ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) : AF คืออะไร 

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) : AF คืออะไร 

07.06
4124
0

 AF ย่อมาจาก   Atrial Fibrillation คือ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (มักเรียกว่า AFib หรือ AF) เป็นการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรือสั่นไหว (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวายและภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อหัวใจ มีประชากรอย่างน้อย 2.7 ล้านคนต้องมีชีวิตอยู่กับโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว 

ต่อไปนี้คือความรู้สึกของคนไข้ที่มีอาการโรคดังกล่าว เช่น:

“หัวใจของฉันเต้นไม่สม่ำเสมอ และรูสึกเหมือนจะระเบิดทะลุออกมา โดยเฉาพในเวลาที่ฉันเดินถือของขึ้นบันไดหรือลงบันได”

“ฉันรู้สึกคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะและอ่อนแรง หัวใจของฉันเต้นเร็วมากและฉันรู้สึกว่าฉันต้องอ้าปากเพื่อเอาอากาศเข้าไป”

“ผมไม่มีอาการอะไรเลย ผมเจอว่าเป็นโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วเมื่อเข้าตรวจเช็คร่างกายประจำปี ผมดีใจที่มาเจอโรคนี่ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก”

Atrial Fibrillation

จะเกิดอะไรขึ้นในระหว่างการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว 

ตามปกติแล้วหัวใจของเราจะหดและคลายเป็นจังหวะตามปกติ แต่ในภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หัวใจห้องบน (Atria) จะเต้นผิดปกติ (สั่น)ส่งผลในการลำเลียงเลือดเข้าไปสู่โพรง ห้องส่วนล่างของหัวใจ

หากพบว่ามีลิ่มเลือดหลุดออกมา เข้าสู่กระแสเลือดและโพรงในห้องหัวใจที่นำไปสู่สมอง หลอดเลือดสมอง ราว 15-20 เปอร์เซ็นต์ของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจะมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ AFซึ่งเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด และนี่คือเหตุผลว่าทำไมคนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้จึงมีความจำเป็นต้องได้รับยาเจือจางเลือด

หากไม่ได้รับการรักษาในภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสี่ยงชีวิตเพราะโรคเกี่ยวกับหัวใจมากขึ้นเป็นสองเท่า มีคนไข้หลายคนไม่เคยทราบมาก่อนว่าภาวะดังกล่าวนี้เป็นภาวะที่มีความรุนแรง

จากข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจมาเมื่อปี 2009 พบว่า:

  • มีคนไข้เพียง 33%เท่านั้นที่คิดว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วเป็นโรคที่มีความรุนแรง
  • น้อยกว่าครี่งของคนไข้ที่เป็นโรคนี้เชื่อว่าพวกเขามีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

การรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วสามารถช่วยชีวิตและลดความเสี่ยงได้

หากคุณหรือคนที่คุณรักมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คุณต้องทำการเรียนรู้ว่าโรคนี้คืออะไร ทำไมการรักษาจะสามารถช่วยชีวิตได้และควรทำอย่างไรเพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมาย เพื่อลดความเสี่ยงลงและช่วยทำให้มีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีได้

หากคุณคิดว่าคุณอาจมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ขั้นตอนดังต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญที่คุณต้องเรียนรู้ไว้:

  1. รู้จักอาการของโรค
  2. เข้าทำการรักษาทันที
  3. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย

(* ยาบางชนิดที่นำมาใช้ที่เรียกว่ายาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะยาดังกล่าวนี้สามารถช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดขึ้น ยาต้านการแข็งตัวของเลือดมีอยู่สามชนิดที่มักสั่งจ่ายให้คนไข้ คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น วอร์ฟารินหรือเฮพาริน ยาต้านเกล็ดเลือดเช่นแอสไพริน และยาละลายลิ่มเลือดเช่น tPA (tissue plasminogen activator) ซึ่งแต่ละชนิดจะทำงานเฉพาะตัวเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดหรือเกิดเหตุไปปิดกั้นหลอดเลือด หัวใจวายหรือหลอดเลือดสมอง)


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *