โรคไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

10.05
4106
0

ไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) เป็นไวรัสเริมที่พบได้บ่อย ผู้ติดเชื้อหลายคนมักไม่มีอาการของโรค แต่ไวรัสที่อยู่ในร่างกายอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้

ไวรัสแพร่กระจายภายในของเหลวของร่างกาย และในกรณีตั้งครรภ์เชื้อสามารถถูกส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้

บางครั้งอาจพบ HCMV, CMV หรือ human herpesvirus 5 (HHV-5) แต่ไซโตเมกะโลไวรัสเป็นไวรัสที่ติดต่อได้บ่อยที่สุดในกรณีที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา

สาเหตุของโรคไซโตเมกะโลไวรัส

โรคไซโตเมกะโลไวรัสเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างมนุษย์ผ่านของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำอสุจิ เลือด ปัสสาวะ ของเหลวในช่องคลอด และน้ำนมแม่ นอกจากนี้การรับเชื้อยังอาจมาจากการสัมผัสกับพื้นผิวที่มีไวรัสอยู่ อย่างด้านในของจมูก หรือปาก

ผู้ติดเชื้อไวรัสในช่วงวัยเด็กบางคนอาจเกิดการติดเชื้อขณะอยู่ในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และสถานที่อื่น ๆ ที่เด็ก ๆ สัมผัสใกล้ชิดกัน อย่างไรก็ดีตามปกติวัยนี้จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถจัดการกับการเชื้อไวรัสได้ดี

โรคไซโตเมกะโลไวรัสที่เกิดซ้ำอาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากเอชไอวี การปลูกถ่ายอวัยวะ การทำเคมีบำบัด หรือการรับประทานสเตียรอยด์นานกว่า 3 เดือน

โรคไซโตเมกะโลไวรัสแต่กำเนิดมักเกิดจากแม้ติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ หรือช่วงเวลาไม่นานก่อนตั้งครรภ์ แต่บางครั้ง โรคไซโตเมกะโลไวรัสที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์เกิดนากแม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง

อาการของโรคไซโตเมกะโลไวรัส

อาการจะขึ้นอยู่กับชนิดของไซโตเมกะโลไวรัส และรูปแบบของการรับเชื้อ

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส จะไม่มีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน แต่หากมีอาการ มักมีอาการดังนี้:

  • ไข้
  • เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • ความเหนื่อยล้า และไม่สบายใจ
  • เจ็บคอ
  • ต่อมบวม
  • ปวดข้อและกล้ามเนื้อ
  • ความอยากอาหารลดลง และน้ำหนักลด

โดยทั่วไปอาการจะหายไปภายใน 2 สัปดาห์

ไซโตเมกะโลไวรัสที่เกิดซ้ำใหม่

อาการของไซโตเมกะโลไวรัสที่เกิดซ้ำอาจไม่เหมือนเดิม เนื่องจากอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสแตกต่างกัน  บริเวณที่มีโอกาสติดเชื้อ ได้แก่ ดวงตา ปอด หรือระบบย่อยอาหาร

อาการอาจรวมถึง:

  • ไข้
  • ท้องร่วง แผลในทางเดินอาหาร และเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • หายใจถี่
  • โรคปอดบวมที่มีลักษณะขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนในเลือดต่ำ
  • แผลในปากขนาดใหญ่
  • ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เห็นภาพลอย มีจุดบอด และการมองเห็นภาพไม่ชัด
  • ตับอักเสบ หรือตับติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการไข้เป็นเวลานาน
  • โรคไข้สมองอักเสบ หรือสมองอักเสบ ทำให้เกิดอาการชัก และโคม่า(Coma)ได้

ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและมีอาการที่กล่าวมานี้ควรรีบไปพบแพทย์

Cytomegalovirus

ไซโตเมกะโลไวรัสที่เป็นมาแต่กำเนิด

จากข้อมูลของ National CMV Foundation พบว่าทารกประมาณ 90% เกิดมาพร้อมกับไซโตเมกะโลไวรัสโดยไม่มีอาการป่วยใด ๆ แต่ 10-15% ของเด็กที่ติดเชื้อจะสูญเสียการได้ยินไปประมาณ 6 เดือนแรกของชีวิต ความของการได้ยินอาจมีเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงจนสูญเสียการได้ยินทั้งหมด

ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กที่ติดเชื้อไวรัสจะมีผลต่อหูเพียงข้างเดียว แต่เด็กคนอื่น ๆ มักสูญเสียการได้ยินในหูทั้งสองข้าง การสูญเสียการได้ยินของหูทั้งสองข้างอาจทำให้เด็กมีปัญหาการพูดและการสื่อสารในภายหลังได้

การมีอาการของไซโตเมกะโลไวรัสตั้งแต่กำเนิด มักรวมถึง:

  • ดีซ่าน
  • โรคปอดอักเสบ
  • รอยจุดใต้ผิวหนัง
  • ผิวหนังเป็นสีคล้ำ มีผื่น หรือเป็นทั้ง 2 อย่าง
  • ตับโต
  • ม้ามโต
  • น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่ามาตรฐาน
  • อาการชัก

อาการบางอย่างนั้นสามารถรักษาได้

ไซโตเมกะโลไวรัสจะส่งผลกระทบต่อสมองประมาณ 75% ของทารกที่ติดเชื้อมาตั้งแต่เกิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบอื่น ๆ ในชีวิตได้

การรักษาโรคไซโตเมกะโลไวรัส

นักวิทยาศาสตร์คิดค้นวัคซีนไซโตเมกะโลไวรัส และยังไม่มีวิธีรักษาอาการโรคไซโตเมกะโลไวรัสโดยเฉพาะ

ผู้ที่ติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสเป็นครั้งแรก สามารถใช้ยาบรรเทาอาการปวดได้เองโดยไม่ต้องรอแพทย์สั่ง (OTC)  เช่น ไทลีนอล (อะซิตามิโนเฟน) ไอบูโพรเฟน หรือแอสไพริน เพื่อบรรเทาอาการปวด และควรดื่มน้ำมาก ๆ

ผู้ที่ติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดการติดเชื้อซ้ำสามารถใช้ยาต้านไวรัส เช่น แกนซิโคลเวียร์เพื่อชะลอการแพร่กระจายของไวรัสได้

ยาเหล่านี้มักมีผลข้างเคียง หากเกิดความเสียหายกับอวัยวะต่าง ๆ มาก อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ทารกแรกเกิดอาจต้องอยู่ในโรงพยาบาลจนกว่าการทำงานของอวัยวะจะกลับมาเป็นปกติ

การป้องกันโรคไซโตเมกะโลไวรัส

การปฏิบัติอย่างระมัดระวังจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส ได้ดังต่อไปนี้:

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการจูบเด็กเล็ก รวมทั้งการสัมผัสน้ำตา และน้ำลายโดยตรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้แก้ว และเครื่องใช้ในครัว ร่วมกัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มแก้วเดียวกัน
  • ทิ้งผ้าอ้อม ผ้าเช็ดหน้า กระดาษ และสิ่งของที่ใช้งานลักษณะคล้ายกันอย่างระมัดระวัง
  • ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ ไซโตเมกะโลไวรัสผ่านทางช่องคลอด และน้ำอสุจิ

ผู้ปกครองเด็กที่เป็นโรคไซโตเมกะโลไวรัสควรรีบพาเด็กเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา หรือนัดหมอเพื่อทำการรักษา เช่น การตรวจสอบประสิทธิภาพการได้ยิน

การวินิจฉัยโรคไซโตเมกะโลไวรัส

การตรวจเลือดสามารถตรวจหาแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อการติดเชื้อของไซโตเมกะโลไวรัส

คนท้องมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดการติดเชื้อโรคไซโตเมกะโลไวรัสซ้ำ แต่หากเกิดการติดเชื้อจะผลต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ได้ หากแพทย์สงสัยว่าคุณแม่ติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสอาจพิจารณาเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจสอบ

หากแพทย์สงสัยว่าเด็กเป็นโรคไซโตเมกะโลไวรัส แพทย์จะทดสอบทารกภายใน 3 สัปดาห์แรกของชีวิต การทดสอบนานกว่านั้นจะไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคไซโตเมกะโลไวรัสแต่กำเนิดหรือไม่ เนื่องจากทารกอาจติดเชื้อไวรัสหลังคลอด

ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอควรได้รับการทดสอบ แม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ ก็ตาม การตรวจติดตามภาวะแทรกซ้อนของโรคไซโตเมกะโลไวรัสเป็นประจำจะรวมถึงการทดสอบปัญหาการมองเห็น และการได้ยิน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไซโตเมกะโลไวรัส

ผู้ที่มีสุขภาพดีมักไม่ค่อยมีอาการของโรคไซโตเมกะโลไวรัสมากนัก

แต่ในกรณีของผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส โมโนนิวคลิโอซิส ได้เป็นภาวะที่มีเม็ดเลือดขาวมากเกินไป

อาการอื่น ๆ เช่น เจ็บคอ ต่อมบวม ต่อมทอนซิลบวม เหนื่อยง่าย และคลื่นไส้ อาจทำให้เกิดการอักเสบของตับหรือตับติดเชื้อ และม้ามโต

เชื้อไซโตเมกะโลไวรัส โมโนนิวคลิโอซิส คล้ายกับ เชื้อโมโนนิวคลิโอซิสแบบทั่วไป เกิดจาก Epstein-Barr Virus (EBV) EBV โมโนนิวคลิโอซิสเรียกอีกชื่อว่าไข้และต่อมน้ำเหลืองโต

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคไซโตเมกะโลไวรัส ได้แก่

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง เป็นไข้ ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ และเลือดออกในอุจจาระ
  • ปัญหาการทำงานของตับ
  • ภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) เช่นโรคไข้สมองอักเสบ หรือสมองอักเสบ
  • ปอดอักเสบหรือเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *