Chromium คือ
โครเมี่ยม คือ แร่ธาตุ ที่ถือเป็น “ธาตุที่จำเป็น” เนื่องจากโครเมียมปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ โครเมียมมี 2 รูปแบบ โครเมียมไตรวาเลนท์พบได้ในอาหาร และอาหารเสริม ซึ่งปลอดภัยสำหรับมนุษย์ อีกรูปแบบหนึ่งคือ โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ เป็นโครเมียมอันตรายที่ทราบกันดีว่าอาจ ทำให้เกิดปัญหาผิวหนัง และมะเร็งปอดได้
โครเมี่ยมใช้เพื่อป้องกันภาวะขาดโครเมียม นอกจากนี้ยังใช้ป้องกันโรคเบาหวาน ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ทำให้รังไข่โตขึ้นเพราะซีสต์ (กลุ่มอาการที่รังไข่มีถุงน้ำหลายใบ หรือ PCOS) และภาวะอื่น ๆ
การทำงานของ Chromium
โครเมียมจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติโดยการปรับปรุงการทำงานของอินซูลิน
Chromium ส่งผลต่อ
- ป้องกันภาวะขาดโครเมียม การรับประทานโครเมียมมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะการขาดโครเมียม
มีประสิทธิภาพต่อ
- โรคเบาหวาน การรับประทานโครเมียมพิโคลิเนตจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลิน และไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ ปริมาณโครเมียมที่สูงขึ้นจะทำงานได้ดีกว่า อาหารเสริมโครเมียมจึงทำงานได้ดีในกรณีของผู้ที่มีภาวะโครเมียมต่ำ โครเมียม พิโคลิเนตอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1 ผู้ที่เป็นเบาหวานจากการรักษาด้วยสเตียรอยด์ และผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ โครเมียมจะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้
โครเมียมอาจไม่ส่งผลต่อ
- เบาหวาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานโครเมียมไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรค Prediabetes
- โรคจิตเภท ผลการวิจัยพบว่าการรับประทานโครเมียม 400 ไมโครกรัมต่อวัน นาน 3 เดือนไม่ส่งผลต่อน้ำหนัก หรือสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคจิตเภท
ผลข้างเคียง
การรับประทานธาตุโครเมียมนั้นปลอดภัย แต่ต้องควบคุมปริมาณยาในระยะสั้น โครเมียม 1,000 ไมโครกรัมต่อวันบริโภคได้อย่างปลอดภัยนานถึง 6 เดือน แต่หากรับประทานนาน ๆ ควรลดปริมาณโครเมียมลงให้เหลือขนาดประมาณ 200-1000 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ก็ไม่ควรต่อเนื่องนานเกิน 2 ปี
บางคนอาจเกิดผลข้างเคียงอย่างรู้สึกระคายเคืองที่ผิวหนัง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวน ใช้ความคิดไม่ได้เต็มที่ ตัดสินยาก และผลข้างเคียงอาจเกิดร่วมกันจนรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดความผิดปกติของเลือด เกิดความเสียหายต่อตับ หรือไต รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ
ข้อควรระวัง
การตั้งครรภ์: โครเมียมสามารถรับประทานได้ในช่วงที่ตั้งครรภ์ หากรับประทานอย่างเหมาะสม กรณีผู้ที่มีอายุ 14-18 ปีคือ 29 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ที่อายุ 19-50 ปี คือ 30 ไมโครกรัมต่อวัน แม้ว่าการรับประทานโครเมียมจะปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่แนะนำให้บริโภคในระหว่างตั้งครรภ์ ยกเว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
กำลังให้นมบุตร: โครเมียมปลอดภัยที่จะใช้ในขณะที่กำลังให้นมบุตร หากรับประทานอย่างเหมาะสม กรณีผู้ที่อายุ 14-18 ปีคือ 44 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ที่อายุ 19-50 ปี จะได้รับ 45 ไมโครกรัมต่อวัน
เด็ก : โครเมียมนั้นค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยเด็กอายุ 0-6 เดือนควรรับประทานไม่เกิน 0.2 Mcg เด็กอายุ 7-12 เดือนควรรับประทานไม่เกิน 5.5 Mcg เด็กอายุ 1-3 ปีควรรับประทานไม่เกิน 11 ไมโครกรัม สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ควรรับประทานไม่เกิน 15 Mcg สำหรับเด็กชายอายุ 9-13 ปีควรรับประทานไม่เกิน 25 Mcg เด็กชายอายุ 14-18 ปีควรรับประทานไม่เกิน 35 Mcg เด็กหญิงอายุ 9-13 ปี ควรรับประทานไม่เกิน 21 Mcg เด็กหญิงอายุ 14-18 ปี ควรรับประทานไม่เกิน 24 Mcg
สภาวะพฤติกรรม หรือจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือโรคจิตเภท : โครเมียมส่งผลต่อเคมีในสมอง และอาจทำให้เกิดพฤติกรรม หรือภาวะทางจิตเวชแย่ลง หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโครเมียม และหมั่นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกอยู่เสมอ
อาการการแพ้สารโครเมต สารเสริมโครเมียมสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่แพ้สารชนิดนี้ทั้งจากการรับประทาน และสัมผัสผิวหนัง อาการต่าง ๆ ได้แก่ รอยแดง บวม และผิวลอก
โรคเบาหวาน โครเมียมอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป หากรับประทานร่วมกับยารักษาโรคเบาหวาน ดังนั้นหากเป็นเบาหวาน ควรใช้ผลิตภัณฑ์โครเมียมอย่างระมัดระวัง และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับขนาดยารักษาโรคเบาหวาน
โรคไต ไตมีโอกาสเสียหายหากรับประทานโครเมียม พิโคลิเนต ดังนั้นไม่ควรกินอาหารเสริมโครเมียม เมื่อป่วยเป็นโรคไตอยู่แล้ว
โรคตับ ผู้ป่วยที่รับประทานโครเมียม พิโคลิเนต อาจทำให้ตับเสียหายได้ ดังนั้นไม่ควรกินอาหารเสริมโครเมียม หากป่วยเป็นโรคตับ
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก