

ภาพรวมของโรค Croup
Croup คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งขัดขวางการหายใจ และทำให้เมื่อไอจะมีเสียงเหมือนเห่า
อาการไอ และอาการอื่นๆ ของโรคครู๊ปจะเกิดจากอาการบวมบริเวณกล่องเสียง (Larynx) หลอดลม (Trachea) และแขนงของหลอดลม (Bronchi) เวลาไอจะมีอากาศไหลผ่านหลอดลมแคบๆ นี้ เมื่อสายเสียงบวมก็จะทำให้เกิดการไอเสียงก้อง เสียงคล้ายกับการเห่าของแมวน้ำ และในทางกลับกัน เวลาหายใจเข้ามักทำให้เกิดเสียงคล้ายการผิวปากเสียงสูง (Stridor)
อาการนี้มักเกิดในเด็กเล็ก เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ร้ายแรง และเด็กส่วนมากที่เป็นโรค croup การรักษาให้หายเองได้ที่บ้าน
อาการ
อาการของโรคครู๊ปมักเริ่มคล้ายหวัดทั่วไป หากมีอาการอักเสบและไอมาก ๆ อาการอาจพัฒนาเป็น:
- เสียงเห่าดังเพิ่มขึ้น รุนแรงขึ้น จนมีน้ำตาไหลเวลาไอ ความหวาดวิตกกังวล และความกระวนกระวายใจ เกิดความรู้สึกไม่ดีสัมพันธ์กับอาการที่แย่ลง
- ไข้
- เสียงแหบ
- เวลาหายใจมีเสียงดัง หรือเป็นเสียงหายใจหนัก ๆ
อาการของโรคครู๊ปมักแย่ลงเวลากลางคืน และมักเกิดอาการต่อเนื่องนาน 3 – 5 วัน
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์
หากเด็กมีอาการรุนแรงขึ้น หรือเกิดอาการต่อเนื่องนานกว่า 3 – 5 วัน หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่บ้าน ควรพาเด็กไปพบแพทย์
ไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการ:
- เวลาหายใจมีเสียงดัง ทั้งเมื่อหายใจเข้าและหายใจออก
- เสียงหายใจสูงขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้ร้องไห้ หรือตื่นเต้น
- มีน้ำลายไหลหรือกลืนลำบาก
- รู้สึกหวาดวิตก กระวนกระวาย หรือเหนื่อยล้า และกระสับกระส่าย
- หายใจเร็วกว่าปกติ
- หายใจลำบาก
- ผิวเริ่มมีสีฟ้า หรือสีเทารอบ ๆ จมูก ปาก หรือเล็บ (ตัวเขียว)
สาเหตุ
โรคครู๊ปเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนมากเกิดจากไวรัสพาราอินฟลูเอนซา
เด็ก ๆ อาจติดเชื้อไวรัสโดยการหายใจเอาละอองของเชื้อเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมาจากการไอหรือจามของผู้ติดเชื้อ อนุภาคไวรัสในอากาศเหล่านี้อาจอยู่รอดบนของเล่น และพื้นผิวอื่น ๆ เมื่อเด็ก ๆ ไปสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อนแล้วไปสัมผัสกับดวงตา จมูก หรือปาก ก็จะติดเชื้อได้
ปัจจัยเสี่ยง
ส่วนมากความเสี่ยงต่อการเกิดโรคครุ๊ป จะพบมากในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี เนื่องจากเด็กอายุขนาดนี้จะมีทางเดินหายใจที่เล็ก พวกเขาจึงยังอ่อนแออยู่มาก และมีโอกาสเกิดอาการของปัจจัยเสี่ยงได้มาก
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของ Croup Syndrome คืออาการที่ไม่รุนแรง แต่เด็กบางคนอาจเกิดอาการทางเดินหายใจบวมมาก จนเกิดปัญหาเวลาหายใจ และอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมในหลอดลมซึ่งพบได้ยาก ทำให้หายใจลำบาก และต้องได้รับการรักษาพยาบาลทันที
เด็กจำนวนเล็กน้อยอาจเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉิน เพื่อรักษโรคครู๊ปที่โรงพยาบาล
การป้องกัน
เพื่อป้องกันโรคครุ๊ป ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกับการป้องกันโรคหวัด และไข้หวัดใหญ่ ดังนี้
- ล้างมือบ่อย ๆ มีความสำคัญ
- ให้เด็กอยู่ห่างจากผู้ป่วย
- พยายามให้เด็กไอ หรือจามใส่ข้อศอก
เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ร้ายแรง ให้ฉีดวัคซีนให้เด็ก วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ แลโรค Haemophilus influenza type b (Hib) สามารถป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนที่พบได้ยาก แต่เป็นอันตรายที่สุด ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัส Parainfluenza โดยตรง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/conditions/croup/
- https://kidshealth.org/en/parents/croup.html
- https://www.webmd.com/children/understanding-croup-basic-information
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก