อาการไอ (Cough) คืออาการที่เกิดขึ้นทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจเพื่อเอาบางอย่างที่ทำให้ระคายในคอออกมาเช่นสิ่งแปลกปลอม จุลินทรีย์ ของเหลวและน้ำมูกหรือเสมหะเพื่อเป็นการขับไล่สิ่งแปลกปลอมออกทำให้อากาศสามารถเข้าสู่ปอดได้
การไอสามารถเกิดขึ้นเองหรือเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมในลำคอ แม้ว่าการไอเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงแต่ส่วนใหญ่เเล้วมักเป็นการทำความสะอาดลำคอด้วยตัวเองโดยไม่ต้องไปหาหมอ
ในบทความนี้เราได้ให้ข้อมูลครอบคลุมสาเหตุที่ทำให้เกอดอาการไอที่เป็นไปได้ การวินิจฉัยและการรักษาอาการไอ
สาเหตุการไอ
สาเหตุการไอเกิดจากไวรัสโดยส่วนใหญ่ และจะหายไปเองได้โดยไม่ต้องรักษา
สาเหตุของการไอแบบเฉียบพลัน (ระยะสั้น)
ในกรณีส่วนใหญ่มักเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนต้นที่เกิดขึ้นในลำคอหรือเรียกว่า URTI หรือ URI ตัวอย่างเช่น
- โรคไข้หวัดใหญ่
- โรคไข้หวัดธรรมดาทั่วไป
- โรคกล่องเสียงอักเสบ
ถ้าหากเป็น LRTI หมายถึงโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่างเป็นการติดเชื้อที่ปอดและหรือลมจากหลอดลมด้านล่าง ตัวอย่างเช่น
- โรคหลอดลมอักเสบ
- โรคปอดบวม
อาการไอแบบเฉียบพลันยังมีสาเหตุมาจากโรคไข้ละอองฟางได้ด้วย
สาเหตุของการไอแบบเรื้อรัง (ระยะยาว)
อาการไอแบบเรื้องรังอาจเกิดจาก
- การสูบบุหรี่
- เกิดจากการที่เสมหะไหลลงคอซึ่งอาจไหลออกมาทางจมูกส่วนหลัง
- โรคกรดไหลย้อน (GERD)
- โรคหอบหืด
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors
โรคไอเรื้อรังในเด็กมักเกิดจากโรคหอบหืด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากอาการอย่างเช่นเสมหะไหลลงคอหรืออาการกรดไหลย้อน (GERD)
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังส่วนน้อยในผู้ใหญ่เช่น โรควัณโรค โรคที่เกิดจากการติดเชื้อราในปอดและโรคมะเร็งปอด
อาการไอคืออะไร
อาการไอมี 3 ระยะด้วยกัน
- ไอเมื่อหายใจเข้า
- การเพิ่มของแรงดันในลำคอและปอดด้วยที่ใกล้กับกล่องเสียง
- การติดเชื้อเมื่อกล่องเสียงเปิดทำให้เกิดลักษณะของเสียงไอต่างๆ
หากผู้ใดมีอาการไอมากๆการไอ ไม่ว่าจะเป็นอาการไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคได้ การไอส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคที่ติดเชื้อแต่การไอบางประเภทก็ไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อได้เช่นกัน เราจะมาดูสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในหัวข้อถัดไป
ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่
ถ้าหากเกิดอาการไอรุนเเรงควรเข้าพบเเพทย์เพื่อทำการรักษา
ถ้าเกิดอาการไออย่างรุนเเรงเป็นเวลา 3 อาทิตย์เเล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ในกรณีส่วนใหญ่อาการไอไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคที่ร้ายเเรงใดๆ แต่ในบางกรณีซึ่งมีส่วนน้อยมาก การไอเเบบเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายเเรงที่จำเป็นต้องรักษาเช่นโรคมะเร็งปอดหรือโรคหัวใจวาย
อาการอื่นๆที่พบเเล้วควรไปหาหมอได้แก่
- อาการไอเลวร้ายลง
- เกิดอาการบวมหรือก้อนที่บริเวณลำคอ
- น้ำหนักตัวลดลง
- อาการไออย่างรุนเเรง
- การกลืนลำบาก
- เกิดอาการเสียงเปลี่ยนอย่างถาวร
- อาการไอเป็นเลือด
- การหายใจลำบาก
- อาการเจ็บที่หน้าอก
- เป็นไข้เเล้วไม่หาย
การวินิจฉัยโรค
หากแพทย์วินิจฉัยว่าอาการไอเกิดจากไข้หวัดหรือไข้หวัธรรมดา โดยปกติแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อน ดื่มน้ำให้เยอะๆและปล่อยให้ไข้หวัดหายไปเอง โดยส่วนใหญ่อากาารไอจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป 1-2 อาทิตย์
อาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีอาการรุนเเรงเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยจำเป็นต้องไปหาหมอให้เร็วที่สุด
แพทย์อาจจะทำการทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคเช่น เอ็กซเรย์ปอด การนำตัวอย่างเสมหะส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์และระบุสาเหตุของการติดเชื้อ
ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจด้วยการหายใจเข้าและหายใจออกที่หลอดที่ตอดกับเครื่องตรวจ การตรวจแบบนี้ช่วยให้แพทย์ระบุปริมาณหรือความสามารถในการหายใจว่ามีสิ่งกีดขวางในหลอดลมหรือไม่ วิธีการนี้เรียกว่า การวัดปริมาตรอากาศหายใจ ซึ่งมักใช้ในการตรวจโรคหอบหืดหรืออาการผิดปกติเรื้อรังของปอด
หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืดผู้ป่วยจะได้รับยารักษาหอบหืด
บางครั้งแพทย์อาจเเนะนำให้คนไข้ไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอด หู จมูกหรือคอ
การรักษาอาการไอ
วิธีการรักษาอาการไอที่เกิดจากไวรัสที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับไวรัสเช่นการไอเพื่อทำให้คอโล่งด้วยตัวเอง
หากเเพทย์ให้รักษาอาการไอพวกเขาจะเน้นที่สาเหตุของการเกิดอาการไอเช่นการไอที่เกิดจากการใช้ยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitor ผู้ป่วยอาจจะหยุดใช้ยานี้
ผู้ป่วยที่มีอาการไอมักจะได้รับยาระงับหรือยาบรรเทาอาการไอเช่น ยาโคเดอีน ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน
อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอที่ศึกษาเกี่ยวกับยาที่ใช้ระงับอาการไอและผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้ยาเหล่านี้ว่าสามารถลดอาการไอได้มากเท่าไหร่
การรักษาที่บ้าน
ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพในประเทศอังกฤษ (NHS) ระบุว่าการรักษาที่บ้านด้วยการดื่มน้ำผึ้งมะนาวเป็นวิธีที่ได้ผลดีเช่นกัน หากอาการยังไม่ดีขึ้นสามารถหาซื้อยาจากเภสัชกินเองได้
โดนส่วนใหญ่การรักษามีเป้าหมายเพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นแต่ไม่ได้ลดระยะยาวของการไอ
การทานน้ำผึ้งใช้เพื่อรักษาอาการไอที่เกิดจากอาการระคายเคืองเล็กน้อยที่ทำให้เกิดอาการไอไม่มาก น้ำผึ้งสามารถบรรเทาอาการไอให้ลดลงได้
ยาที่รักษาอาการไอบางชนิดอาจสามารถช่วยบรรเทาอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันเช่นอาการไข้หรืออาการคัดจมูก อย่างไรก็ตามยังไม่มีการพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือว่ายาที่ใช้บรรเทาอาการไอสามารถทำให้อาการไอหายได้เร็วขึ้น
สำหรับเด็กเล็กเมื่อเกิดอาการไอควรพาไปพบแพทย์ก่อนให้กินยาบรรเทาอาการไอเช่น การใช้ยาโคเดอีนอาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่ายาบรรเทาอาการไอนี้สามารถช่วยลดอาการไอในเด็กเล็กได้และยานี้อากก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
ยารระงับอาการไอคือยาที่ใช้เพื่อระงับอาการไอและจะใช้ยานี้เมื่อเกิดอาการไอเเห้งเท่านั้น ตัวอย่างยากลุ่มนี้ได้แก่ ยาโฟลคอดีน ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและยาต้านฮิสทามีน
การใช้ยาขับเสมหะ วิธีการนี้เป็นการขับเสมหะให้ออกมาจากหลอดลมเเละปอด ยาที่ใช้ขับเสมหะเช่นยาไกวเฟซินินเป็นยาที่ทำให้เสมหะหลุดออกมาเเละเพิ่มความชุ่มชื่นในหลอดลม กำจัดสิ่งแปลกปลอมในหลอดลมเพื่อช่วยให้อากาศเข้าสู่ปอดได้สะดวก สามารถสั่งซื้อยาขับเสมหะได้ที่ร้านขายยาทั่วไป
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/cough
- https://www.nhs.uk/conditions/cough/
- https://www.mayoclinic.org/symptoms/cough/basics/definition/sym-20050846
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก