ประโยชน์ของโครเมียม (Chromium)

ประโยชน์ของโครเมียม (Chromium)

21.10
1899
0

Chromium คือ

โครเมี่ยม คือ แร่ธาตุ ที่ถือเป็น “ธาตุที่จำเป็น” เนื่องจากโครเมียมปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ โครเมียมมี 2 รูปแบบ โครเมียมไตรวาเลนท์พบได้ในอาหาร และอาหารเสริม ซึ่งปลอดภัยสำหรับมนุษย์ อีกรูปแบบหนึ่งคือ โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ เป็นโครเมียมอันตรายที่ทราบกันดีว่าอาจ     ทำให้เกิดปัญหาผิวหนัง และมะเร็งปอดได้

โครเมี่ยมใช้เพื่อป้องกันภาวะขาดโครเมียม นอกจากนี้ยังใช้ป้องกันโรคเบาหวาน ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ทำให้รังไข่โตขึ้นเพราะซีสต์ (กลุ่มอาการที่รังไข่มีถุงน้ำหลายใบ หรือ PCOS) และภาวะอื่น ๆ

การทำงานของ Chromium

โครเมียมจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติโดยการปรับปรุงการทำงานของอินซูลิน

Chromium ส่งผลต่อ

  • ป้องกันภาวะขาดโครเมียม การรับประทานโครเมียมมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะการขาดโครเมียม

มีประสิทธิภาพต่อ

  • โรคเบาหวาน การรับประทานโครเมียมพิโคลิเนตจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลิน และไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ ปริมาณโครเมียมที่สูงขึ้นจะทำงานได้ดีกว่า อาหารเสริมโครเมียมจึงทำงานได้ดีในกรณีของผู้ที่มีภาวะโครเมียมต่ำ โครเมียม พิโคลิเนตอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1 ผู้ที่เป็นเบาหวานจากการรักษาด้วยสเตียรอยด์ และผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ โครเมียมจะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้

โครเมียมอาจไม่ส่งผลต่อ

  • เบาหวาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานโครเมียมไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรค Prediabetes
  • โรคจิตเภท ผลการวิจัยพบว่าการรับประทานโครเมียม 400 ไมโครกรัมต่อวัน นาน 3 เดือนไม่ส่งผลต่อน้ำหนัก หรือสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคจิตเภท

ผลข้างเคียง

การรับประทานธาตุโครเมียมนั้นปลอดภัย แต่ต้องควบคุมปริมาณยาในระยะสั้น โครเมียม 1,000 ไมโครกรัมต่อวันบริโภคได้อย่างปลอดภัยนานถึง 6 เดือน แต่หากรับประทานนาน ๆ ควรลดปริมาณโครเมียมลงให้เหลือขนาดประมาณ 200-1000 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ก็ไม่ควรต่อเนื่องนานเกิน 2 ปี

บางคนอาจเกิดผลข้างเคียงอย่างรู้สึกระคายเคืองที่ผิวหนัง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวน ใช้ความคิดไม่ได้เต็มที่ ตัดสินยาก และผลข้างเคียงอาจเกิดร่วมกันจนรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดความผิดปกติของเลือด เกิดความเสียหายต่อตับ หรือไต รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ

Chromium

ข้อควรระวัง

การตั้งครรภ์: โครเมียมสามารถรับประทานได้ในช่วงที่ตั้งครรภ์ หากรับประทานอย่างเหมาะสม กรณีผู้ที่มีอายุ 14-18 ปีคือ 29 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ที่อายุ 19-50 ปี คือ 30 ไมโครกรัมต่อวัน แม้ว่าการรับประทานโครเมียมจะปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่แนะนำให้บริโภคในระหว่างตั้งครรภ์ ยกเว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

กำลังให้นมบุตร: โครเมียมปลอดภัยที่จะใช้ในขณะที่กำลังให้นมบุตร หากรับประทานอย่างเหมาะสม กรณีผู้ที่อายุ 14-18 ปีคือ 44 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ที่อายุ 19-50 ปี จะได้รับ 45 ไมโครกรัมต่อวัน

เด็ก : โครเมียมนั้นค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยเด็กอายุ 0-6 เดือนควรรับประทานไม่เกิน 0.2 Mcg เด็กอายุ 7-12 เดือนควรรับประทานไม่เกิน 5.5 Mcg เด็กอายุ 1-3 ปีควรรับประทานไม่เกิน 11 ไมโครกรัม สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ควรรับประทานไม่เกิน 15 Mcg สำหรับเด็กชายอายุ 9-13 ปีควรรับประทานไม่เกิน 25 Mcg เด็กชายอายุ 14-18 ปีควรรับประทานไม่เกิน 35 Mcg เด็กหญิงอายุ 9-13 ปี ควรรับประทานไม่เกิน 21 Mcg เด็กหญิงอายุ 14-18 ปี ควรรับประทานไม่เกิน 24 Mcg

สภาวะพฤติกรรม หรือจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือโรคจิตเภท : โครเมียมส่งผลต่อเคมีในสมอง และอาจทำให้เกิดพฤติกรรม หรือภาวะทางจิตเวชแย่ลง หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโครเมียม และหมั่นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกอยู่เสมอ

อาการการแพ้สารโครเมต สารเสริมโครเมียมสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่แพ้สารชนิดนี้ทั้งจากการรับประทาน และสัมผัสผิวหนัง อาการต่าง ๆ ได้แก่ รอยแดง บวม และผิวลอก

โรคเบาหวาน โครเมียมอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป หากรับประทานร่วมกับยารักษาโรคเบาหวาน ดังนั้นหากเป็นเบาหวาน ควรใช้ผลิตภัณฑ์โครเมียมอย่างระมัดระวัง และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับขนาดยารักษาโรคเบาหวาน

โรคไต ไตมีโอกาสเสียหายหากรับประทานโครเมียม พิโคลิเนต ดังนั้นไม่ควรกินอาหารเสริมโครเมียม เมื่อป่วยเป็นโรคไตอยู่แล้ว

โรคตับ ผู้ป่วยที่รับประทานโครเมียม พิโคลิเนต อาจทำให้ตับเสียหายได้ ดังนั้นไม่ควรกินอาหารเสริมโครเมียม หากป่วยเป็นโรคตับ

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *