

ภาวะสมองบวม (Cerebral Edema) คือการที่มีของเหลวอยู่มากเกินไปรอบ ๆ สมอง ทำให้ความดันเพิ่มขึ้น เรียกว่า ภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
การบวมหรือการอักเสบในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อการบาดเจ็บ การบวมน้ำหมายถึงการบวมที่เกิดจากการสะสมอยู่ของของเหลว ซึ่งสามารเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย หากเกิดภาวะบวมน้ำขึ้นในสมอง จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง
ภาวะสมองบวมจะทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ เลือดลำเลียงออกซิเจนสู่สมอง ซึ่งทำให้สมองทำงาน การขาดออกซิเจนจะทำให้เซลล์สมองถูกทำลายและทำให้สมองตาย
ภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูงสามารถส่งผลต่อจุดใดจุดหนึ่งในสมองหรือทั้งสมองขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิด
ภาวะสมองบวมทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถทำให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้ ในบางเคสอาจถึงตายได้
อาการสมองบวม
อาการของสมองบวมอาจมีดังนี้ :
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้และอาเจียน
- วิงเวียนศีรษะ
- มีปัญหาด้านความจำ
- พูดลำบาก
- ชัก
- สูญเสียการมองเห็น
- ปวดคอ
- เคลื่อนไหวลำบาก
- หมดสติ
- อาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของการบวม

สาเหตุของสมองบวม
ภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูงเนื่องจากสมองบวมอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ :
-
การได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่สมอง: เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เช่น การตกจากที่สูง หรือ การประสบอุบัติเหตุจากยานพาหนะ
-
ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน: เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดไปขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง การขาดออกซิเจนทำให้เซลล์สมองถูกทำลายและเป็นสาเหตุของการบวมและความดัน
-
เนื้องอกในสมอง: เนื้องอกสามารถไปกดบางส่วนของสมอง หรือ ทำให้ของเหลวไม่สามารถออกจากสมองได้ ทำให้เกิดภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
-
การติดเชื้อ: การติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือไวรัสเป็นสาเหตุให้สมองบวมได้ เช่น โรคไข้สมองอักเสบเป็นการติดเชื้อที่ทำให้สมองอักเสบ และเกิดความดันสูงในกระโหลกศีรษะ
-
ภาวะเลือดออกในสมอง: เกิดขึ้นเมื่อเล้นเลือดในสมองรั่วหรือแตก ทำให้เกิดการอักเสบและภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
-
ระดับความสูง: ภาวะสมองบวมสามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ในระดับความสูงประมาณ 4,000 เมตร เช่นกัน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยภาวะสมองบวมนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ด้วยความที่มีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันไปที่ต้องพิจารณา
แพทย์อาจทำสิ่งเหล่านี้เพื่อวินิจฉัย:
-
การทดสอบทางกายภาพของหัวและคอ
-
สแกน หรือ MRI สแกนที่ศีรษะ
-
การตรวจเลือด
-
การทดสอบระบบประสาท
การรักษาอาการสมองบวม
ภาวะสมองบวมนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีเพื่อลดความเสี่ยงของความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้หรือการตาย
การรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของความดันในกระโหลกศีรษะที่สูง การรักษาต่าง ๆ มีดังนี้:
-
ยา: แพทย์ขะใช้ยาเพื่อลดอาการบวมหรือลดลิ่มเลือด ยาเหล่านั้น เช่น warfarin ซึ่งต้านการแข็งตัวของเลือดและลดลิ่มเลือด ในบางเคส แพทย์อาจแนะนำให้ใช้แอสไพริน แต่ยานี้ไม่ถูกแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เลือดออก
-
การผ่าตัด: ในเคสที่รุนแรง แพทย์อาจต้องผ่าติดเพื่อลดความดันในศีรษะ การผ่าตัดทำได้โดยการเปิดกระโหลกศีรษะแะซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย เช่น เส้นเลือดที่แตก การเจาะระบายน้ำโพรงสมองก็เป็นวิธีหนึ่งที่แพทย์ใช้ โดยการสอดท่อพลาสติกเข้าไปในกระโหลกศีรษะเพื่อระบายของเหลวออกและลดความดันในสมอง
-
การทำให้ตัวเย็น: การรักษาวิธีนี้เป็นการลดอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดการบวมของสมองได้
-
การนำน้ำออกจากสมอง: การรักษาวิธีนี้จะใช้ยาขับน้ำออกจากสมองเพื่อที่จะทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่สมองได้มากขึ้น และช่วยลดความดันในสมอง
นี่คือที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก