟบ

สารเคลือบผิว (Surfactant Conditions)

สารเคลือบผิวในถุงลมปอดที่มีน้อยหรือเสียหายไป ทำให้การขยายตัวของถุงลมปอดไม่ดี ส่วนใหญ่มักเกิดกับทารกที่เกิดก่อนกำหนด ทำให้เกิดภาวะการหายใจถูกกด

ความผิดปกติของท่อหายใจและปอด (Airways Or Lung Tissue Defects)

ความผิดปกติของท่อหายใจและปอด มีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซ การหมุนเวียนของอากาศ ความตึงผิว และตำแหน่งของปอดในช่องอก

Atelectasis

เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleurisy)

เยื่อหุ้มปอดที่อักเสบ แข็งและขรุขระ ทำให้เกิดการถูไถระหว่างการหายใจเข้าออก

ภาวะนี้เกิดเนื่องจากจากการติดเชื้อ อักเสบ เนื้องอก และภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบ

ปอดแฟบแบบอุดกั้น (Obstructive)

ปอดแฟบชนิดนี้เกิดเมื่อมีวัตถุหรือก้อนเนื้อที่งอกมาปิดท่อหายใจ หรือเพิ่มแรงกดที่เนื้อเยื่อปอดหรือท่อหายใจ 

สาเหตุที่พบบ่อยคือ

  • หายใจเอาวัตถุแปลกปลอม หรือมีวัตถุแปลกปลอมในท่อหายใจหรือเนื้อปอด
  • เนื้องอกในท่อหายใจหรือเนื้อปอด
  • มีเมือกอุดท่อหายใจ

อาการของปอดแฟบ

หากมีการอุดกั้นบริเวณเล็กๆ มักไม่ค่อยมีอาการ แต่หากมีการอุดกั้นมากขึ้น อาจมีอาการดังนี้

  • หายใจตื้น
  • ไอ
  • หายใจมีเสียงวื้ด หรือหายใจลำบาก
  • มีไข้
  • เสียงหายใจเบาลงหรือไม่ได้ยิน
  • มีเสมหะหรือเมือกปริมาณมาก
  • หน้าอกขยายน้อยลงเมื่อหายใจเข้า

การรักษาปอดแฟบ

การรักษาทั่วไป เช่น

  • ให้ยาพ่น
  • ฝึกการหายใจและการไอ
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • นั่งหลังตรง
  • หลังผ่าตัดไม่ควรนอนอยู่บนเตียงนานๆ ควรลุกจากเตียงและเดินให้เร็วที่สุด

แพทย์อาจทำวิธีการเหล่านี้เพิ่มเติม

  • ดูดของเหลวออก
  • นำวัตถุที่ติดในช่องปอดออก
  • แก้ไขโครงสร้างทางกายภาพที่ผิดปกติ
  • เปิดช่องทางที่แฟบ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *