Brilliant post this match. I was checking constantly this vortal and Im ecciting! Extremely useful info specifically the last post :) I was looking for this particular info for a long time. Thank you and good luck...
อาการของโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) คือการไอ มีเสียงหวีดและหายใจลำบาก นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบยังมีปัญหาในการสั่งน้ำมูกหรือไอเพื่อเอาเสมหะออกจากทางเดินหายใจ
โรคหลอดลมอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยปกติโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันมักเกิดขึ้นและหายไปเองได้ส่วนอาการหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังเป็นอาการที่เกิดขึ้นยาวนานเเละไม่สามารถหายไปเองได้ ทั้งนี้การเลิกสูบบุหรี่สามารช่วยป้องกันโรคหลอดลมอักเสบได้
ในบทความนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสาดหตุและอาการรวมไปถึงการรักษาและการป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
อาการโรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ถ้าเป็นชนิดเฉียบพลันเมื่อผู้ป่วยมีอาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลันอาการนี้สามารถหายไปได้เอง แต่ถ้าเป็นโรคหลอดอักเสบชนิดเรื้อรังผู้ป่วยจะมีอาการของโรคที่ยาวนานและถาวรซึ่งบางครั้งอาจจะมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลงได้
สัญญาณเตือนและอาการของโรคหลอดลมอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันเเละเรื้อรัง
- มีอาการไออย่างรุนเเรงซึ่งอาจมีเสมหะด้วย
- มีเสียงหวีดขณะหายใจ
- มีไข้ต่ำและมีอาการหนาวสั่น
- รู้สึกแน่นที่หน้าอก
- มีอาการเจ็บคอ
- มีอาการปวดเมื่อยร่างกาย
- หายใจลำบาก
- มีอาการปวดหัว
- มีอาการคัดจมูกและเกิดโพรงจมูกอักเสบ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบอาจมีอาการไอเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือเเม้แต่หลายเดือนได้เพราะหลอดลมที่อักเสบต้องใช้เวลานานในการรักษาตัวเอง
อาการของโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังสามารถเกิดการลุกลามได้เป็นปกติ โดยส่วนใหญ่เเล้วอาการของโรคนี้มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว
อย่างไรก็ตามโรคหลอดลมอักเสบเพียงอย่างเดียวไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอ บางครั้งอาการไออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหอบหืด โรคปอดบวมหรืออาการของโรคอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่มีอาการไออย่างรุนเเรงและเป็นเวลานานควรไปพบเเพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค
สาเหตุของอาการไอคืออะไร ค้นหาสาเหตุของอาการไอได้ที่นี่
โรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันมีอาการของโรคเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยปกติเเล้วอาการที่เกิดขึ้นมักมีรูปแบบที่คล้ายกันซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสเช่นโรคไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่และอาจมีสาเหตุมาจากไวรัสชนิดเดียวกัน
ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการไอทั้งแบบมีเสมหะเเละไม่มีเสมหะ
- มีอาการเจ็บที่หน้าอก
- มีไข้
- มีอาการปวดหัวปานกลางและมีอาการป่วยเมื่อยร่างกาย
- หายใจแบบสั้นๆ
ซึ่งโดยปกติอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์
โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง
โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังมีอาการเหมือนกับหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันแต่เป็นโรคที่ทำให้มีอาการเจ็บป่วยต่อเนื่อง
หนึ่งในคำจำกัดที่ทำให้สามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังคือการที่บุคคลดังกล่าวมีอาการของโรคเกิดขึ้นทุกวันซึ่งเป็นผู้ที่มีอาการไอเป็นเวลาอย่างน้อย2 – 3 เดือนต่อปี
ข้อมูลจากสถาบันควบคุมโรคเเละการป้องกันโรค(CDC) ได้ให้ข้อมูว่าผู้ที่เป็นโรคถุงลมโปงพองร่วมกับโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันควรได้รับการวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่อันตรายและเป็นภัยคุกคามต่อชีวิต
การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
แพทย์จะเเนะนำให้ผู้ที่มีอาการหลอดลมอักเสบปฏิบัติตัวตามวิธีดังต่อไปนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำให้มากๆ
- ซื้อยามาทานเองได้เช่นยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
การซื้อยามาทานเอง (OTC) สามารถช่วยบรรเทาอาการไอเเละอาการเจ็บปวกอื่นๆที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาการของโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันจะหายไปเองโดยไม่จำเป็นเข้ารับการรักษาจากแพทย์
สำหรับโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันอาจจะต้องใช้เวลาในการรักษาสักพักหนึ่ง อย่างไรก็ตามอาการของโรคนี้สามารถกลับมาเกิดขึ้นได้อีกครั้งหรือมีอาการรุนเเรงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่
วิธีการรักษาที่สามารถช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบได้แก่
การใช้ยาแก้ไอ
อาการไอเป็นกลไกของร่างกายที่เกิดขึ้นเพื่อขับเสมหะในหลอดลมออกจากร่างกาย แต่ทั้งนี้การใช้ยาแก้ไอสามารถช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืนได้
การทานน้ำผึ้ง
การทานน้ำผึ้งปริมาณ 2 ช้อนสามารถช่วยบรรเทาอาการไอได้เป็นอย่างดี
การใช้เครื่องช่วยทำความชื้นในอากาศ
การใช้เครื่องทำความชื้นนี้สามารถช่วยทำให้เกิดน้ำมูกหรือเสมหะลดลง ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศรวมไปถึงช่วยบรรเทาอาการเสียงหวีดได้เป็นอย่างดี
ยาพ่นขยายหลอดลม
การใช้ยาพ่นเพื่อขยายหลอดลมนี้สามารถช่วยทำให้หลอดลมขยายขึ้นและช่วยละลายเสมหะที่อยู่ในหลอดลม
ยาขับเสมหะ
ยาขับเสมหะใช้เพื่อละลายเสมหะที่อยู่ในหลอดลมมีความเข้มข้นน้อยลงเพื่อทำให้สามารถกำจัดเสมหะออกมาด้วยการไอได้
ยารักษาหลอดลมอักเสบเช่น ยาแก้อักเสบและยาสเตียรอยด์
การใช้ยาทั้งสองชนิดนี้สามารถช่วยลดการติดเชื้อที่ทำลายเนื้อเยื่อได้
การบําบัดด้วยออกซิเจน
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบรุนเเรง ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อทำให้หายใจได้ง่ายขึ้น
การใช้ยาปฏิชีวนะ
ถ้าหากโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะแก่คนไข้เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อขั้นที่สองได้ แต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยยาทั้งสองชนิดนี้ไม่เหมาะสมกับสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากไวรัส
โดยส่วนใหญ่แพทย์จะไม่ให้ยาปฏิชีวนะกับผู้ป่วยนอกจากสามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยได้รับการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่แพทย์ควรใช้ยาปฏิชีวนะอย่างระมัดระวังเพราะว่าการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปทำให้การรักษาการติดเชื้อในระยะยาวทำได้ยากมากยิ่งขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/lungs-and-airways/bronchitis
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bronchitis/symptoms-causes/syc-20355566
- https://www.nhs.uk/conditions/bronchitis/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก