แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate)

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate)

26.06
1046
0

แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3)

แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นยาที่ใช้เสริมแคลเซียมสำหรับผู้ที่ขาดแคลเซียม เช่น ผู้ป่วยพาราไทรอยด์ต่ำชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง สตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน กระดูกอ่อนและความผิดปกติของกระดูก นอกจากนั้น ในปัจจุบันแพทย์ยังนิยมใช้เป็นตัวจับฟอสเฟตและช่วยรักษาระดับของแคลเซียมในผู้ป่วยไตวายชนิดเรื้อรัง

 

การรับประทานแคลเซียมคาร์บอเนต  อาจทําให้มีอาการท้องอืด  ไม่สบายท้อง  แน่นท้อง  บางรายจะมีอาการท้องผูกมาก  สามารถหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้  โดยการรับประทานแคลเซียมซิเตรต  (calcium  citrate)  หรือแคลเซียมที่มาจากธรรมชาติ  เนื่องจากเป็นแคลเซียมชนิดที่ดูดซึมง่าย  และกระเพาะอาหารไม่จำเป็นต้องอยู่ในสภาพเป็น

กรด  เพื่อใช้ในการแตกตัวและดูดซึม  และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแคลเซียม  พร้อมกับอาหารที่มีกากใยสูง

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แคลเซียม  จึงควรคำนึงถึงเกลือของแคลเซียม  ว่าเป็นเกลือชนิดใดด้วย  เพราะเกลือของแคลเซียมแต่ละชนิด  ให้แคลเซียมในปริมาณที่แตกต่างกัน  และร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมแต่ละชนิด  ในแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน  โดยการรับประทานแคลเซียมเสริมแต่ละวัน  ในปริมาณที่พอเหมาะไม่ทำให้เกิดผลเสียใด ๆ ต่อร่างกาย

CaCo3 

สูตรทางเคมีของแคลเซียมคาร์บอเนตคือ CaCO3 มีคุณสมบัติเฉพาะที่ไม่เป็นพิษ มีความขาว และความสว่างสูงจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเช่น ใช้เป็นตัวเติมเต็ม และตัวเพิ่มปริมาณ ใน อุสาหกรรมกระดาษ สีพลาสติก พีวีซี และยาง เช่นยางในและยางนอกรถยนต์ รองเท้าสายพานลำเลียงขนถ่ายสินค้า เป็นต้น ใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆนอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์สายหุ้มโทรศัพท์ฉนวนหุ้มสายไฟ ปากกา ยางลบ ถุงมือ และแว่นตา เป็นต้น

แคลเซียม

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกาย โดยร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน เพิ่มความหนาแน่นให้มวลกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ส่วนอีกร้อยละ 1 อยู่ในเลือดมีบทบาทควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผล  การทำงานของระบบประสาท และช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด ปกติร่างกายจะไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้เอง จึงต้องรับประทานเข้าไปเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ถูกนำไปใช้หรือถูกขับทิ้งออกจากร่างกาย 

ถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมไว้ในกระดูกออกมาใช้ เพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด ทำให้กระดูกบางและเปราะได้ และมีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้น โดยพบมากในผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารไม่เพียงต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้

หน้าที่สำคัญของแคลเซียม เช่น พัฒนาและสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาท การปลดปล่อยฮอร์โมน เป็นต้น

Calcium Carbonate

อาหารเสริมแคลเซียม

อย่างที่เราทราบกันไปแล้วว่า 99% ของแคลเซียมในร่างกายอยู่ในกระดูกและฟัน แคลเซียมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระดูกและฟันยังแข็งแรงและสามารถใช้งานได้อย่างเป็นปกติ การเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายจึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญในทุกช่วงวัยของชีวิต โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้น เพราะความหนาแน่นของมวลกระดูกจะค่อยๆลดลงอย่างชัดเจน สิ่งที่เราทำได้ไม่ใช่การทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่าเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ การดูแลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงอย่างช้าที่สุด เพื่อให้กระดูกเรา

ยังแข็งแรงสมวัยห่างไกลโรคกระดูกบางและกระดูกพรุนนั่นเอง

เนื่องจากแคลเซียมมีบทบาทสำคัญต่อการบำรุงกระดูกและฟัน การทานอาหารหรืออาหารเสริมให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอต่อวัน จึงเป็นเรื่องจำเป็น ไม่ว่าเราจะมีปัญหาโรคกระดูกและกระดูกพรุนหรือไม่ก็ตามการรับแคลเซียมทางอาหารมักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะพฤติกรรมการกินของคนเรามักจะไม่เปลี่ยนในขณะที่อายุมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกัน ก็คือ ไม่ว่าคนเราจะอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยังมักจะมีพฤติกรรมการกินเหมือนเดิม ซึ่งไม่สอดคล้องกับความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความยุ่งยากในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ซึ่งใช้เวลาทำงานเยอะ จีงให้เวลาน้อยกับเรื่องอาหารการกินของตนเอง ดังนั้น อาหารเสริมแคลเซียมจึงเข้ามาเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพอีกทางหนึ่ง

นอกจากอาหารเสริมแคลเซียมจะช่วยบำรุงและดูแลกระดูกและฟันแล้ว ในกรณีของผู้ที่มีปัญหากระดูกบางหรือและกระดูกพรุน อาหารเสริมแคลเซียมก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่แพทย์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเหล่านี้ โดยการใช้อาหารเสริมแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้และลดปัญหากระดูกบางหรือกระดูกพรุนได้ ผลที่ได้จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับสุขภาพพื้นฐาน อายุ โรคประจำตัวและความรุนแรงของโรคที่มีอยู่ก่อนแล้ว

อาหารเสริมแคลเซียม ช่วยชะลอการลดลงของมวลกระดูกและช่วยให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้นได้สำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกบางและหรือกระดูกพรุน อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ทีมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนมากแล้ว การใช้อาหารเสริมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ควรที่จะปรึกษาแพทย์ แพทย์จะมียาที่ใช้สำหรับเร่งสร้างมวลกระดูกโดยเฉพาะ แต่การรักษาที่ได้ผลแบบรวดเร็วย่อมมาพร้อมกับผลข้างเคียงมากมายที่ตามทีหลังเสมอ

แคลเซียมกินตอนไหน

ควรรับประทานแคลเซียม หลังการรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง เพราะเป็นการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารมากที่สุด แคลเซียมต้องอาศัยกรดในการดูดซึม ซึ่งจะทำให้แคลเซียมมีการดูดซึมได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพที่ครบถ้วน 

การรับประทานแคลเซียม เราจะรับประทานตอนอาหารมื้อไหนก็ได้ เพราะจะให้ผลที่เหมือนกัน  แต่ควรหลีกเลี่ยงการทานแคลเซียมร่วมกับอาหารที่มีกรด Oxalic หรือ Phytic สูง เช่น ผักขม มันฝรั่ง ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากถั่วต่างๆ เพราะสารเหล่านี้จะลดการดูดซึมของแคลเซียมได้

แคลเซียมบำรุงกระดูก

การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเราสามารถทำได้ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงสุด และค่อยลดลงอย่างช้าๆ ดังนั้นร่ายกายของเราควรได้รับปริมาณแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตามคำแนะนำของกรมอนามัย

การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เป็นส่วนสำคัญในการสร้างและป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้

การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ควรรับประทานครั้งละน้อยๆหรือแบ่งเป็นมื้อเล็กๆหลายมื้อ จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคล

เซียมได้ดีกว่าการรับประทานครั้งละมากๆ

แคลเซียมสำหรับคนตั้งครรภ์

แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ที่ตั้งครรภ์ ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น ทารกในครรภ์จะดูดซึมแคลเซียมผ่านคุณแม่ เพราะช่วงเวลาที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้นเป็นช่วงที่มีการพัฒนาการสูงมาก ร่างกายของลูกในครรภ์ต้องการการเจริญเติบโต สร้างกระดูก สร้างกล้ามเนื้อ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องบำรุงร่างกายเป็นพิเศษ เมื่อทารกในครรภ์ดูดซึมแคลเซียมผ่านคุณแม่ความหนาแน่นของมวลกระดูกคุณแม่จะลดลง เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้ แต่เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับแคลเซียลที่เพียงพอ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ลดการเกิดตะคริวได้อีกด้วย แม่ตั้งครรภ์นั้นควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม

ดังนั้นต้องอาศัยอาหารเหล่านี้มาเติมเต็มได้แก่ นม โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ ผักใบเขียว ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากพืชผักได้น้อยกว่านมและก้างปลา ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ทำได้โดยดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว แบ่งเป็นนมวัว 1 แก้ว และนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมอีก 1แก้ว ปลาที่กินทั้งกระดูก เช่น ปลาข้าวสาร ปลาตัวเล็ก กินร่วมกับข้าว ไข่ 1 ฟอง ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ผักใบเขียว ผลไม้ 2-3 ชนิด และเลือกอาหารไทยๆ ที่มีกะปิเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงเลียง ต้มส้ม แกงเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

แคลเซียมเม็ดฟู่

แคลเซียมเม็ดฟู่ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีกรดในกระเพาะอาหารน้อย เพราะแคลเซียมโดยปกติแล้วจะละลายได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด ดังนั้นถ้ามีกรดในกระเพาะอาหารน้อยจะทำให้ละลายไม่ดี การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจึงได้น้อยตามไปด้วย ดังนั้นสารต่างๆ ในสูตรตำรับจะสามารถช่วยละลายแคลเซียมเพื่อให้พร้อมดูดซึมได้ทันทีเมื่อรับประทานเข้าไป


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *