เดจาวูคืออะไร (Causes and Treatment of Dejavu)

เดจาวูคืออะไร (Causes and Treatment of Dejavu)

02.11
13495
0

เดจาวู (Dejavu) คืออะไร

คุณเคยมีความรู้สึกว่าเคยทำอะไรบางอย่างหรือผ่านสถานการณ์ใดมาก่อนหรือไม่  ทั้งที่ดูเหมือนพึ่งจะพบเป็นครั้งแรกก็ตาม ความรู้สึกนั้นมักถูกเรียกว่าเดจาวู คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส Dejavu แปลว่า เห็นแล้ว

บางคนคิดว่าเดจาวูเป็นสัญญาณของปรากฏการณ์ทางจิตที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ด้วย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อาการผิดปกติทางจิตใจ

ใครที่เคยมีประสบการณ์ Dejavu 

ประมาณ 60% ถึง 70% ของผู้ที่มีสุขภาพดีมักเคยพบกับเดจาวูบางรูปแบบมาแล้วในบางช่วงของชีวิต ภาพหรือเสียงที่คุ้นเคยอาจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกได้ บางคนอาจเดินเข้าไปในห้อง หรือในอาคารที่ไม่เคยไปมาก่อน แต่กลับรู้สึกเหมือนคุ้นเคยกับสถานที่เหล่านั้นเป็นอย่างดี ความรู้สึกเดจาวูส่วนมากจะหายไปอย่างรวดเร็ว อาจทำให้จดจำรายละเอียดบางอย่างที่เกิดจากประสบการณ์ได้ยาก

Dejavu เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 25 ปี คนเรามักประสบกับความรู้สึกนี้ลดลง เมื่ออายุมากขึ้น หากกำลังเดินทางบ่อย ๆ หรือฝันอยู่เป็นประจำ ผู้นั้นอาจมีโอกาสประสบกับเดจาวูได้มากกว่าคนอื่น ๆ คนที่เหนื่อยหรือเครียดมักรู้สึกถึงเดจาวูได้เช่นกัน คนส่วนมากเกิดเดจาวูในช่วงเย็น หรือวันหยุดสุดสัปดาห์

เดจาวู เกิดจากอะไร 

หน่วยความจำจะถูกเก็บเอาไว้ในสมองกลีบขมับ สมองส่วนนี้ช่วยให้เรารับรู้ประสบการณ์ที่คุ้นเคยได้ แต่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ประสบการณ์เดจาวูได้ว่าเป็นผลมาจากความทรงจำที่เก็บไว้ในพื้นที่ชั่วคราว นักวิจัยบางคนเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างทั้ง 2 ส่วนนี้

มีผลการทดสอบพบความเชื่อมโยงเดจาวูกับหน่วยความจำ และการจินตนาการของสถานการณ์เสมือนจริงโดยอิงจากโลกของวิดีโอเกม หลายคนที่เข้าร่วมงานวิจับพบประสบการณ์เดจาวูที่หลากหลายซึ่งเชื่อมโยงกับฉากเกมที่คล้ายคลึงกันและเคยดูมาก่อน

บางคนอาจรู้สึกว่าเดจาวูคล้ายกับการทำนายเหตุการณ์ในอนาคต แต่ผลการทดลองพบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน

Causes and Treatment of Dejavu

การรักษาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเดจาวู 

คนส่วนมากเคยประสบกับเดจาวูโดยไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ แต่บางกรณีเดจาวูอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติทางระบบประสาท บุคคลที่เป็นโรคลมบ้าหมูมักมีอาการชักแบบเฉพาะจุด บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของสมอง บางครั้งในสมองกลีบขมับที่ใช้เก็บความทรงจำ อาการนี้เรียกว่าอาการชักเกร็งที่กลีบขมับ

อาการชักเกี่ยวข้องกับการกระจายของกระแสไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เซลล์ประสาทในสมองทำงานผิดพลาด อาการชักแบบเฉพาะที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน และบางคนอาจยังคงตื่นอยู่ในขณะที่เกิดอาการ ทำให้ยากต่อการรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ผู้คนอาจเข้าใจผิดว่าผู้ที่เกิดอาการชักแบบเฉพาะที่เป็นภาพฝันกลางวัน หรือภาพเบลอจากการมองระยะไกล

อาการชักของสมองกลีบขมับอาจทำให้เกิดความรู้สึกของเดจาวู สัญญาณที่บ่งบอกว่าเกิดอาการชักที่สมองกลีบขมับ ไม่ใช่ประสบการณ์เดจาวูตามปกติ ได้แก่:

  • ความรู้สึกที่เกิดอย่างฉับพลันอธิบายไม่ได้ เช่น ดีใจ หรือโกรธ
  • เกิดปัญหาในการควบคุมกล้ามเนื้อ
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ประสาทสัมผัสที่เกี่ยวกับการมองเห็น การรับรส กลิ่น การได้ยิน และการสัมผัสอ่อนไหวมากขึ้น
  • รู้สึกเหมือนกำลังจะเป็นลม

อาการชักของสมองกลีบขมับจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการโต้ตอบกับผู้อื่น ส่วนมากมักเกิดได้นานตั้งแต่ 30 วินาทีถึงนาที หากสูญเสียการตระหนักรู้ถึงสิ่งรอบตัว หรือรู้ตัวว่ากำลังนั่งมองออกไปไกล ๆ คนอื่นอาจสังเกตเห็นเพียงว่ากำลังเม้มริมฝีปาก เคี้ยว หรือกลืนอะไรอยู่ในระหว่างที่ชัก

เมื่อการชักของสมองกลีบขมับสิ้นสุดลง อาจรู้สึกสับสน และอาจเป็นเรื่องยากสำหรับการพูดหรือจดจำสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่มีอาการชัก อาการชักของสมองกลีบขมับอาจกลายเป็นอาการชักแบบโทนิค-คลิออน (หรือแกรนด์มอล) ที่รุนแรงมากขึ้น เกิดอาการชักเกร็งที่ร่างกาย และทำให้หมดสติ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคลมชักชนิดเหม่อ

ควรไปพบแพทย์เมื่อเกิดอาการเดจาวูหรือไม่ 

ควรได้รับการประเมินจากแพทย์ หากสงสัยว่าเกิดอาการชักแบบชั่วคราว หรือเกิดปัญหาทางระบบประสาทอื่น ๆ ที่ทำให้รับรู้ถึงเดจาวู ควรไปพบแพทย์ทันที ในกรณีที่:

  • มีอาการชักนานกว่า 5 นาที
  • มีปัญหาการควบคุมการหายใจ หลังจากเกิดอาการชัก
  • หมดสติหลังจากเกิดอาการชัก
  • มีอาการชักซ้ำขึ้นมาภายหลัง
  • มีปัญหาทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน
  • กำลังตั้งครรภ์
  • ทำร้ายตัวเองระหว่างที่ชัก

ไปพบแพทย์ในกรณีที่มีอาการชักเป็นครั้งแรก อาการชักอย่างต่อเนื่องอาจทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสหดตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ใช้ในการเรียนรู้และควบคุมความจำ การสูญเสียเซลล์สมองจะนำไปสู่ปัญหาด้านความทรงจำอื่น ๆ

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *