โรคเลือดออกในสมอง (Brain Hemorrhage) :อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเลือดออกในสมอง (Brain Hemorrhage) :อาการ สาเหตุ การรักษา

19.01
1251
0

โรคเลือดออกในสมองหมายถึง (Brain Hemorrhage) คือภาวะเลือดออกในสมองหรือสมองมีก้อนเลือดคั่งอยู่ข้างใน  ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ และผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

สมองของคนเราได้รับการปกป้องโดยมีกะโหลกศีรษะ ล้อมรอบสมองเอาไว้  หากสมองมีเลือดออกข้างในจะทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะและทำให้เกิดความเสียหายต่อเยื่อหุ้มสมอง

ถ้าหลอดเลือดในสมองรั่วหรือแตก จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง

แรงดันจากการที่เลือดออกมากเกินไปอาจรุนแรงจนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเยื่อหุ้มสมองได้ ส่งผลให้สมองการขาดออกซิเจน สามารถทำให้เกิดภาวะสมองบวม

เลือดที่ออกมามาก สามารถที่จะรวมกันแล้วเกิดเป็นก้อนเลือดได้ แรงดันที่เพิ่มขึ้นนี้จะไปขัดขวางออกซิเจนไม่ให้ไปเลี้ยงเซลล์สมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้

ในบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมองสาเหตุ และจะทำอย่างไรถึงจะรู้ว่ามันเกิดขึ้น และควรปฎิบัติตัวอย่างไร

สาเหตุของภาวะเลือดออกในสมอง

  • มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง ปัจจัยเหล่านั้นคือ :
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ สมองกระทบกระเทือน
  • การพองตัวของหลอดเลือดสมองหรือผนังหลอดเลือดสมองอ่อนแอ
  • ความดันโลหิตสูงมากเกินไป
  • โรคหลอดเลือดผิดปกติ
  • เลือดออกผิดปกติ
  • โรคตับ
  • เนื้องอกในสมอง
  • การใช้ยาเสพติด
Brain Hemorrhage

อายุ

การเกิดภาวะเลือดออกในสมองนั้นสามารถเกิดในกลุ่มบุคคลที่มีอายุต่างกันออกไป แต่โดยส่วนมากนั้นมักจะเกิดในผู้สูงอายุ

ภาวะเลือดออกในสมองฉับพลันที่เกิดในเด็กส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด

ส่วนสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ คือ โรคเลือดต่าง ๆ หรือเนื้อในงอกสมอง ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือการดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาเสพติด

ภาวะเลือดออกในสมองในทารกสามารถเกิดขึ้นได้จาก การบาดเจ็บจากการคลอด หรือ การถูกกระแทกระหว่างที่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดา

อาการและการรักษาต่าง ๆ ในเด็กและผู้ใหญ่นั้นคล้ายคลึงกัน การรักษาในเด็กนั้นขึ้นอยู่กับบริเวณที่เลือดออกและความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย

ภาวะเลือดออกในสมองมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ แต่ในบางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นกับเด็กได้เช่นกัน

จากข้อมูลของ National Stroke Association โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นในทารกแรกเกิดประมาณ 1 ใน 4,000 คน พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

โดยทั่วไปผลลัพท์ของการรักษา เด็กที่มีภาวะเลือดออกในสมองนั้นจะตอบรับการรักษาได้ดีกว่าผู้ใหญ่เพราะสมองของเด็กนั้นยังพัฒนาอยู่

อาการเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองมีอาการที่แตกต่างกันไป หลายอาการ ผู้ป่วยอาจมีอาการ เสียวแปล๊บ ๆ ขึ้นมาทันที อ่อนแรง ชา หรืออาการอัมพาตของใบหน้า แขน ขา ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายเท่านั้น

อาการอื่น ๆ คือ:

  • ปวดศีรษะฉับพลัน รุนแรง

  • กลืนลำบาก

  • ปัญหาการมองเห็น

  • สูญเสียการทรงตัวหรือการสัมพันธ์กันของร่างกาย

  • สับสน และมีความยากลำบากในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ

  • มีความยากลำบากในการพูด พูดติดขัด

  • มึนงง เซื่องซึม หรือ หมดสติ

  • อาการชัก

หากเกิดอาการเหล่านี้ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด

ประเภทของภาวะเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองนั้นมีหลายประเภท แต่ละประเภทขึ้นอยู่กับบริเวณที่เลือดออก

  • ภาวะเลือดออกในสมอง: ภาวะเลือดออกชนิดนี้เกิดขึ้นภายในเนื้อสมอง

  • ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง: ภาวะเลือดออกประเภทนี้เกิดขึ้นระหว่างเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง

  • ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง: ภาวะเลือดออกชนิดนี้เกิดขึ้นระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นดูราและเนื้อสมอง

  • ภาวะเลือดออกบริเวณเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก: ภาวะเลือดออกชนิดนี้เกิดขึ้นระหว่างกะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก

ประเภทของภาวะเลือดออกในสมองทั้งหมดนี้สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่รุนแรงต่อสุขภาพได้

การวินิจฉัยภาวะเลือดออกในสมอง

การวินิจฉัยโรคเลือดออกในสมองนั้นสามารถทำได้ยากเพราะในผู้ป่วยบางรายนั้นไม่มีอาการแสดงออกมาแต่อย่างใด  และแพทย์ต้องทำการทดสอบเพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนที่เลือดออกในสมอง

ตัวเลือกของการตรวจสอบภาวะเลือดออกในสมองได้แก่:

  • ซีที หรือเอ็มอาร์ไอสแกน

  • การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ทำได้โดยแพทย์จะนำน้ำไขสันหลังออกผ่านเข็มท่อกลวงเพื่อนำไปทดสอบ

  • การฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง โดยที่แพทย์จะฉีดสารย้อมเข้าไป แล้วทำการเอ็กซเรย์สมอง สารที่ฉีดเข้าไปจะสามารถทำให้เห็นความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองหรือใกล้สมองได้

การรักษาภาวะเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด ศัลยแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อบรรเทาภาวะสมองบีบตัว

หากหลอดเลือดสมองโป่งพองเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง ศัลยแพทย์อาจต้องผ่าตัดเอาส่วนนึงของกะโหลกศีรษะออกแล้วหนีบหลอดเลือดนั้น ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะแล้วปิดกะโหลก

ตัวเลือกการรักษาอื่น ๆ ได้แก่ ยาลดความวิตกกังวล ยาป้องกันโรคลมชัก และยาอื่นๆ ที่ช่วยควบคุมอาการ เช่น อาการชัก และการปวดหัวอย่างรุนแรง

ผู้ป่วยสามารถหายจากภาวะเลือดออกในสมองได้  แต่พวกเขาต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที เวชศาสตร์ฟื้นฟูสามารถช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้หลังจากการมีภาวะเลือดออกในสมอง

การรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้แก่:

  • กายภาพบำบัด

  • การรักษาด้วยยา

  • กิจกรรมบำบัด

  • การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกในสมองอีกครั้งได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *