กระดูกหัก (Bone Fracture) เกิดขึ้นเนื่องจากแรงกระแทกตรงบริเวณกระดูก อย่างไรก็ตามกระดูกหักอาจเกิดกระดูกที่มีความอ่อนแอ เช่น ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือโรคมะเร็งบางชนิด รวมไปถึงความไม่สมบูรณ์ของการสร้างกระดูก (เรียกว่าโรคกระดูกเปราะ) ในทางการแพทย์เรียกอาการกระดูกหักว่า กระดูกหักผ่านรอยโรค (Pathologic Fracture)
กระดูกหักคืออะไร
กระดูกหักสามารถเกิดขึ้นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย กระดูกหักสามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น กระดูกหักที่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อรอบข้างหรือทำให้ผิวหนังฉีกขาดเรียกว่า กระดูกหักชนิดไม่มีแผล (Closed fracture) ในทางกลับกันถ้าเกิดการทำลายผิวหนังโดยรอบและทะลุผิวหนังออกมาเรียกว่า กระดูกหักแบบแผลเปิดหรือแผลลึกถึงกระดูกที่หัก (Compound fracture, open fracture)โดยทั่วไปแล้วมักมีความร้ายแรงมากกว่ากระดูกหักทั่วไปเนื่องจากเกิดการติดเชื้อได้
กระดูกของมนุษย์ส่วนใหญ่มีความแข็งแรงสามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดี อย่างไรก็ตามถ้าหากแรงมากเกินไปหรือมีบางอย่างผิดปกติกับกระดูกก็สามารถแตกหักได้ ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าใดกระดูกของเราก็จะต้านทานแรงได้น้อยลง เนื่องจากกระดูกของเด็กมีความยืดหยุ่นมากกว่ากระดูกของผู้ใหญ่ ถ้าหากเกิดกระดูกหักระหว่างเด็กและผู้ใหญ่จะมีแนวโน้มที่อาการจะแตกต่างกัน ในเด็ก จะมีแผ่นเสริมการเจริญเติบโต (growth plates) ที่ส่วนปลายของกระดูก ซึ่งกระดูกที่กำลังเติบโตบางครั้งอาจได้รับความเสียหายได้เช่นกัน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระดูกหัก
กระดูกหักส่วนใหญ่เกิดจากจากปัจจัยเหล่านี้ได้แก่:
- การหกล้มและอุบัติเหตุ
- กระดูกหักผ่านรอยโรค (Pathologic Fracture)
- การแตกหักทำให้เกิดการบาดเจ็บของ Overlying skin
- กระดูกหักมีหลายประเภทรวมถึง ปุ่มกระดูกแตก (Avulsion Fracture) กระดูกแตกย่อย (Comminuted Fracture) และกระดูกร้าว (Hairline fractures)
- การรักษากระดูกหักเป็นกระบวนการทางธรรมชาติทำให้กระดูกมีสภาวะที่เหมาะสมในการรักษาตัวเอง
อาการของกระดูกหัก
อาการของกระดูกหักอาจแตกต่างกันไปตาม อายุและสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ตลอดจนความรุนแรงของการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามมักมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย:
- อาการปวด
- อาการบวม
- ฟกช้ำ
- สีผิวรอบ ๆ เปลี่ยน
- อาจจะทำให้กระดูกงอ
- ผู้ป่วยไม่สามารถลงน้ำหนักบริเวณที่บาดเจ็บได้
- ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
- อาจมีอาการเสียดสีที่กระดูกหรือข้อต่อ
- หากกระดูกหักแบบเปิดอาจมีเลือดออกได้
หากเกิดอาการที่กระดูกขนาดใหญ่ เช่น กระดูกเชิงกรานหรือโคนขา อาจมีอาการดังต่อไปนี้:
ถ้าเป็นไปได้อย่าเคลื่อนย้ายผู้ที่กระดูกหักจนกว่าจะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและสามารถประเมินสถานการณ์ได้ แต่ถ้าหากจำเป็นอนุญาตให้ใส่เฝือกได้ เมื่อผู้ป่วยอยู่ในสถานที่อันตราย เช่น กลางถนน อาจจะต้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ที่กระดูกหักก่อนที่หน่วยฉุกเฉินจะมาถึง
ประเภทของกระดูกหัก
กระดูกหักมีหลายประเภท ได้แก่ :
- ปุ่มกระดูกแตก (Avulsion Fracture):กระดูกที่หักจากแรงกระชากกล้ามเนื้อหรือเอ็น
- กระดูกแตกย่อย (Comminuted Fracture):กระดูกแตกเป็นชิ้น ๆ
- กระดูกยุบตัว (Compression Fracture): โดยทั่วไปเกิดขึ้นกับกระดูกพรุนในกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกส่วนหน้าของกระดูกสันหลังอาจยุบลงเนื่องจากโรคกระดูกพรุน
- ข้อกระดูกหัก (Fracture dislocation ): ข้อต่อเคลื่อนและกระดูกของข้อต่อมีการแตกหัก
- กระดูกเดาะ (Greenstick Fracture): กระดูกบางส่วนหัก แต่ไม่ได้หักทั้งหมด สิ่งนี้พบได้บ่อยในเด็กที่มีกระดูกอ่อน
- กระดูกร้าว (Hairline fracture) :กระดูกหักบางส่วน บางครั้งจะตรวจด้วยเอ็กซ์เรย์ได้ยาก
- กระดูกหักยุบเข้าหากัน (Impacted Fracture): เมื่อกระดูกหักชิ้นส่วนของกระดูกชิ้นหนึ่งจะเข้าไปในอีกชิ้นหนึ่ง
- กระดูกหักภายใน (Intraarticular fracture) : รอยแตกขยายเข้าไปในพื้นผิวของข้อต่อ
- การแตกหักตามแนวยาว (Longitudinal fracture) : กระดูกหักไปตามความยาวของกระดูก
- กระดูกหักเฉียง (Oblique Fracture): กระดูกหักที่เป็นแนวทแยงกับแกนยาวของกระดูก
- กระดูกหักผ่านรอยโรค (Pathologic Fracture): ภาวะที่เป็นสาเหตุทำให้กระดูกอ่อนแอลงส่งผลให้เกิด กระดูกหักที่เกิดจากโรคหรือภาวะที่ทำให้กระดูกอ่อนแอลง
- กระดูกหักเป็นเกลียว (Spiral Fracture): กระดูกหักส่วนหนึ่งถูกบิด
- กระดูกหักล้า (Stress Fracture): กระดูกที่ปริออกจากกัน พบมากในหมู่นักกีฬา
- กระดูกหักนูนออก (Torus fracture) : กระดูกผิดรูป แต่ไม่แตก พบมากในเด็ก
- กระดูกหักตามขวาง (Transverse Fracture): กระดูกที่แตกออกตามแนวขวาง ไม่ได้เกิดรอยแตกไปตามแนวยาวของกระดูก
การวินิจฉัยโรคและการรักษา
ในทางการแพทย์มักจะรักษาอาการกระดูกหักโดยเน้นการรักษาตามธรรมชาติ โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อระบุอาการและทำการวินิจฉัย สอบถามอาการจากผู้ป่วย เพื่อนหรือญาติของผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ แพทย์จะสอบถามจากพยานในเหตุการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ แพทย์มักจะสั่งให้เอกซเรย์ในบางกรณีอาจสั่ง MRI หรือ CT scan ด้วย
การรักษากระดูกหักนั้นเป็นกระบวนการทางธรรมชาติส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จุดประสงค์ของการรักษาเพื่อให้แน่ใจว่าส่วนที่บาดเจ็บจะสามารถใช้งานได้ดีที่สุดหลังจากรักษา
การรักษาเน้นไปที่การทำให้กระดูกที่ได้รับบาดเจ็บอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเพื่อการรักษา (การดามไว้) เพื่อให้กระบวนการรักษาตามธรรมชาติเริ่มต้นขึ้น ปลายของกระดูกที่หักจะต้องเรียงกันเรียกว่า การลดการหักของกระดูก ซึ่งขั้นตอนนี้ผู้ป่วยมักจะหลับโดยใช้ยาชา การลดการการหักของกระดูกอาจทำได้โดยการจัดการลดขนาดแบบปิด closed reduction (ดึงชิ้นส่วนกระดูก) หรือการผ่าตัด
การตรึงกระดูก (Immobilization): เป็นการจัดเรียงกระดูกให้อยู่ในแนวเดียวกัน ในขณะที่อาจจะใช้วิธีการรักษาอื่นร่วม ได้แก่
- เข้าเฝือกพลาสติก: จะยึดกระดูกจนกว่าจะหายดี
- แผ่นโลหะและสกรู (Metal plates and screws): ปัจจุบันอาจใช้เทคนิคนี้น้อยลง เนื่องจากเทคนิคนี้เป็นเทคนิคการรุกล้ำ (Invasive techniques)
- เหล็กแกนดามกระดูก (Intra-medullary nails): ใช้แท่งโลหะวางลงตรงกลางกระดูกยาว อาจใช้สายไฟที่ยืดหยุ่นได้หากเกิดขึ้นในเด็ก
- ตัวยึดภายนอก (External fixators): อาจทำจากโลหะหรือคาร์บอนไฟเบอร์โดยใช้หมุดเหล็กยึดเข้าไปในกระดูกโดยตรงผ่านผิวหนัง
โดยปกติบริเวณกระดูกที่หักจะถูกตรึงไว้เป็นเวลา 2-8 สัปดาห์ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับว่ากระดูกชิ้นใดได้รับผลกระทบและเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ เช่น ปัญหาการให้เลือดหรือการติดเชื้อ
การรักษา: การรักษาอาการกระดูกหักจะใช้การจัดเรียงกระดูกอย่างถูกต้องและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
Osteoclasts (เซลล์กระดูก) ดูดซับกระดูกที่เสียหายในขณะเดียวกันจะใช้เซลล์สร้างกระดูก (เซลล์กระดูกอื่น ๆ) เพื่อสร้างกระดูกใหม่
แคลลัส (Callus) เป็นกระดูกใหม่ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ กระดูกที่หัก ซึ่งก่อตัวขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่ง เติบโตไปที่ปลายกระดูกแต่ละด้านจนกว่าจะเต็มช่องว่าง จนกระดูกจะเรียบเหมือนเดิม
อายุและสุขภาพของผู้ป่วยล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการที่การรักษาอาการ หากผู้ป่วยสูบบุหรี่เป็นประจำกระบวนการรักษาจะใช้เวลานานขึ้น
กายภาพบำบัด: หลังจากกระดูกหายเป็นปกติแล้ว อาจจำเป็นต้องฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว หากกระดูกหักใกล้หรือผ่านข้อต่อ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการตึงถาวรหรือข้ออักเสบ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถงอข้อนั้นได้เหมือนเดิม
การผ่าตัด: หากมีความเสียหายที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนรอบ ๆ กระดูกหรือข้อต่อ อาจจะต้องทำศัลยกรรมเพิ่มเติม
การใช้เวลามากกว่าปกติเพื่อที่ให้กระดูกจะต่อกันและการที่กระดูกหักแล้วไม่ต่อกัน (Delayed unions and non-unions): การที่กระดูกหักแล้วไม่ต่อกัน (Non-unions) ทำให้กระดูกที่หักที่ไม่สามารถรักษาได้ ในขณะที่การใช้เวลามากกว่าปกติเพื่อที่ให้กระดูกต่อกัน (Delayed unions) จะทำให้เกิดการล่าช้าเนื่องจากต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่า
- การบำบัดด้วยอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound therapy): อัลตราซาวด์ที่มีความเข้มต่ำสามารถทำได้ทุกวัน พบว่าจะช่วยทำให้กระดูกที่หักหายได้
- การปลูกถ่ายกระดูก (Bone graft): การปลูกถ่ายกระดูกธรรมชาติหรือกระดูกสังเคราะห์เพื่อเป็นกระตุ้นกระดูกที่หัก
- การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell therapy): ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา เพื่อดูว่าเซลล์ต้นกำเนิดสามารถใช้ในการรักษากระดูกหักที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่นหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อน
การที่กระดูกเชื่อมต่อกันในตำแหน่งที่ผิดปกติ เรียกว่า Malunion ทำให้กระดูกผิดรูปหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูก (อาจทำให้กระดูกที่หักต่อกันได้ไม่ดี
การหยุดการเจริญเติบโตของกระดูก หากเกิดกระดูกหักในวัยเด็ก อาจจะส่งผลกระทบต่อแผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกที่ผิดรูปตามมา
การติดเชื้อที่กระดูกหรือไขกระดูก หากมีการแผลที่ผิวหนังทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปและเกิดการติดเชื้อที่กระดูกหรือไขกระดูก อาจจะกลายเป็นการติดเชื้อถาวร (โรคกระดูกอักเสบเรื้อรัง) ผู้ป่วยอาจจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ บางครั้งต้องผ่าตัดและขูดออก
ภาวะหัวกระดูกข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด (Avascular necrosis) หากเกิดการขาดเลือด อาจจะทำให้เสียชีวิตได้
วิธีการป้องกันการกระดูกหัก
โภชนาการและแสงแดด ร่างกายมนุษย์ต้องการแคลเซียมอย่างเพียงพอเพื่อกระดูกที่แข็งแรง นม ชีสโยเกิร์ต และผักใบเขียวเป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี
วิตามินดีเพื่อดูดซึมแคลเซียม การสัมผัสกับแสงแดดเช่นเดียวกับการรับประทานไข่และน้ำมันปลาเป็นวิธีที่ดีในการรับวิตามินดี วิตามินดีมีบทบาทในการบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
การออกกำลังกาย หากเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยมีการลงน้ำหนักที่ขา (Weight-bearing exercises) ยิ่งมากเท่าไหร่กระดูกก็จะแข็งแรงขึ้นเท่านั้น เช่น การกระโดด การเดิน การวิ่ง และการเต้นรำ
อายุที่มากขึ้นไม่เพียงแต่ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง แต่การออกกำลังกายที่น้อยลงจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้กระดูกอ่อนแอลง การเคลื่อนไหวร่างกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกวัย
ภาวะวัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งควบคุมแคลเซียมของผู้หญิงจะลดลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน ทำให้การควบคุมแคลเซียมยากมากขึ้น ดังนั้นผู้หญิงจึงต้องระมัดระวังเกี่ยวกับความแข็งแรงของกระดูกในระหว่างวัยทองและหลังวัยทอง
วิธีการลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนหลังวัยทอง ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้:
- ออกกำลังกายแบบ Weight-bearing exercises สั้น ๆ หลายครั้งในแต่ละสัปดาห์
- ห้ามสูบบุหรี่
- บริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะหรืองดดื่มแอลกอฮอล์
- รับแสงแดดอย่างเพียงพอ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารที่รับประทานมีแคลเซียมที่เพียงพอ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมเพื่อทานเพิ่มเติม
แหล่งที่มาของบทความ
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15241-bone-fractures
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-fractures-basic-information
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก