เมื่อรถของคุณเสีย หรืองานใกล้ถึงเดดไลน์ คุณตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร ความเครียดระยะยาว ความเครียดเล็กน้อย หรือความเครียดฉับพลัน ล้วนแต่ส่งผลต่อร่างกาย และจิตใจทั้งนั้น เราจึงไม่ควรที่จะละเลยความเครียด เรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในร่างกาย และจัดการกับผลกระทบลบ ๆ จากความเครียดในชีวิตประจำวันได้
ผลกระทบจากความเครียดที่มากเกินไป
หากเราเครียดอย่างต่อเนื่อง ร่างกายก็จะเริ่มทำงานได้ไม่ดี มีการศึกษามากมายแสดงให้เห็นว่า ความเครียดเรื้อรังทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ซึมเศร้า น้ำหนักขึ้น สูญเสียความทรงจำ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การทราบถึงสัญญาณเตือนต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ควรพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้:
- มีปัญหาการนอนหลับเป็นเวลานาน
- ปวดศีรษะเป็นประจำ ปวดหัวรุนแรง
- น้ำหนักขึ้น หรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกโดดเดี่ยว ออกห่างจากผู้อื่น หรือรู้สึกไร้ค่า
- โกรธ และหงุดหงิดอย่างต่อเนื่อง
- เบื่อที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ
- กังวล หรือหมกมุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
- ใช้แอลกอฮอล์ หรือยามากเกินไป
- ไม่สามารถมีสมาธิทำสิ่งต่าง ๆ ได้
วิธีการจัดการกับความเครียดเรื้อรัง
การรับรู้เมื่อเกิดเหตุการณ์เครียด ๆ เกิดขึ้นจะช่วยให้คุณสามารถจัดการได้ว่าคุณจะตอบสนองต่อความเครียดนั้นอย่างไร
ใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อป้องกัน หรือจัดการกับความเครียดเรื้อรัง
- สร้างความสมดุลระหว่างที่บ้าน และที่ทำงาน
คุณทำแต่งานหรือเปล่า หากคุณใช้เวลาส่วนมากอยู่ที่ทำงาน ให้หาเวลาที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นกับผู้อื่น หรือคนเดียว
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ระบบประสาทสมดุล และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทั้งยังช่วยขจัดฮอร์โมนความเครียด ถึงแม้จะมีเวลาเดินแค่ 20 นาทีก็ทำให้เกิดความแตกต่างได้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ
แอลกอฮอล์ นิโคติน และคาเฟอีนอาจจะช่วยบรรเทาความเครียดได้ชั่วคราว แต่มีผลเสียต่อสุขภาพ และสามารถทำให้ความเครียดแย่ลงได้ในระยะยาว การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นการจัดการกับความเครียดที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นเริ่มจากการทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ รับประทานผัก ผลไม้ ที่ปราศจากสารพิษ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป และน้ำตาล และดื่มน้ำให้มาก
- ใช้เวลากับคนที่ให้กำลังใจ และสนับสนุนเรา
การพูดคุยต่อหน้ากับใครสักคนจะช่วยปล่อยฮอร์โมนที่ช่วยลดความเครียด ลองพูดคุยกับคนที่สามารถรับฟังคุณได้ และเป็นผู้ฟังที่ดี
- หาเวลาทำงานอดิเรก
คุณชอบการทำสวน อ่านหนังสือฟังเพลง หรือกิจกรรมอื่นๆ หรือไม่ ลองทำกิจกรรมที่ทำให้คุณมีความสุข และสนุก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำกิจกรรมเหล่านั้นจะช่วยลดระดับของความเครียด และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจอีกด้วย
- ฝึกทำสมาธิ ลดความเครียด หรือเล่นโยคะ
การฝึกเทคนิคผ่อนคลายจะช่วยทำให้ฮอร์โมนสู้ หรือหนีสมดุล นอกจากนี้ ลองฝึกการเจริญสติที่ช่วยลดความเครียดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งคือ
- นอนหลับให้เพียงพอ
หากคุณนอนหลับน้อยกว่า 7 ถึง 8 ชั่วโมงต่อคืน ร่างกายของคุณจะไม่สามารถทนกับความเครียดได้ดีเท่าที่สามารถทำได้ หากความเครียดทำให้คุณตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน ให้หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด และลองนั่งสมาธิระหว่างวัน
- ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงของคุณ
ในการศึกษาทางคลินิกพบว่าการใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงสามารถช่วยลดความวิตกกังวลลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง
- ไปเที่ยว
การพักจากสิ่งที่ทำให้เครียดสามารถที่จะช่วยให้การอดทนต่อความเครียดดีขึ้นได้โดยการที่สุขภาพจิต และอารมณ์ดีขึ้น ซึ่งทำให้คุณมีความสุขขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อกลับมาทำงาน ไม่ควรใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ในระหว่างที่ไปพักผ่อน
- ปรึกษานักจิตวิทยา
หากคุณรู้สึกว่าความคิดด้านลบ ๆ ของคุณมีมากเกินไป และคุณไม่สามารถที่จะทำให้ดีขึ้นได้ ควรจะมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้นได้
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก