ยาโคลนาซีแพม คือ
ยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) คือ ยากันชัก และรักษาอาการตื่นตระหนก และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกอาการนั่งไม่ติดที่ (Akathisia) จัดอยู่ในกลุ่มยาเบ็นโซไดอาเซพีน ใช้ยาด้วยการรับประทาน ออกฤทธิ์ภายใน 1 ชั่วโมง และอยู่ในร่างกายได้นาน 6–12 ชั่วโมง การรับประทานยาจะทำให้รู้สึกง่วงนอน ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน และกระวนกระวาย
การใช้ในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดอาการชินยา (Tolerance) และการติดยา ซึ่งหากหยุดยากะทันหันอาจเกิดอาการขาดยาได้ พบอาการติดยาเกิดขึ้นกับคน 1/3 ที่ใช้ยานานเกิน 4 อาทิตย์ ยาอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้ฆ่าตัวตายสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า กรณีใช้ในระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทารก
ปัจจุบัน Clonazepam คือยาสามัญของประเทศที่กำลังพัฒนา แต่บางประเทศจะถือเป็นยาเสพติดที่ต้องควบคุม
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
เมื่อรับประทานหรือฉีดยา Clonazepam ยาจะไปออกฤทธิ์ลดการส่งกระแสประสาทของมอเตอร์คอร์เทกซ์ (Motor cortex) ซึ่งจะหยุดการขัดขวาง (Spike) ของคลื่นสมองในโรคลมชักชนิดเหม่อ (Absence seizure) ทำให้ยานี้ช่วยรักษาโรคลมชักเฉพาะที่ (Focal epilepsy) และลมชักทั้งตัว (Generalized seizure) ได้
คาดว่ากลไกการออกฤทธิ์ของยา Clonazepam เกี่ยวกับความสามารถในการเพิ่มกระบวนการทำงานของกาบา (GABA) ทางการแพทย์จึงนำผลการออกฤทธิ์ของยามาใช้เป็นยาคลายกังวล (Anxiolytic) และรักษาอาการตื่นตระหนก (Panic attacks) โดยจะออกฤทธิ์ไปยังสมอง และช่วยให้ระบบประสาทสงบขึ้น รวมถึงช่วยให้นอนหลับได้ แต่การใช้ยาต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ
สรรพคุณยา Clonazepam หรือข้อบ่งใช้
- รักษาอาการชักเกร็ง
- ลดอาการตื่นตระหนก (Panic)
ขนาดยา และวิธีการใช้
สำหรับกันชัก
ผู้ใหญ่: ช่วงแรกรับประทานยา Clonazepam ครั้งละไม่เกิน 0.5 มก.วันละ 3 คร้ัง หากจำเป็นสามารถเพิ่มปริมาณยาเป็นครั้งละ 0.5-1 มก. ในทุก ๆ 3 วัน จนสามารถควบคุมอาการได้ แต่ระหว่างนั้นต้องพิจารณาด้วยว่ามีอาการข้างเคียงใด ๆ หรือไม่ ขนาดยาสูงสุดต้องไม่เกินวันละ 20 มก.หรือตามที่แพทยกำหนด
ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีโรคทางกายอื่น ๆ ในระดับรุนแรง ควรลดขนาดยาลง
ทารกและเด็กที่อายุไม่เกิน 10 ปี หรือมีน้ำหนักตัวไม่เกิน 30 กก. : ในระยะแรกให้รับประทานยาขนาด 0.01- 0.03 มก./น้ำหนักตัว 1 กก/วัน แต่ต้องไม่เกิน 0.05 มก. / น้ำ หนักตัว 1กก. / วัน แบ่งรับประทานเป็นมื้อ ๆ 2-3 คร้ังต่อวัน
หากจำเป็นสามารถเพิ่มขนาดยาโคลนาซีแพมได้ ครั้งละไม่เกิน 0.25 – 0.5 มก.ในทุก ๆ 3 วันจนสามารถควบคุมอาการได้แต่ต้องไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงอื่น ๆ และขนาดยาสูงสุดต้องไม่เกินวันละ 0.1-0.2 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. หรือตามที่แพทยกำหนด
สำหรับลดอาการตื่นตระหนก (Panic)
ผู้ใหญ่:ในระยะแรกรับประทานยา Clonazepam ครั้งละ 0.25 มก. วันละ 2 ครั้ง แต่หากจำเป็นสามารถเพิ่มปริมาณยาอีก 0.125-0.25 มก. วันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ 3 วัน จนสามารถควบคุมอาการตื่นตระหนกได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ทำใหเ้กิดผลข้างเคียง สามารถเพิ่มขนาดยาสูงสุดไม่เกินวันละ 4 มก. หรือตามที่แพทยกำหนด ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีโรคทางกายอื่น ๆ ในระดับรุนแรง ควรลดขนาดยาลง
เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ยานี้ลดอาการตื่นตระหนก เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานยืนยันประสิทธิผล และความปลอดภัยที่เพียงพอ
ผลข้างเคียงของยา Clonazepam
Clonazepam side effect คืออาการง่วงซึม มึนงง เวียนศีรษะ มีน้ำลายไหลออกมามาก ปวดบริเวณข้อ ปัสสาวะถี่ มีการเปลี่ยนแปลงทางสมรรถภาพทางเพศ การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เกิดปัญหาเรื่องความทรงจำ หรือมีปัญหาในการทรงตัว ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ แต่หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบทันที ได้แก่
- เกิดอาการแพ้ เช่น ลมพิษ ผื่นคัน บริเวณใบหน้าบวม ริมฝีปากบวม รวมทั้งลิ้นบวมหรือคอบวม
- เวียนศีรษะรุนแรง
- ใจเต้นแรง หรือใจสั่น
- เสียงแหบ หายใจตื้น หายใจไม่ค่อยออก หรือกลืนอาหารลำบาก
- กระสับกระส่าย หวาดวิตก ตื่นตระหนก สับสน
- หงุดหงิด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
- อาจเกิดความคิดฆ่าตัวตาย หรือมีพฤติกรรมอยากทำร้ายตนเอง
- การมองเห็นภาพเปลี่ยนแปลงไป
- ดวงตาเคลื่อนไหวผิดปกติ
- กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อกระตุก หรือเป็นตะคริว
- มีอาการสั่นตลอดเวลา ทำให้นั่งหรืออยู่เฉย ๆ ไม่ได้
- มีอาการชักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรือมีอาการแย่ลง
- อาการประสาทหลอน เช่น เห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
- พฤติกรรมหรืออารมณ์แปรปรวน เช่น ตื่นเต้น และก้าวร้าว
นอกจากอาการข้างเคียงตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ อีก ดังนั้นหากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใด ๆ ให้รีบแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-14403-6006/clonazepam-oral/clonazepam-oral/details
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682279.html
- https://www.rxlist.com/klonopin-drug.htm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก